ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประโยชน์ดีอย่างไร ใครมีสิทธิ์สมัครบ้าง

ประกันสังคม มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่ยังอยากส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลังผันตัวออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือมีเหตุให้ต้องหลุดออกจากงานเดิม แต่ยังต้องการคงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของประกันสังคมไว้ http://winne.ws/n22082

4.9 หมื่น ผู้เข้าชม
ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประโยชน์ดีอย่างไร ใครมีสิทธิ์สมัครบ้างขอบคุณภาพจาก YouTube

มาตรา 39 คืออะไร ประกันสังคมมาตรา 39 มีสิทธิประโยชน์อะไรบ้างนั้น วันนี้ เรามีคำตอบ

            ประกันสังคม มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่ยังอยากส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมหลังผันตัวออกมาประกอบธุรกิจส่วนตัว หรือมีเหตุให้ต้องหลุดออกจากงานเดิม แต่ยังต้องการคงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของประกันสังคมไว้ ว่าแต่...สิทธิประโยชน์ ประกันสังคมมาตรา 39  มีอะไรบ้าง ขึ้นทะเบียนประกันสังคม มาตรา 39 ต้องทำอย่างไร มีเอกสารอะไรประกอบ วันนี้เรามีคำตอบมาฝาก  

ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประโยชน์ดีอย่างไร ใครมีสิทธิ์สมัครบ้างขอบคุณภาพจาก SlidePlayer

มาตรา 39 คืออะไร  

            มาตรา 39 ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ระบุว่า

            “ผู้ใดเคยเป็นผู้ประกันตนตาม มาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว ไม่น้อยกว่าสิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลงตาม มาตรา 38 (2) ถ้าผู้นั้น ประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการ กำหนดภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน

            จำนวนเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบที่ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่ง ต้องส่งเข้ากองทุนตาม มาตรา 46 วรรคสอง ให้เป็นไปตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ทั้งนี้โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในขณะนั้นด้วย ให้ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละครั้ง ภายในวันที่ สิบห้าของเดือนถัดไป

            ผู้ประกันตนตามวรรคหนึ่งซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลา ที่กำหนดตามวรรคสาม ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ สำหรับเศษ ของเดือนถ้าถึงสิบห้าวัน หรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง”

            เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเท่ากับบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน เมื่อได้สิ้นสุดความเป็นลูกจ้างของบริษัทที่เราเป็นลูกจ้าง ก็ทำให้ความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุดตามไปด้วย แต่ทั้งนี้ หากเรายังมีความประสงค์จะรักษาสถานภาพการเป็นผู้ประกันตนต่อก็สามารถทำได้ ด้วยการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเอง เพราะทางประกันสังคมต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิประโยชน์ใกล้เคียงกับ ตามนโยบายพื้นฐานที่ว่าด้วยการเฉลี่ยความสุขและทุกข์

ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประโยชน์ดีอย่างไร ใครมีสิทธิ์สมัครบ้างขอบคุณภาพจาก Play/Pause

ประกันสังคม มาตรา 39 กับ 33 ต่างกันอย่างไร

          ผู้ประกันตน มาตรา 33 ถือเป็นภาคบังคับที่บริษัทต้องทำให้พนักงาน/ลูกจ้าง โดยพนักงานต้องส่งเงินสมทบเข้าสำนักงานประกันสังคม 5% ของฐานเงินเดือน ส่วนนายจ้างต้องสมทบให้อีก 5% ขณะที่รัฐบาลจะจ่ายเงินสมทบเพิ่มให้อีก 2.75% โดยยึดฐานเงินเดือนต่ำสุดที่ 1,650 บาท สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท นั่นคือพนักงานบริษัทจะจ่ายเงินสมทบสูงสุดไม่เกินเดือนละ 900 บาท โดยได้รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชราภาพ และกรณีว่างงาน

          ส่วนผู้ประกันตน มาตรา 39 เป็นการประกันตนภาคสมัครใจ กรณีที่เคยทำงานในบริษัทและประกันตน มาตรา 33 มาก่อน แต่เกิดตกงานหรือลาออก แล้วยังต้องการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ ก็สามารถสมัครในมาตรา 39 ได้ โดยผู้ประกันตนจะส่งเงินเข้ากองทุน 432 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจะช่วยสมทบอีก 120 บาทต่อเดือน ซึ่งจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี  คือ กรณีเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ

          อย่างไรก็ตาม ผู้ที่จะสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 จะต้องผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน และลาออกมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน นอกจากนี้ต้องไม่เป็นผู้ทุพพลภาพ จึงจะสมัครมาตรา 39 ได้

ประกันสังคม มาตรา 39 ส่งครบแล้วได้อะไรบ้าง ?

