ล้วงลึก!!..วัฒนธรรมฟิลิปปินส์ โกอินเตอร์ขายแรงงาน โกยเงินเข้าประเทศ
ภาษาอังกฤษ เป็นสื่อกลาง ในการสร้าง ระบบเศรษฐกิจในประเทศฟิลิปปินส์ ก่อให้เกิดการลงทุนมากมาย และพัฒนาประเทศ เรียกได้ว่า หลายๆ มันสมองที่ออกไปทำงานยังต่างประเทศ ได้สร้างรายได้จากเม็ดเงินที่โอนเข้าฟิลิปปินส์สูงเป็นอันดับหนึ่งของรายได้จากการขายสินค้าบริการ http://winne.ws/n1283
ภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสาร เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ได้สร้างข้อได้เปรียบในหลายด้าน และจากกรณีประชากรในประเทศฟิลิปปินส์หนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารได้เป็นอย่างดี เนื่องจากประเทศเคยตกเป็นเมืองขึ้นของตะวันตก จึงเป็นโอกาสในการประกอบอาชีพ ทำงานยังต่างประเทศ ซึ่งแต่ละปีเม็ดเงินไม่น้อย ได้ส่งกลับมาให้คนในครอบครัวและเครือญาติ เพื่อใช้จ่าย จนเป็นเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจในประเทศฟิลิปปินส์อย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดการลงทุนมากมาย และพัฒนาประเทศ เรียกได้ว่า หลายๆ มันสมองที่ออกไปทำงานยังต่างประเทศ ได้สร้างรายได้จากเม็ดเงินที่โอนเข้าฟิลิปปินส์สูงเป็นอันดับหนึ่งของรายได้จากการขายสินค้าบริการ
ส่วนปัจจัยที่ทำให้คนฟิลิปปินส์ต้องออกมาขายแรงงานในต่างประเทศ มาจากภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจของประเทศที่มีมายาวนาน ก่อให้เกิดการว่างงานในอัตราสูง หากเทียบกับประชากรที่มีมากแตะกว่า 100 ล้านคน แน่นอนต้องมีการแข่งขันสูง กว่าจะได้งานทำ ประกอบกับค่าครองชีพในประเทศฟิลิปปินส์ค่อนข้างสูง ทำให้รายจ่ายมากกว่ารายรับ นอกจากนี้ ปัญหาความยากจนในสมัยประธานาธิบดี คอราซอน อาคิโน ในช่วงปี 2540 ยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง เป็นเหตุผลให้คนฟิลิปปินส์ตัดสินใจมาทำงานในต่างประเทศ จนกลายเป็นวัฒนธรรม ทั้งจากการชักชวนของคนรู้จักและเพื่อนฝูงที่ออกไปทำงานต่างประเทศอยู่ก่อนแล้ว จนเห็นลู่ทางแนะนำเพื่อนฝูง คนรู้จัก
ขณะที่ ผศ.ดร.กมลพร สอนศรี หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนักวิจัยโครงการ ASEAN WATCH ของ สกว. ซึ่งมองว่าการออกไปทำงานต่างประเทศของคนฟิลิปปินส์ เป็นวัฒนธรรม ก็เนื่องจากประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์ มีการส่งแรงงานทำงานต่างประเทศทางทะเล ตั้งแต่ตกเป็นอาณานิคมของสเปน ก่อนที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาครอบครอง จากนั้นได้มีการส่งแรงงานต่างประเทศทางบกอย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา
