การปกครองสงฆ์ด้วยระบอบ สังฆาธิปไตย

การปกครองคณะสงฆ์ด้วยระบอบสังฆาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการปกครองโดยให้อำนาจแก่สงฆ์ในการปกครองกันเอง http://winne.ws/n24186

2.0 พัน ผู้เข้าชม

     การปกครองคณะสงฆ์ด้วยระบอบสังฆาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่มีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการปกครองโดยให้อำนาจแก่สงฆ์ในการปกครองกันเอง  โดยอำนาจนั้นมิใช่ของภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง 

     ซึ่งการปกครองของคณะสงฆ์ในปัจจุบันนี้ก็ยังคงใช้หลักการปกครองแบบสังฆาธิปไตยอย่ โดยมีมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรสูงสุดทำหน้าที่ในด้านการปกครองและบริหารสังฆมณฑล  โดยมีสมเด็จพระสังฆราชฯ เป็นประมุข


     ธรรมเนียมการปกครองสงฆ์ในเถรวาท ซึ่งถือว่า “สงฆ์” เป็นใหญ่ในการปกครองนั้น มีความเป็นมาอย่างไร  ??

     นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา และพระไตรปิฎกศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยท่านหนึ่งได้อธิบายไว้ว่า

การปกครองสงฆ์ด้วยระบอบ สังฆาธิปไตย

..... ตามธรรมเนียมของพระพุทธศาสนาเถรวาท“สงฆ์” เป็นใหญ่ในการปกครอง...

 

@ เถรวาท :สงฆ์เป็นใหญ่ในการปกครองอย่างไร ?

 ในสมัยพุทธกาลเมื่อว่ากันตามหลักฐานนั้นพระพุทธองค์ทรงดำเนินการปกครองแบบผ่อนปรนมาโดยตลอด  การปกครองคณะสงฆ์นั้นทรงผ่อนปรนมาอย่างไร ? กล่าวคือ

 ๑.  ระยะแรก :   ทรงปกครองด้วยพุทธานุภาพของพระองค์เองเรียกว่า เป็นแบบ พุทธาธิปไตย

 ๒.  ระยะที่สอง :  ทรงมอบอำนาจการบริหารจัดการบางอย่างเช่น การบวชให้พระสาวกรูปสำคัญเป็นคนตัดสินใจแทนหรือบริหารแทน เพราะคำว่าการบริหารก็คืออำนาจในการตัดสินใจนั่นเองเราเรียกการปกครองระยะนี้ว่าเป็นแบบ สาวกาธิปไตย

 

๓.  ระยะที่สาม :  ทรงมอบอำนาจการปกครอง การบริหารและการตัดสินใจให้กับสงฆ์คือให้ทรงเป็นใหญ่ เรียกว่าเป็นการปกครองแบบ สังฆาธิปไตย และทรงให้ยึดการปกครองแบบที่ ๓นี้เรื่อยมาจนพระองค์ปรินิพพานและเพื่อให้เข้าใจในเรื่องการปกครองโดยคณะสงฆ์นี้เป็นอย่างไรก็ขอให้อ่านข้อมูลนี้ก่อนครับ

 

(ก)   หลักการปกครองโดยมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่

     สำหรับหลักการปกครองโดยให้ทรงเป็นใหญ่นี้ก็คือหลังจากพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้จนทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมโปรดชาวโลกและมีกุลบุตรจากตระกูลต่างๆ ออกบวชบรรลุธรรมจำนวนมากรวมเป็นคณะสงฆ์แล้วพระพุทธองค์ได้ทรงมอบพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัทให้ช่วยกันปกครองรับผิดชอบ ดูแลธำรงรักษา พร้อมทั้งขจัดปัดเป่าภัยกันเอง

    จึงทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ในการบริหารตั้งแต่สมัยพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่โดยให้สงฆ์เป็นผู้คัดเลือกกุลบุตรที่เข้ามาขอบวช (วิ.ม. (ไทย) ๔/๓๔/๔๒-๔๓,๖๙-๗๓/๙๗-๑๐๒.)

การปกครองสงฆ์ด้วยระบอบ สังฆาธิปไตย

     เมื่อมีสาวกที่ประพฤติเสียหายพระองค์ก็ทรงชี้โทษที่ภิกษุกระทำอย่างนั้นแล้วทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสาวกทั้งหลายรับปฏิบัติ(ดังปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑-๒-๓.)

