คุณรู้จักกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ดีแล้วหรือยัง? (Department of Special Investigation)

คุณรู้จักกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ดีแล้วหรือยัง? (Department of Special Investigation) คืออะไร มึความเป็นมาอย่างไร มีหน้าที่อะไร และมีขอบเขตหน้าที่การทำงานอย่างไร ติดตามได้ที่นี่ http://winne.ws/n4211

1.3 หมื่น ผู้เข้าชม

คุณรู้จักกรมสอบสวนคดีพิเศษดีแล้วหรือยัง?

คุณรู้จักกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ดีแล้วหรือยัง?  (Department of Special Investigation)

กรมสอบสวนคดีพิเศษ (Department of Special Investigation)

วิสัยทัศน์
 
                " เป็น องค์กรสหวิชาชีพที่ปฏิบัติงานเชิงรุก เพื่อป้องกันปราบปราม และควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยมุ่งมั่นอำนวยความยุติธรรม ด้วยความเชี่ยวชาญพิเศษ สุจริต โปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชน "
 
ความเป็นมา

              
 สืบ เนื่องจากสถานการณ์ของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การพัฒนาด้านเทคโนโลยีส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ไปตลอดถึงการก่ออาชญากรรม ซึ่งพัฒนาจากการใช้ความรุนแรงเป็นอาชญากรรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายทาง เศรษฐกิจที่มีมูลค่ามหาศาล ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นจำนวนมาก การใช้เทคโนโลยีคุณภาพสูงและช่องว่างของกฎหมายปิดบังความผิดของตน มีอิทธิพลและเครือข่ายองค์กรโยงใยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ยากต่อการสืบสวนสอบสวนดำเนินคดี จึงต้องมีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษขึ้น โดยอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม  ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า  DEPARTMENT OF SPECIAL INVESTIGATION  มีชื่อย่อว่า DSI ซึ่งมีบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในด้านต่างๆ พัฒนารูปแบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพ เป็นองค์กรหนึ่งซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ในการปฏิรูประบบราชการ ทำให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับความเป็นธรรมและประโยชน์สูงสุด
 
อำนาจหน้าที่
 
1.     ป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2.     พัฒนา กฎหมาย กฎระเบียบ รูปแบบ วิธีการ และมาตรการในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมที่มีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
3.       พัฒนาโครงการและการบริหารจัดการองค์กร
4.       พัฒนาบุคลากรโดยเสริมสร้างศักยภาพในด้าน  ความรู้  ความสามารถ  คุณธรรม จริยธรรม และขวัญกำลังใจ
5.     ประสานส่งเสริมเครือข่าย ความร่วมมือในการป้องกัน ปราบปรามและควบคุมอาชญากรรมกับทุกภาคส่วนทั้งภายในและต่างประเทศ

คุณรู้จักกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ดีแล้วหรือยัง?  (Department of Special Investigation)

คดีที่อยู่ในความรับผิดชอบ

           คดี พิเศษหรือคดีอาชญากรรมพิเศษ หมายถึงคดีที่ผู้กระทำผิดมีโครงข่ายโยงใยระหว่างประเทศ ลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมที่มีอิทธิพลหนุนหลังและมีความรู้ความเชี่ยวชาญใน เทคโนโลยีระดับสูง การกระทำความผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่งต่อประเทศชาติและประชาชน อันได้แก่

1.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน

2.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้า

3.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

4.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

5.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเล่นแชร์

6.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน

7.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ

8.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม

9.       คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค

10.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า

11.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

12.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร

13.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน

14.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยธนาคารแห่งประเทศไทย

15.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด

16.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

17.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

18.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

19.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

20.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

21.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร

22.    คดีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

คดี ความผิดอาญาตามกฏหมายที่กำหนดไว้ในกฏกระทรวงว่าด้วยการกำหนดคดีพิเศษเพิ่ม เติม  ตามกฏหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547  บัญชีท้ายประกาศ  กคพ. ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2547)  ดังนี้

        1.   คดีความผิดตามประมวลรัษฎากร

        2.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยศุลกากร

        3.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต

        4.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยสุรา

        5.   คดีความผิดตามกฏหมายว่าด้วยยาสูบ

คุณรู้จักกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ดีแล้วหรือยัง?  (Department of Special Investigation)

การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
 
                สามารถ แจ้งเบาะแส ข้อมูลการกระทำความผิด ความคิดเห็น และเรื่องราวร้องทุกข์มายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทางจดหมาย ไปรษณียบัตร โทรศัพท์ โทรสาร หรือผ่านทางเว็บไซต์ www.dsi.go.th
 
ความหมายของเครื่องหมายราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ
 
                1. ธงชาติไทย  แสดงความเป็นไทยอย่างชัดเจน  เพื่อให้อารยประเทศได้ทราบว่าหน่วยงานนั้นเป็นหน่วยงานที่สังกัดรัฐบาลไทย
                2. ดาว 10 ดวง  ใต้ ธงชาติไทย  ดาวแต่ละดวงแสดงถึงสำนักต่างๆ ทั้ง 10 สำนัก ที่มีขอบเขตอำนาจหน้าที่  ปฏิบัติอยู่ในราชอาณาจักรทไย  อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงยุติธรรม              
                3. ตราชู  เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์กระทรวงยุติธรรม  ล้อมรอบด้วยช่อชัยพฤกษ์   หมายถึงความเชิดชู และดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมอย่างมีเกียรติศักดิ์
                4. DSI   เป็นคำย่อของหน่วยงานกรมสอบสวนคดีพิเศษ    เป็นภาษาอังกฤษว่า   DEPARTMENT OF SPECIAL INVESTIGATION
                5. สีน้ำเงิน สีเงิน และสีทอง  หมายถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย และโครงสร้างอันมั่นคง แข็งแรงและความรุ่งโรจน์ของสถาบัน
 
ที่ตั้ง
กรมสอบสวนคดีพิเศษ  เลขที่ 128   หมู่ 3  ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง  เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210 โทร. 0-2913-6789 , 0-2831-9888  โทรสาร 0-2913-7777  www.dsi.go.th 

ที่มา: http://talk.ict.in.th/26678

ที่มา: https://www.dsi.go.th/view.aspx?tid=T0000008

สัมภาษณ์ คุณสุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหญิงคนแรกของประเทศไทย

คุณรู้จักกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI)ดีแล้วหรือยัง?  (Department of Special Investigation)

เปิดใจ! อธิบดี DSI หญิงคนแรกของไทย แต่งตั้งเมื่อ 28 ต.ค. 2557

ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ ขอนำทุกท่านไปทำความรู้จักกับเธอ สุวณา สุวรรณจูฑะ หรือ พี่แป๋ว ผู้ใจดีของน้องๆ นักข่าว

นี่คือความในใจส่วนหนึ่งของ สุวณา สุวรรณจูฑะ หลังเข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษหญิงคนแรกของประเทศไทย 

(Q) คสช. มีสโลแกน "คืนความสุข" ส่วนสโลแกน ดีเอสไอ คือ...? 

(A) จริง ๆ แล้ว กรมสอบสวนคดีพิเศษมีสโลแกน "เกียรติศักดิ์ เชี่ยวชาญ ซื่อสัตย์" แต่ส่วนตัวของพี คิดว่าจะทำให้ความเป็นธรรมเกิดกับประชาชน หากในกรมฯ ยังไม่มีความเป็นธรรม แล้วจะมีกำลังใจทำงานให้ความเป็นธรรมกับประชาชนได้อย่างไร

(Q) ความเป็นผู้หญิงทำให้มีข้อได้เปรียบหรือเสียเปรียบกับงานด้านนี้หรือไม่

(A) ไม่ได้คิดความเป็นหญิงเป็นชาย มอบหมายงานมาก็ทำเต็มที่ "ตอนนี้สังคมมองดีเอสไอลักษณะเหมือนคนจมน้ำ ต้องช่วยกันแก้ปัญหา พี่มาทำงานตรงนี้รับประกันได้เลยว่า 1. ผลประโยชน์ไม่มี 2. ความเป็นธรรมสูง ให้ได้หมด การช่วยเหลือ การดูแล ต้องมีให้ ไม่ปล่อยให้ปัญหาคาราคาซัง คิดว่าถ้าเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ในกรมก็ต้องช่วยกัน" คงหลีกไม่พ้นม็อบกดดัน แม้เป็นหญิงแต่พร้อมรับ ยันไร้ใบสั่งทางการเมือง