กระทั่งสมัยประธานาธิบดี เฟอร์ดินัน มาร์กอส ได้เกิดวิกฤติน้ำมัน ยิ่งทำให้แรงงานฟิลิปปินส์ออกไปทำงานนอกประเทศมากขึ้น อีกทั้งทางรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้มีนโยบายส่งเสริมแรงงานออกไปทำงานต่างประเทศ มีการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ในการออกกฎระเบียบรับรองคนไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งการตั้งกองทุน คณะทำงานต่างๆ หรือเปิดบริการช่วยเหลือ เพื่อเอื้อต่อการทำงานในต่างประเทศ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากหลายนโยบายจากผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ยกตัวอย่างสมัยประธานาธิบดี คอราซอน อาคิโน มีการตั้งสำนักงานบริหารแรงงานฟิลิปปินส์ไปต่างประเทศ ในระดับภูมิภาค มีคณะทำงานด้านการตลาดเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างงานชาวฟิลิปปินส์มากขึ้น เช่นเดียวกับสมัยประธานาธิบดี เบนิกโญ่ อากิโน่ เปิดให้บริการทำงานต่างประเทศแบบชั่วคราว มีการส่งเสริมความสามารถของแรงงาน รวมถึงให้บริการทางจิตวิทยา ประสานกับกลุ่มเอ็นจีโอ เพื่อให้ความช่วยเหลือ
“การส่งเสริมของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ทำให้แรงงานของประเทศจะออกไปทำงานที่ไหนก็ได้ จนเกิดเป็นวัฒนธรรม เมื่อเด็กฟิลิปปินส์ โตขึ้นมา ก็อยากทำงานในต่างประเทศ มีรายได้จากเม็ดเงินที่โอนเข้าสู่ประเทศมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ส่วนการมาทำงานในเมืองไทยก็เพราะวัฒนธรรมของคนไทยกับคนฟิลิปปินส์นั้นคล้ายๆ กัน อีกอย่างเงินเดือนที่หาได้ในเมืองไทย สามารถใช้จ่ายได้อย่างสบาย ได้เงินเดือน 3 หมื่นบาท ก็อยู่ได้ไม่ลำบาก มีเงินส่งกลับประเทศ เพราะถ้าอยู่ฟิลิปปินส์ ไหนจะเงินเดือนน้อย เจอค่าครองชีพสูง สู้ทำงานในไทยจะดีกว่า”
ในส่วนอาชีพหลักๆ ซึ่งแรงงานของฟิลิปปินส์เข้ามาทำงานในไทย พบว่า มาทำอาชีพครูสอนภาษาอังกฤษ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นลำดับต้นๆ ซึ่งไม่กระทบต่อการแย่งอาชีพคนไทย อีกทั้งบุคลิกคนฟิลิปปินส์เป็นคนร่าเริง ชอบสนุกสนาน ทำให้เด็กไทยชอบเรียนกับครูฟิลิปปินส์ ซึ่งต่างกับครูสอนภาษาอังกฤษชาวตะวันตก ส่วนอาชีพรองลงมาเป็น ผู้จัดการ วิศวกร ในบริษัทเอกชน
สำหรับแรงงานที่เข้ามาทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายมีประมาณ 1 หมื่นกว่าคน อีกส่วนหนึ่งมาในรูปแบบนักท่องเที่ยว จากเพื่อนฝูงที่ทำงานในไทยแนะนำมา ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายของฟิลิปปินส์ แต่เมื่อได้ทำงานในไทยได้ระยะหนึ่ง จะกลับประเทศเพื่อทำเอกสารการจ้างงาน หรือ Exit Clearance เพื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นแรงงานทำงานต่างประเทศแบบชั่วคราว ทำให้ไปทำงานในต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าคนฟิลิปปินส์ที่เข้ามาทำงานสอนภาษาในไทย มีความสุข หลายคนไม่คิดอยากจะกลับประเทศ หรือบางคนอยู่ไทยประมาณ 10 ปี ไม่คิดจะปักหลัก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสวัสดิการของสถาบันการศึกษา ส่วนการมาเป็นครูสอนภาษา มีขั้นตอนตามมาตรฐาน ต้องจบปริญญาตรีด้านครู มีการไปสอบกับกระทรวงศึกษาธิการของไทย ซึ่งต้องมีความรู้ด้านวัฒนธรรมของไทยด้วย เพื่อเอาใบประกาศ ซึ่งที่ผ่านมาทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตั้งสถาบันภาษาขึ้นมา เหมือนเป็นศูนย์กลางผลิตครูสอนภาษาอังกฤษชาวฟิลิปปินส์ ป้อนให้แต่ละสถาบันการศึกษาในไทย