     พระพุทธองค์รับสั่งไม่ให้ภิกษุสงฆ์ยึดพระองค์เป็นหลักในการบริหารหมู่คณะเพราะพระองค์ได้แสดงธรรมสำหรับที่ภิกษุสงฆ์จะใช้บริหารตนบริหารหมู่คณะไว้แก่สาวกทั้งหลายอย่างไม่ปิดบังทรงให้ภิกษุสงฆ์พึ่งตนเอง พึ่งธรรม (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๕/๑๑๐.)

     ทรงให้ตัดสินเรื่องที่เกิดขึ้นทางธรรมวินัยโดยใช้ หลักมหาปเทส คือ ใช้พระธรรมวินัยเป็นเครื่องตัดสิน (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๘๘/๑๓๔–๑๓๗.)  ทรงให้ภิกษุสงฆ์เคารพกันโดยกล่าวทักกันด้วยความเคารพ และทรงมอบความเป็นใหญ่ให้สงฆ์  เช่น  ทรงอนุญาตให้ถอนสิกขาบทเล็กน้อยได้หากสงฆ์ปรารถนาจะถอน (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๖/๑๖๕.)

    หลังจากพระพุทธองค์ปรินิพพานแล้วพระองค์มิได้ทรงตั้งพระองค์เป็นศูนย์อำนาจ ทางการปกครองทรงมอบอำนาจทั้งมวลให้แก่สงฆ์ดังพระดำรัสที่ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรว่า

          อานนท์ผู้ที่คิดว่าเราจักบริหารคณะสงฆ์ หรือคณะสงฆ์จะมีเราเป็นหลัก [ต้องอ้างเรา (ยกเรา)] เขาพึงเอาสงฆ์ไปอ้าง(เพื่อผลประโยชน์)

           แน่ะอานนท์ ตถาคตไม่ได้คิดว่า จักบริหารคณะสงฆ์ หรือให้คณะสงฆ์ยึดตถาคตเป็นหลัก[ต้องอ้าง (ที่องค์พระตถาคต)] เคยมีสักครั้งไหม อานนท์ที่เราอ้างคณะสงฆ์(หาประโยชน์) (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๖๕/๑๑๐.)

การปกครองสงฆ์ด้วยระบอบ สังฆาธิปไตย

     ข้อที่พระพุทธองค์ตรัสว่าพระองค์ไม่ทรงมีพระดำริในการปกครองภิกษุสงฆ์ หมายความว่าไม่ทรงใช้อำนาจของพระองค์เองบังคับบัญชาเป็นอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ หรือแบบเผด็จการส่วนที่ตรัสว่า ไม่ทรงหวังให้ภิกษุสงฆ์ยึดพระองค์เป็นหลักเท่ากับทรงมอบอำนาจการตัดสินใจให้เป็นภาระของภิกษุสงฆ์ ไม่ต้องรอคำสั่งจากพระองค์

 ดังที่ตรัสว่า

 “อานนท์ ขอให้พวกเธอปกครองตนเองมีตนเองเป็นที่พึ่ง ปกครองกันโดยหลักการ มีหลักการ (ธรรมะ) เป็นที่พึ่ง”

ตามนัยแห่งพระพุทธพจน์นี้ แสดงให้เห็นว่าการปกครองตนเองต้องอาศัยหลักการคือ พระธรรมวินัย

     การปกครองสงฆ์ตามแนวทางของพระพุทธองค์อำนาจการปกครองสงฆ์ทรงมอบให้สงฆ์เป็นใหญ่ แม้พระองค์เองก็ไม่ตรัสว่า จักบริหารสงฆ์ไม่ทรงให้สงฆ์ยึดพระองค์เป็นหลัก เช่นคิดว่า ต่อไปนี้ไม่มีพระศาสดาแล้วหมดสิ้นทุกอย่าง การปกครองตามแนวพุทธองค์ บุคคลเพียงเป็นผู้ทำหน้าที่ตามมติสงฆ์หรือการอนุมัติของสงฆ์เท่านั้น ผมเห็นว่า การที่พระองค์ไม่ปกครองสงฆ์ไม่บริหารสงฆ์ ก็เพราะทรงวางแบบอย่างไว้ดีแล้ว จึงมอบให้สงฆ์ปกครองกันเอง

