บอกตามตรงประชาชนงงจริงๆ...หน่วยงานรัฐกล่าวหาลอยๆทำลายชื่อเสียง ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาตกเป็น "แพะ" ของสังคม

การตั้งข้อหาใดก็ตาม ในวิชากฎหมายเบื้องต้น กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญในการตั้งข้อหาคือ1.ต้องมีการกระทำผิดที่ชัดเจน 2. ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน 3. ต้องมีลำดับเวลาเหตุการณ์ที่ชัดเจน 4. ต้องมีพยานที่น่าเชื่อถือ http://winne.ws/n12463

926 ผู้เข้าชม

การตั้งข้อหาใดก็ตาม ในวิชากฎหมายเบื้องต้น 

กล่าวว่าองค์ประกอบสำคัญในการตั้งข้อหาคือ

1. ต้องมีการกระทำผิดที่ชัดเจน 
2. ต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน 
3. ต้องมีลำดับเวลาเหตุการณ์ที่ชัดเจน 
4. ต้องมีพยานที่น่าเชื่อถือ

เพราะสิ่งเหล่านี้ คือการแสดงสภาพแห่งข้อหาอย่างชัดเจน 
ว่าบุคคลนั้นกระทำความผิดจริง

การตั้งข้อสงสัยโดยการกล่าวหาลอยๆ โดยขาดหลักพื้นฐานนี้
เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ เพราะจะทำให้ประชาชนเดือดร้อน

จากหลักการพื้นฐานนี้ สิ่งที่ประชาชนเห็น
และเปรียบเทียบได้ชัดเจนจากการทำงาน
ของ 2 หน่วยงานรัฐ ในการสืบสวนคดีเดียวกันก็คือ

หน่วยงานหนึ่ง เวลาแถลงข่าวแต่ละครั้ง
จะใช้วิธีกล่าวหานำไปก่อน โดยไม่มีพยานและหลักฐาน
ที่เป็นสาระสำคัญของคดี มาแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม
ทำให้ภาพที่ออกมาดูไม่ต่างจากการกล่าวหาลอยๆ 
เพื่อทำลายชื่อเสียง ทำให้ผู้ถูกล่าวหาตกเป็น "แพะ" ของสังคม
ตั้งแต่ยังไม่ทันเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

ขณะที่อีกหน่วยงานหนึ่ง เวลาแถลงข่าวแต่ละครั้ง 
จะต้องมีทั้งพยานและหลักฐานที่ใช้เป็นสาระสำคัญของคดีได้
ทำให้ประชาชนรู้สึกได้ว่า การทำงานมีหลักการ 
การปฏิบัติงานมีหลักเกณฑ์ ให้การคุ้มครองว่า
ผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ตามหลักสิทธิมนุษยชน 
ไม่ใช่การกล่าวหาลอยๆ เพื่อทำลายชื่อเสียง
ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาตกเป็น "แพะ" ของสังคม
ตั้งแต่ยังไม่ทันเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

บอกตามตรงประชาชนงงจริงๆ...หน่วยงานรัฐกล่าวหาลอยๆทำลายชื่อเสียง ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาตกเป็น "แพะ" ของสังคม

เมื่อเปรียบเทียบวิธีทำงานของ 2 หน่วยงานรัฐนี้แล้ว
ก็จะพบข้อสังเกต 3 ประการ คือ

1. หน่วยงานที่ปฏิบัติงานโดยใช้วิธีกล่าวหานำไปก่อน
สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนเป็นอย่างมาก 
เพราะใช้วิธีตั้งข้อหาจับติดคุกไปก่อน 
แล้วค่อยมาสืบหาหลักฐานและพยานในภายหลัง
ซึ่งไม่ต่างจากการจับ "แพะ" ส่งให้ "ศาล"
ถ้าแพะแก้ต่างข้อกล่าวหาบนศาลไม่ได้ก็ติดคุกฟรี 
 แต่ถ้าแพะหักล้างข้อกล่าวหารอดมาได้ก็ไม่มีการเยียวยา

2. หน่วยงานที่ใช้วิธีกล่าวหานำไปก่อน
ทำงานแบบใช้ "ศาล" เป็น "ลูกน้อง" 
ช่วยตามล้างตามเก็บคดีที่รกโรงรกศาล
แต่อีกหน่วยงานหนึ่ง ใช้วิธีทำงานแบบระมัดระวัง
ผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชนทุกย่างก้าว 
เป็นการทำงานเพื่อกลั่นกรองข้อมูลให้แก่ศาล 
แบ่งเบาภาระของศาล ไม่ใช่เอาศาลมาเป็นลูกน้อง

3. ในกรณี 308 คดี ของวัดพระธรรมกายก็เช่นกัน
เป็นการตั้งคดีแบบกล่าวหานำไปก่อน
แล้วค่อยหาหลักฐานพยานมาเพิ่มทีหลังทั้งสิ้น
เพื่อจะได้ใช้เป็นข้ออ้างในการขอออกหมายจับจากศาล 
ทำให้เกิดความสงสัยว่า ตกลงแล้วทำคดีแบบกลั่นกรองให้ศาล
หรือทำงานแบบปั่นยอดคดีโยนให้ศาลตามแก้ปัญหากันแน่

จากข้อสังเกตในวิธีทำงานทั้ง 2 หน่วยงานนี้เอง 
ทำให้ประชาชนรู้สึกสับสน และอดคิดในใจไม่ได้ว่า

ตกลงแล้ว การทำงานของหน่วยงานใด 
ถึงจะเรียกได้ว่า

1. เป็นระเบียบราชการที่ถูกต้อง 
 2. ให้การคุ้มครองแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน 
3. แบ่งเบาภาระการทำงานของศาล 
4. เกิดประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรม
5. เป็นที่พึ่งแก่ประชาชนผู้เดือดร้อน
6. ช่วยลดปริมาณคดีความที่ค้างอยู่บนศาล
ถึง 1.4 ล้านคดี ให้ลดน้อยลง
บอกตามตรงประชาชนงงจริงๆ ?


Cr.Ptreetep Chinungkuro

https://www.facebook.com/tchinungkuro?fref=ts

แชร์