ขณะเดียวกันได้มีองค์กรเอ็นจีโอ สมาคมต่างๆ ในฟิลิปปินส์เข้ามาให้ความช่วยเหลือแรงงานฟิลิปปินส์ในไทย อาทิ ใน จ.เชียงใหม่ หรือกรณีคนฟิลิปปินส์มีปัญหา ส่วนใหญ่จะติดต่อสถานทูตเพื่อขอความช่วยเหลือ ส่วนย่านที่คนฟิลิปปินส์พักอาศัยในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่สุขุมวิท สีลม หรือพื้นที่ที่อยู่ใกล้โบสถ์คริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิก เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายดังกล่าว และถือว่ามีจำนวนมากเป็นอันดับสี่ของโลก
แม้แรงงานชาวฟิลิปปินส์จำนวนมาก ซึ่งเข้ามาทำงานในไทยอย่างมีความสุข เหมือนอยู่บ้านของตัวเอง แต่ก็ยังมีปัญหาบางประการที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน โดยมองว่ากฎหมายของไทยไม่เอื้อต่อกระบวนการออกใบอนุญาตทำงาน ซึ่งมีความล่าช้า หากเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์ โดยสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวของไทย ทำงานค่อนข้างช้า ไม่ได้เป็นแบบ One Stop Service ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงแรงงานของไทย จะต้องดำเนินการแก้ไข จากการให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะของ ผศ.ดร.กมลพร
ขณะที่ ผศ.ดร.กมลพร สอนศรี หัวหน้าภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะนักวิจัยโครงการ ASEAN WATCH ของ สกว. ซึ่งมองว่าการออกไปทำงานต่างประเทศของคนฟิลิปปินส์ เป็นวัฒนธรรม ก็เนื่องจากประวัติศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์ มีการส่งแรงงานทำงานต่างประเทศทางทะเล ตั้งแต่ตกเป็นอาณานิคมของสเปน ก่อนที่สหรัฐอเมริกาเข้ามาครอบครอง จากนั้นได้มีการส่งแรงงานต่างประเทศทางบกอย่างต่อเนื่องเป็นต้นมา
กระทั่งสมัยประธานาธิบดี เฟอร์ดินัน มาร์กอส ได้เกิดวิกฤติน้ำมัน ยิ่งทำให้แรงงานฟิลิปปินส์ออกไปทำงานนอกประเทศมากขึ้น อีกทั้งทางรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้มีนโยบายส่งเสริมแรงงานออกไปทำงานต่างประเทศ มีการจัดตั้งหน่วยงานต่างๆ ในการออกกฎระเบียบรับรองคนไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งการตั้งกองทุน คณะทำงานต่างๆ หรือเปิดบริการช่วยเหลือ เพื่อเอื้อต่อการทำงานในต่างประเทศ ซึ่งมีเป็นจำนวนมากหลายนโยบายจากผู้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในอดีตจนถึงปัจจุบัน
ยกตัวอย่างสมัยประธานาธิบดี คอราซอน อาคิโน มีการตั้งสำนักงานบริหารแรงงานฟิลิปปินส์ไปต่างประเทศ ในระดับภูมิภาค มีคณะทำงานด้านการตลาดเดินทางไปยังประเทศต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้มีการจ้างงานชาวฟิลิปปินส์มากขึ้น เช่นเดียวกับสมัยประธานาธิบดี เบนิกโญ่ อากิโน่ เปิดให้บริการทำงานต่างประเทศแบบชั่วคราว มีการส่งเสริมความสามารถของแรงงาน รวมถึงให้บริการทางจิตวิทยา ประสานกับกลุ่มเอ็นจีโอ เพื่อให้ความช่วยเหลือ
