เครื่องถมเมืองนครฯ ปรับตัวสู่ตลาดโลก

“เราก็พยายามหาสิ่งใหม่ๆ ให้ลูกค้า ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลง ก็เดินต่อบนเส้นทางนี้ยาก ตลาดเครื่องถมส่วนใหญ่อยู่ในประเทศ คนต่างชาติไม่ค่อยรู้จักเหมือนคนไทย ผมก็พยายามเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติรู้จักมากขึ้น” http://winne.ws/n24916

4.0 พัน ผู้เข้าชม
เครื่องถมเมืองนครฯ ปรับตัวสู่ตลาดโลก

วชิระ นกอักษร ทายาทรุ่นที่ 2 (บุตรครูนิคม นกอักษร ครูศิลป์ของแผ่นดิน) เล่าถึงเครื่องถมนครฯ 

บ้านของเขา เป็นทั้งศูนย์เรียนรู้หัตถศิลป์ไทย ชมรมผู้ผลิตเครื่องถมเมืองนคร และร้านนครหัตถกรรม ตั้งอยู่บนถนนสระเรียง (ติดหลังวัดสระเรียง) อ. เมือง จ.นครศรีธรรมราช

สถานที่แห่งนี้ เป็นแหล่งเรียนรู้ฝึกฝนงานศิลปะหลายแขนงให้คนนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะการทำเครื่องถม จะมีครูศิลป์ของแผ่นดินและทายาท เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญา

หากถามว่า เครื่องถมเกิดขึ้นในเมืองไทยเมื่อไหร่... ก็ได้รับคำตอบว่า ไม่มีหลักฐานยืนยันแน่นอนว่า เครื่องถมเมืองนครฯ เกิดขึ้นในสมัยไหน...

บ้างก็ว่า เกิดขึ้นยุคสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยา ช่วงที่ชาวโปรตุเกสเข้ามาค้าขายในเมืองนครศรีธรรมราช บ้างก็ว่า รับมาจากอิหร่าน หรือไม่ก็กรีซ

ว่ากันว่า เครื่องถมเมืองนคร เป็นหัตถศิลป์ชั้นสูงที่นิยมทำเป็นเครื่องราชบรรณาการ เครื่องราชูปโภค และของที่ระลึกตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงปัจจุบัน และมีการถ่ายทอดการทำเครื่องถมมานานกว่า 100 ปี มีโรงเรียนช่างถมนครศรีธรรมราช เปิดสอนตั้งแต่ปีพ.ศ. 2456 ปัจจุบันใช้ชื่อว่า วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช  

ส่วนศูนย์เรียนรู้หัตถศิลป์ไทย เป็นอีกสถานที่ฝึกปรือให้ช่างถมมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น เนื่องจากเป็นงานช่างทีี่ต้องใช้ทักษะหลายด้าน ต้องใช้ความละเอียดปราณีตมากกว่างานช่างด้านอื่นๆ ตั้งแต่การขึ้นรูปโลหะ แกะสลัก การผสมโลหะ และลงยาถม รวมถึงการเขียนลายไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ ลายใบเทศ ลายกนก ลายประจำยาม ลายกระจัง และลาย 12 นักษัตร

อ่านข่าวต่อได้ที่ สำนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ

แชร์