            ผู้ประกันสังคมมาตรา 39 ที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนครบ จะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

            1. กรณีเจ็บป่วย  

            2. กรณีทุพพลภาพ  

            3. กรณีคลอดบุตร  

            4. กรณีสงเคราะห์บุตร

            5. กรณีชราภาพ

            6. กรณีเสียชีวิต

 สิทธิประโยชน์ มาตรา 39 คุ้มครองอะไรบ้าง

            สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตน มาตรา 39 ได้ มี 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และเสียชีวิต

ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประโยชน์ดีอย่างไร ใครมีสิทธิ์สมัครบ้างขอบคุณภาพจาก สำนักข่าวทีนิวส์

ทั้งนี้ กรณีที่เป็นโรคหรือเข้ารับบริการในกลุ่ม 14 โรคยกเว้น จะไม่มีสิทธิ์ได้รับบริการทางการแพทย์ คือไม่สามารถเบิกประกันสังคมได้ ประกอบด้วย

          1. โรคหรือการประสบอันตรายอันเนื่องจากการใช้สารเสพเสพติดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด

          2. โรคเดียวกันที่ต้องใช้ระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาลประเภทคนไข้ใน 180 วัน ในหนึ่งปี ยกเว้น กรณีที่มีความจำเป็นตามดุลยพินิจของคณะกรรมการการแพทย์

          3. การบำบัดทดแทนไต กรณีไตวายเรื้อรัง ยกเว้น กรณีเจ็บป่วยด้วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย ให้มีสิทธิ์ได้รับบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไต ด้วยวิธีการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม, ด้วยวิธีการล้างช่องท้องด้วยน้ำยาอย่างถาวร และด้วยวิธีการปลูกถ่ายไต ตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและอัตราที่กำหนด

          4. การกระทำใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

          5. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

          6. การรักษาภาวะมีบุตรยาก

          7. การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น การตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการปลูกถ่ายอวัยวะหรือเซลล์ต้นกำเนิด ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการการแพทย์กำหนด

          8. การตรวจใด ๆ ที่เกินกว่าความจำเป็นในการรักษาโรคนั้น

          9. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ ยกเว้น

          (ก) การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ให้จ่ายค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายในอัตรา 750,000 หรือ 1,300,000 บาทต่อราย แล้วแต่กรณี ให้แก่สถานพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตนจนสิ้นสุดกระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด โดยจะต้องเป็นสถานพยาบาลที่คณะกรรมการการแพทย์รับรอง และได้ทำความตกลงไว้กับสำนักงานในการให้บริการทางการแพทย์แก่ผู้ประกันตน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

          (ข) การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะกระจกตา โดยให้เหมาจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แก่สถานพยาบาล 35,000 บาทและให้ศูนย์ดวงตาสภากาชาดไทย 15,000 บาท ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด

          (ค) การปลูกถ่ายตับ , การปลูกถ่ายปอด , การปลูกถ่ายหัวใจ , การปลูกถ่ายตับอ่อน รวมถึงการปลูกถ่ายเกินกว่าหนึ่งอวัยวะขึ้นไป

          10. การเปลี่ยนเพศ

          11. การผสมเทียม

          12. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบพักฟื้น

          13. ทันตกรรม ยกเว้น การถอนฟัน การอุดฟัน การขูดหินปูนและผ่าฟันคุด ให้ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น แต่ไม่เกิน 900 บาทต่อปี กรณีใส่ฟันเทียมชนิดถอดได้มีสิทธิ์ได้รับค่าบริการทางการแพทย์เท่าที่จ่าย จริงไม่เกิน 1,300–4,400 บาท ภายในระยะเวลา 5 ปี

          14. แว่นตา

ประกันตนเองโดยสมัครใจ มาตรา 39 คืออะไร สิทธิประโยชน์ดีอย่างไร ใครมีสิทธิ์สมัครบ้างขอบคุณภาพจาก thansettakij.com

 เงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยมาตรา 39

            เงินทดแทนการขาดรายได้สำหรับการหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามคำสั่งแพทย์ในรอบปีปฏิทิน ถ้าผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน ตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้วต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินเรียกว่า "เงินทดแทนการขาดรายได้"ซึ่งผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันในรอบปีหนึ่ง ๆ ก็จะจ่ายให้ปีละไม่เกิน 180 วัน 

            เว้นแต่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน ในกรณีที่ผู้ประกันตนมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในระหว่างหยุดงาน เพื่อการรักษาพยาบาลตามกฎหมายของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือมีสิทธิ์ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานสัญญาจ้างแรงงาน หรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างแล้วแต่ กรณีผู้ประกันตนไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จนกว่าสิทธิ์ที่ได้รับเงินค่าจ้างนั้นได้สิ้นสุด จึงจะมีสิทธิ์ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ดังกล่าวเท่ากับระยะเวลาที่คงเหลือ

ปัจจุบันกำหนดโรคเรื้อรังไว้ 6 รายการ ดังนี้

             1. โรคมะเร็ง

             2. โรคไตวายเรื้อรัง

             3. โรคเอดส์

             4. โรคหรือการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมองหรือกระดูกสันหลังอันเป็นเหตุให้เป็นอัมพาต

             5. ความผิดปกติของกระดูกหักที่มีภาวะแทรกซ้อน

             6. โรคหรือการเจ็บป่วยอื่น ๆ ที่ต้องรักษาตัวนานติดต่อกันเกินกว่า 180 วัน ระหว่างการรักษาทำงานไม่ได้ให้ยื่นเรื่องขอมติคณะกรรมการการแพทย์

          ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติม รวมทั้งเอกสารประกอบการยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ได้ที่ sso.go.th

 

อ่านต่อได้ที่ : https://money.kapook.com/view90698.html

แชร์