“การส่งเสริมของรัฐบาลฟิลิปปินส์ ทำให้แรงงานของประเทศจะออกไปทำงานที่ไหนก็ได้ จนเกิดเป็นวัฒนธรรม เมื่อเด็กฟิลิปปินส์ โตขึ้นมา ก็อยากทำงานในต่างประเทศ มีรายได้จากเม็ดเงินที่โอนเข้าสู่ประเทศมากกว่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ส่วนการมาทำงานในเมืองไทยก็เพราะวัฒนธรรมของคนไทยกับคนฟิลิปปินส์นั้นคล้ายๆ กัน อีกอย่างเงินเดือนที่หาได้ในเมืองไทย สามารถใช้จ่ายได้อย่างสบาย ได้เงินเดือน 3 หมื่นบาท ก็อยู่ได้ไม่ลำบาก มีเงินส่งกลับประเทศ เพราะถ้าอยู่ฟิลิปปินส์ ไหนจะเงินเดือนน้อย เจอค่าครองชีพสูง สู้ทำงานในไทยจะดีกว่า”
ในส่วนอาชีพหลักๆ ซึ่งแรงงานของฟิลิปปินส์เข้ามาทำงานในไทย พบว่า มาทำอาชีพครูสอนภาษาอังกฤษ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เป็นลำดับต้นๆ ซึ่งไม่กระทบต่อการแย่งอาชีพคนไทย อีกทั้งบุคลิกคนฟิลิปปินส์เป็นคนร่าเริง ชอบสนุกสนาน ทำให้เด็กไทยชอบเรียนกับครูฟิลิปปินส์ ซึ่งต่างกับครูสอนภาษาอังกฤษชาวตะวันตก ส่วนอาชีพรองลงมาเป็น ผู้จัดการ วิศวกร ในบริษัทเอกชน
สำหรับแรงงานที่เข้ามาทำงานในไทยอย่างถูกกฎหมายมีประมาณ 1 หมื่นกว่าคน อีกส่วนหนึ่งมาในรูปแบบนักท่องเที่ยว จากเพื่อนฝูงที่ทำงานในไทยแนะนำมา ซึ่งถือว่าผิดกฎหมายของฟิลิปปินส์ แต่เมื่อได้ทำงานในไทยได้ระยะหนึ่ง จะกลับประเทศเพื่อทำเอกสารการจ้างงาน หรือ Exit Clearance เพื่อเปลี่ยนสถานภาพเป็นแรงงานทำงานต่างประเทศแบบชั่วคราว ทำให้ไปทำงานในต่างประเทศได้อย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าคนฟิลิปปินส์ที่เข้ามาทำงานสอนภาษาในไทย มีความสุข หลายคนไม่คิดอยากจะกลับประเทศ หรือบางคนอยู่ไทยประมาณ 10 ปี ไม่คิดจะปักหลัก แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสวัสดิการของสถาบันการศึกษา ส่วนการมาเป็นครูสอนภาษา มีขั้นตอนตามมาตรฐาน ต้องจบปริญญาตรีด้านครู มีการไปสอบกับกระทรวงศึกษาธิการของไทย ซึ่งต้องมีความรู้ด้านวัฒนธรรมของไทยด้วย เพื่อเอาใบประกาศ ซึ่งที่ผ่านมาทางมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ตั้งสถาบันภาษาขึ้นมา เหมือนเป็นศูนย์กลางผลิตครูสอนภาษาอังกฤษชาวฟิลิปปินส์ ป้อนให้แต่ละสถาบันการศึกษาในไทย
ขณะเดียวกันได้มีองค์กรเอ็นจีโอ สมาคมต่างๆ ในฟิลิปปินส์เข้ามาให้ความช่วยเหลือแรงงานฟิลิปปินส์ในไทย อาทิ ใน จ.เชียงใหม่ หรือกรณีคนฟิลิปปินส์มีปัญหา ส่วนใหญ่จะติดต่อสถานทูตเพื่อขอความช่วยเหลือ ส่วนย่านที่คนฟิลิปปินส์พักอาศัยในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่สุขุมวิท สีลม หรือพื้นที่ที่อยู่ใกล้โบสถ์คริสเตียนนิกายโรมันคาทอลิก เนื่องจากชาวฟิลิปปินส์ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายดังกล่าว และถือว่ามีจำนวนมากเป็นอันดับสี่ของโลก
แม้แรงงานชาวฟิลิปปินส์จำนวนมาก ซึ่งเข้ามาทำงานในไทยอย่างมีความสุข เหมือนอยู่บ้านของตัวเอง แต่ก็ยังมีปัญหาบางประการที่เป็นอุปสรรคในการทำงาน โดยมองว่ากฎหมายของไทยไม่เอื้อต่อกระบวนการออกใบอนุญาตทำงาน ซึ่งมีความล่าช้า หากเทียบกับประเทศฟิลิปปินส์ โดยสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวของไทย ทำงานค่อนข้างช้า ไม่ได้เป็นแบบ One Stop Service ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงแรงงานของไทย จะต้องดำเนินการแก้ไข จากการให้ข้อมูลและข้อเสนอแนะของ ผศ.ดร.กมลพร
