ร้อนชื้นแบบประเทศไทย หลังคาบ้านแบบไหนดี?

“หลังคา” เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของบ้านที่เปรียบเสมือนด่านแรกในการรับมือกับแสงแดดและความร้อน http://winne.ws/n12376

2.2 พัน ผู้เข้าชม
ร้อนชื้นแบบประเทศไทย หลังคาบ้านแบบไหนดี?http://thehillside-design.com/?p=1050

ความรู้ดีๆจากบ้านและสวน

เป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น หรือที่เรียกว่าภูมิอากาศแบบทรอปิคัล ซึ่งส่งผลต่อการออกแบบสถาปัตยกรรมในบ้านเราหลายประการ อาทิ ตัวบ้านต้องคุ้มแดดคุ้มฝน รวมถึงระบายอากาศได้ดี และต้องจัดการกับความร้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เอกลักษณ์ของบ้านเรือนไทยจึงได้ผนวกเอาทั้งโครงสร้างพื้น ผนัง และหลังคาเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างภาวะน่าสบายให้แก่ผู้อยู่อาศัย โดยเฉพาะ “หลังคา” ซึ่งถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของบ้านที่เปรียบเสมือนด่านแรกในการรับมือกับแสงแดดและความร้อน “รู้ทีละนิด” ฉบับนี้ จึงขอพาคุณผู้อ่านไปรู้จักหลังคาที่เหมาะสมกับภูมิอากาศแบบทรอปิคัลกันครับ


ลาดชันไว้…ได้ทั้งกันแดดและกันฝน แถมยังเย็นอีกด้วย

ลังคาของบ้านในเขตร้อนชื้นควรมีความลาดชันสูง เพื่อระบายน้ำในฤดูฝน และช่วยบังแดดให้หลังคา โดยจะมีส่วนที่ร่มเย็นไม่โดนแดดพร้อมกันทั้งผืน หลังคาที่ว่าก็คือหลังคาทรงจั่ว ปั้นหยา มนิลาห และทรงประยุกต์อื่นๆที่ดัดแปลงจากหลังคาทั้งสามทรงนี้
นอกจากนี้หลังคาที่มีความลาดชันสูงก็จะมีพื้นที่ใต้หลังคาให้อากาศร้อนลอยตัวขึ้นไปด้านบน จากนั้นก็ออกแบบช่องลมบริเวณใต้ฝ้าชายคาและหน้าจั่ว เพื่อให้ลมเย็นจากภายนอกนั้นพัดเข้ามายังพื้นที่ใต้หลังคา ทำให้เกิดการไหลเวียนให้อากาศร้อนลอยออกไปจากอาคารได้ ส่งผลให้พื้นที่ด้านล่างซึ่งเป็นบริเวณที่เราอยู่อาศัยไม่ร้อนอบอ้าว

ร้อนชื้นแบบประเทศไทย หลังคาบ้านแบบไหนดี?

ใช้วัสดุที่สู้แดดและลมฝน

กระเบื้องหลังคาไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องดินเผาหรือกระเบื้องคอนกรีตล้วนเป็นวัสดุที่นำพาความร้อนต่ำ จึงป้องกันความร้อนจากแสงแดดไม่ให้ส่งผ่านลงไปภายในบ้านได้ ทั้งยังรับมือกับแสงยูวีได้เป็นอย่างดี
อีกทั้งหลังคากระเบื้องยังเหมาะกับภูมิอากาศในแถบนี้ เพราะการซ้อนกันของกระเบื้องหลังคาและองศาที่ลาดชันจะทำให้การระบายน้ำฝนออกจากหลังคามีประสิทธิภาพกว่าหลังคาที่มีลอนเล็กและมีความลาดชันน้อย


เป็นหลังคาที่หายใจได้
ไม่ว่าจะเป็นหน้าต่าง ช่องลมที่หน้าจั่ว หรือช่องลมที่ใต้ฝ้าชายคา ทั้งหมดนี้ได้ออกแบบมาเพื่อให้เกิดการระบายอากาศที่ดี เสมือนการหายใจของบ้านเลยทีเดียว การปล่อยให้ลมเย็นๆพัดเข้าในตัวบ้านและระบายลมร้อนออก เพียงเท่านี้ภายในบ้านก็จะไม่ร้อนอบอ้าว และหากเป็นบ้านที่ใช้เครื่องปรับอากาศ การกั้นฝ้าภายในห้องเพื่อให้มีการระบายอากาศภายในพื้นที่ใต้หลังคาเหนือฝ้า ก็ยังช่วยให้ความร้อนจากผืนหลังคาส่งผลกระทบลงไปยังพื้นที่ภายในบ้านน้อยลงอีกด้วย


มีชายคายื่นยาว
การออกแบบให้ชายคายื่นยาวออกไปมีจุดประสงค์เพื่อปล่อยให้น้ำฝนระบายพ้นออกไปจากตัวบ้าน เป็นพื้นที่รับลมเข้าสู่ใต้ผืนหลังคา และยังช่วยสร้างร่มเงาไม่ให้แดดกล้ำกรายเข้าสู่ตัวบ้าน จึงถือเป็นเอกลักษณ์ที่เด่นชัดของการออกแบบหลังคาในพื้นที่แถบนี้

เมื่อรู้หลักการเหล่านี้แล้ว คุณก็สามารถออกแบบหลังคาของบ้านให้เข้ากับภูมิอากาศแบบทรอปิคัลได้ไม่ยาก ไม่จำเป็นต้องเป็นบ้านรูปทรงพื้นถิ่น แม้แต่บ้านสมัยใหม่ก็ใช้แนวคิดนี้ได้ เพราะบ้านที่ดีก็ควรจะต้องอยู่สบาย ที่สำคัญคือต้องสวยสมใจผู้อยู่อาศัยด้วยเช่นกัน หลังคาทรงสูงแบบไทยๆเรานอกจากจะดูดีแล้ว ยังใช้งานได้ดี เหมาะกับสภาพภูมิอากาศ จึงถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ควรพิจารณาไว้เพื่อให้บ้านของเราอยู่สบายอย่างยั่งยืนครับ

 

เรื่อง : “วุฒิกร สุทธิอาภา”

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: 

http://www.baanlaesuan.com/44815/dontmiss/tropical_roof/

https://www.youtube.com/watch?v=QcxbsoXBHO0

แชร์