23 ตุลาคม วันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 5

วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 http://winne.ws/n26655

1.6 พัน ผู้เข้าชม
23 ตุลาคม วันปิยมหาราช วันคล้ายวันสวรรคต รัชกาลที่ 5

       วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

        สมเด็จพระปิยมหาราช พระราชสมัญญานามนี้ แปลว่า พระมหากษัตริยที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน เพราะพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ คือ การเลิกทาส


พระราชกรณียกิจสำคัญ

1.การเลิกทาส

       ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช”พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเห็นว่าการมีทาสเป็นสิ่งที่ล้าสมัย ไม่เหมาะกับประเทศที่เจริญแล้ว พระองค์จึงหาวิธีเพื่อไม่ให้มีเหตุกระทบกระเทือนต่อตัวทาสและเจ้าของทาส พระองค์ทรงประสบความสำเร็จในการปลดปล่อยทาสให้เป็นไท โดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อเหมือนประเทศอื่น ทำให้ทาสในเรือนเบี้ยหมดไปจากประเทศไทย


2.คมนาคมและการสื่อสาร

       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นหลายสาย เช่น ถนนราชดำเนิน ทางรถไฟสายแรก ระหว่างกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างโทรเลข โทรศัพท์ การรับส่งจดหมายอย่างเป็นระบบ จนเกิดเป็นกรมไปรษณีย์โทรเลข ใน พ.ศ.2426 นอกจากนี้ สาธารณูปโภคพื้นฐานเช่น ไฟฟ้า และน้ำประปา ก็เกิดขึ้นในรัชสมัยพระองค์เช่นกัน


3.สาธารณสุข

       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ โปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" และ พระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดในปัจจุบัน)


4.เศรษฐกิจและการคลัง

        พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงเริ่มให้มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน โดยทรงให้แยกเงินแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกัน อีกทั้งทรงนำระบบเงินตราใหม่ มาใช้แทนระบบเงินพดด้วง ประเทศจึงมีหน่วยเงิน บาท สลึง สตางค์ และ รูปแบบของธนบัตรและเหรียญมาใช้ในประเทศ


5.ปฏิรูประบบราชการ

        พระองค์ทรงตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรม กองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน ได้มีการเพิ่มกระทรวง อีก 4 กระทรวง คือ

-กระทรวงธรรมการ

-กระทรวงยุติธรรม

-กระทรวงโยธาธิการ

-กระทรวงการต่างประเทศ


จากเดิมที่มี 6 กระทรวง คือ

-กระทรวงมหาดไทย

-กระทรวงกลาโหม

-กระทรวงนครบาล

-กระทรวงวัง

- กระทรวงการคลัง

-กระทรวงเกษตราธิการ และทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาองคมนตรีเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน


ขอบคุณข้อมูลข่าวและที่มา  :  สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

แชร์