ส่วนปัญหาในการทำงานในไทยนั้น คงไม่ต่างกับครูสอนภาษาจากชาติเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้รับเงินเดือนโดยตรงจากโรงเรียนที่ว่าจ้าง โดยทางโรงเรียนจะจัดเงินเดือนส่งไปยังบริษัท เอเยนซี่ ก่อนส่งต่อมายังครูสอนภาษาที่ติดต่อผ่านทางเอเยนซี่เหล่านั้น ซึ่งแน่นอนมีการหักค่าคอมมิชชั่น ทำให้ไม่รู้ถึงตัวเลขเงินเดือนที่แท้จริงว่าได้เท่าไร นอกจากนั้นในช่วงปิดเทอม ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะไม่มีรายได้หรือเงินเดือนใดๆ จำเป็นต้องหางานในการรับจ้างสอนภาษาในสถาบันต่างๆ หรือสอนคนไทยแบบตัวต่อตัว คิดชั่วโมงละ 500 บาท ซึ่งถือว่าไม่แพง หากเทียบกับสถาบันสอนภาษาที่แต่ละคอร์สแพงกว่ามาก
“หวังว่าในอนาคตถ้าได้งานดีๆ อาจอยู่เมืองไทยนานๆ เพราะรักเมืองไทยมาก และคิดว่าคนไทยเข้าใจสำเนียงของคนฟิลิปปินส์ที่แตกต่างจากคนตะวันตกซึ่งพูดเร็ว หากถามว่าต้องการอะไรให้รัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือแรงงานฟิลิปปินส์ในไทย ในฐานะที่พวกเราช่วยสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนไทยด้วยหัวใจ อยากให้ดูแลเรื่องเงินเดือนให้สูงขึ้นใกล้เคียงกับครูสอนภาษาชาวตะวันตก หรือแม้แต่ช่วงปิดเทอมควรมีเงินเดือนเหมือนครูไทยทั่วไป รวมถึงอยากให้มีประกันดูแลยามเจ็บป่วย มีสวัสดิการต่างๆ เพราะทุกวันนี้ใช้เสียงมาก ตะโกนดังๆ ออกเสียงอย่างชัดเจนสอนเด็กไทยให้เข้าใจ” Miss Jeannette Guatlo กล่าวทิ้งท้าย
ส่วนปัญหาในการทำงานในไทยนั้น คงไม่ต่างกับครูสอนภาษาจากชาติเดียวกัน เนื่องจากไม่ได้รับเงินเดือนโดยตรงจากโรงเรียนที่ว่าจ้าง โดยทางโรงเรียนจะจัดเงินเดือนส่งไปยังบริษัท เอเยนซี่ ก่อนส่งต่อมายังครูสอนภาษาที่ติดต่อผ่านทางเอเยนซี่เหล่านั้น ซึ่งแน่นอนมีการหักค่าคอมมิชชั่น ทำให้ไม่รู้ถึงตัวเลขเงินเดือนที่แท้จริงว่าได้เท่าไร นอกจากนั้นในช่วงปิดเทอม ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม จะไม่มีรายได้หรือเงินเดือนใดๆ จำเป็นต้องหางานในการรับจ้างสอนภาษาในสถาบันต่างๆ หรือสอนคนไทยแบบตัวต่อตัว คิดชั่วโมงละ 500 บาท ซึ่งถือว่าไม่แพง หากเทียบกับสถาบันสอนภาษาที่แต่ละคอร์สแพงกว่ามาก
“หวังว่าในอนาคตถ้าได้งานดีๆ อาจอยู่เมืองไทยนานๆ เพราะรักเมืองไทยมาก และคิดว่าคนไทยเข้าใจสำเนียงของคนฟิลิปปินส์ที่แตกต่างจากคนตะวันตกซึ่งพูดเร็ว หากถามว่าต้องการอะไรให้รัฐบาลไทยได้ช่วยเหลือแรงงานฟิลิปปินส์ในไทย ในฐานะที่พวกเราช่วยสอนภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนไทยด้วยหัวใจ อยากให้ดูแลเรื่องเงินเดือนให้สูงขึ้นใกล้เคียงกับครูสอนภาษาชาวตะวันตก หรือแม้แต่ช่วงปิดเทอมควรมีเงินเดือนเหมือนครูไทยทั่วไป รวมถึงอยากให้มีประกันดูแลยามเจ็บป่วย มีสวัสดิการต่างๆ เพราะทุกวันนี้ใช้เสียงมาก ตะโกนดังๆ ออกเสียงอย่างชัดเจนสอนเด็กไทยให้เข้าใจ” Miss Jeannette Guatlo กล่าวทิ้งท้าย
ขอขอบคุณ, http://www.thairath.co.th/content/591038