การปกครองสงฆ์ด้วยระบอบ สังฆาธิปไตย

(ข)   พระธรรมวินัยเป็นศาสดาของพระสงฆ์และชาวพุทธทั้งมวล

    ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพานพระองค์ได้มีรับสั่งกับพระอานนท์ให้แจ้งแก่ภิกษุสงฆ์ ไม่ให้พากันคิดว่าพระศาสดาจากพระธรรมวินัยไปแล้ว พระศาสดาไม่อยู่แล้ว แต่ให้คิดว่าพระธรรมวินัยที่พระศาสดาแสดงไว้แล้วบัญญัติไว้แล้วแก่ภิกษุสงฆ์นั้นจักอยู่เป็นศาสดาคือตัวแทนพระศาสดาของภิกษุสงฆ์เมื่อพระองค์ล่วงลับไป (ที.ม. (ไทย) ๑๐/๒๑๖/๑๖๔.)

     พระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงมอบไว้ให้เป็นพระศาสดานี้คือ พระไตรปิฎก นิกาย ๕ นวังคสัตถุศาสน์ พระธรรมแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์พระธรรมวินัยทั้งหมดนั้น จะกระทำหน้าที่สั่งสอนแทนพระศาสดา  (ตํ สกลมฺปิ วินยปิฏกํ… สุตฺตนฺตปิฏกํ … อภิธมฺมปิฏกํ มยิ ปรินิพฺพุเต ตุมฺหากํ สตฺถุ กิจฺจํ สาเธสฺสติใน ที.ม.อ. ๒/๒๑๖/๑๙๘–๑๙๙.)

 

     ดังนั้น เมื่อยังมีพระธรรมวินัยก็ถือว่าพระศาสดายังอยู่ เมื่อภิกษุสงฆ์ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยก็ถือว่าได้เข้าเฝ้ารับฟังคำสั่งสอนจากพระศาสดาเมื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติตามสมควร ก็ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ(พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) กรณีธรรมกาย,หน้า ๑๔)

      พระธรรมวินัยนั้นได้รับการทรงจำนำสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาแบบถือปฏิบัติหลักคำสอนเดิม ที่เรียกกันว่า ฝ่ายเถรวาทได้รับคัมภีร์ที่บันทึก คำสั่งสอนนั้นมาบันทึกสืบต่อกันมาแล้วได้แปลสู่ภาษาของตนสั่งสอนศึกษาเล่าเรียนกันแล้ว น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติตามสมควรแก่เพศภาวะของตน

 

@ เอาล่ะจากที่กล่าวมาทั้งหมดจะพบว่าพระพุทธศาสนาเป็นของชาวพุทธทุกคนก็จริงนะครับไม่มีใครเถียงหากจะอ้างแบบนั้นแต่ในรายละเอียดของการปกครองการบริหารและจัดการพระพุทธศาสนานั้นเป็นเรื่องที่มีบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องเป็นการเฉพาะอยู่

 

กล่าวคือหากเป็นเรื่องของสงฆ์  ให้สงฆ์เป็นฝ่ายจัดการเรื่องนั้นๆชาวบ้านจะมีฐานะเป็นเพียงผู้แจ้งเรื่องราวแก่สงฆ์ การจัดการเพื่อให้เรื่องนั้นเป็นเรื่องที่สงบจบลงได้ต้องเป็นหน้าที่ของพระไม่ใช่ที่ทำๆกันอยู่ตอนนี้  ผมว่ามีผู้ที่อ้างเป็นชาวพุทธพยายามทำตัวเกินหน้าที่เกินเลยรุกล้ำก้าวล่วงไปจนถึงการเข้าไปกำหนดกฎเกณฑ์ให้กับพระสงฆ์

 

ผมว่าเป็นเรื่องที่เกินไป ความปรารถนาดีมีกันทุกคนแต่ความปรารถนาดีนั้นจะต้องมีทางออกที่ดีมีขั้นตอนการปฏิบัติที่ดีเหมาะสมและเป็นธรรมนะครับ 


cr :  เฟซบุ๊ค Naga King

แชร์