(Q) การบ้านถือเป็นใบสั่งหรือไม่ 

(A) ไม่ใช่ใบสั่งเลย เป็นเรื่องที่ทางกรมฯ ต้องไปคิดเองว่าจะทำเรื่องอะไร ท่านไม่ได้ชี้ลงมาว่าควรทำเรื่องใด แต่ให้มาคิดกันเอง เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องทำกันเอง เพราะแต่ละฝ่ายต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ไม่ใช่ว่าใครจะเข้ามากำหนดได้

(Q) ที่บอกว่า ที่นี่เหมือนขาดอะไรไปบางอย่าง ตอนนี้พอทราบหรือยังว่าสิ่งที่ขาดคืออะไร

(A) "เราเองมีความเป็นแม่บ้านสูง ตอนไปดูการจัดระบบสำนักทั้งหลาย หากเป็นเราจะไม่จัดแบบนี้ เพราะในเชิงบริหาร หากจะออกแบบองค์กร ต้องออกแบบให้มีประสิทธิภาพ ตอนนี้ต้องยอมรับว่าหลังบ้านยังวุ่นวายอยู่ ก็ไม่คิดว่าจะสามารถแก้ได้ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่โตมาก แต่ตรงไหนต้องแก้ ก็ต้องแก้ เช่น เมื่อสักครู่ไปดูที่อาคารบี (ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ) ได้เห็นจุดอ่อน สมมติ สำนักทำคดี ที่สำนักงาน ก็ต้องมีแต่สำนักทำคดี จะมาอยู่กับหน่วยอื่นไม่ได้ เพราะการสอบสวนเป็นความลับจะมาเห็นคนเดินเข้าออกมาไม่ได้ เรื่องแบบนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับภาพลักษณ์ด้วย สมมติว่าพี่เป็นผู้ถูกกล่าวหา มาเจอพนักงานสอบสวน ก็ไม่เป็นไร แต่ไปเจอเจอคนอื่นนั่งอยู่ไม่ได้ อย่างเช่นคดีเด็ก ทำไมต้องมีห้องสอบปากคำเด็ก แม้แต่ผู้มาติดต่อก็ควรมีที่นั่งให้เหมาะสม แต่สำหรับที่นั่นดูแล้วยิ่งกว่าอีก คนที่จะมาเกี่ยวข้องกับคดีพิเศษ บางครั้งอาจเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ เราก็ต้องดูแลเขา เพราะเขาแค่ถูกกล่าวหา เราก็ควรมีห้องรับรองให้เขา เรื่องแบบนี้ ที่ผ่านมาไม่ได้มองกันเลย แต่ด้วยความเป็นผู้หญิง ก็เลยใส่ใจเรื่องแบบนี้"

(Q) นับจากนี้ต่อไป คดีการเมืองจะไม่มาถึงดีเอสไอแล้วใช่หรือไม่ 

(A) ส่วนตัวมองว่าทุกคดีจะต้องว่าไปตามรูปคดี จะแยกว่าเป็นการเมือง หรือไม่การเมือง คงลำบาก แต่พอมีความแตกแยกขึ้นมา จึงมีคนคิดว่าคดีนี้ต้องเป็นการเมือง พอใครเป็นฝ่ายค้านก็บอกว่านี่คือคดีการเมือง แต่ที่จริงแล้วเราควรจะว่าไปตามความจริง ต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำความผิด เราเองเป็นราชการมา เคยทำงานเกี่ยวกับศาล เพราะฉะนั้น เรื่องความเป็นธรรมถือเป็นเรื่องสูงสุด หากมาทำอะไรไม่เป็นธรรม ในฐานะอธิบดีก็รับไม่ได้ คิดว่าผู้ใหญ่ก็ต้องเข้าใจ ความแตกแยกจะลดลงได้ก็ต่อเมื่อทุกคนต้องได้รับความเป็นธรรมที่ควรจะได้ แต่จะมาเอาประโยชน์สูงสุดของตัวเองก็ไม่ได้ เช่นกัน ทุกฝ่ายต้องวิน-วิน

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/460322

อ่านประวัติอธิบดีหญิงคนแรกได้ที่ http://hilight.kapook.com/view/110379

ขอบคุณภาพจากwww.google.com

แชร์