ภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก ในปี 2549 จบไปนานแล้ว รัฐจะย้อนเก็บใหม่ได้หรือ?

การเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เมื่อปี 2549 เป็นคดีความยืดเยื้อมานานกว่า 10 ปี และมีแนวโน้มว่าคดีจะหมดอายุความ แต่รัฐได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง ท่ามกลางข้อสงสัยเรื่องการใช้อภินิหารกฎหมายในการเรียกเก็บภาษี http://winne.ws/n14148

1.1 พัน ผู้เข้าชม
ภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก ในปี 2549 จบไปนานแล้ว รัฐจะย้อนเก็บใหม่ได้หรือ?

การเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป ให้แก่กลุ่มเทมาเส็ก เมื่อปี 2549 เป็นคดีความยืดเยื้อมานานกว่า 10 ปี และมีแนวโน้มว่าคดีจะหมดอายุความ แต่รัฐบาลได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง ท่ามกลางข้อสงสัยเรื่องการใช้อภินิหารกฎหมายในการเรียกเก็บภาษี 

ความพยายามเรียกเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ชินคอร์ป ในเวลานี้  เกิดขึ้นภายหลัง นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ชินวัตร บุตรชายและบุตรสาว ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร นำหุ้นชินคอร์ป  ที่ซื้อมาจากบริษัท แอมเพิลริช อินเวสเมนต์ จำนวน 329.2 ล้านหุ้น ในราคาหุ้นละ 1 บาท มาขายต่อให้กลุ่มเทมาเส็ก ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท  วงเงินรวมกว่า 69,722 ล้านบาท  เมื่อวันที่ 23 มกราคม ปี 2549      

ซึ่งเป็นการขายผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ   ส่วนต่างกำไรจากการซื้อขายหุ้น ที่หุ้นละ 48.25 บาท จึงไม่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย  แต่กรมสรรพากรขณะนั้น เห็นว่า การซื้อหุ้นชินคอร์ป มาจากแอมเพิลริช ราคาหุ้นละ 1 บาท  เป็นการซื้อนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ  ถือเป็นเงินได้พึงประเมินในปีภาษี 2549 แต่บุคคลดังกล่าว ไม่นำเงินได้ส่วนนี้ มายื่นแบบเสียภาษี  กรมสรรพากร จึงประเมินเมื่อกลางปี 2550 ว่า บุคคลทั้งสอง  ต้องเสียภาษีพร้อมเบี้ยปรับ รวมเป็นเงินกว่า 11,300 ล้านบาท      

นำมาสู่การต่อสู้ในชั้นศาล  จนวันที่ 23 ธันวาคมปี 2553  ศาลภาษีอากรกลาง  มีคำพิพากษาว่า นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์หุ้นชินคอร์ป  เป็นเพียงผู้ถือหุ้นแทนเจ้าของหุ้นตัวจริง  คือ ดร.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร  โดยยึดคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในคดีที่ ดร.ทักษิณ ร่ำรวยผิดปกติ และสั่งยึดทรัพย์กว่า 4 หมื่น 6 พันล้านบาท  ผลจากคำสั่งของศาลภาษีอากรกลาง ทำให้นายพานทองแท้ และนางสาวพินทองทา ไม่ต้องเสียภาษี  

กรณีนี้ ทำให้เกิดการตีความว่า ภาษีที่เรียกเก็บครั้งนี้ จะเก็บจาก ดร.ทักษิณ หรือ บุตร เพราะคำตัดสินคดียึดทรัพย์ ระบุชัดว่า เจ้าของที่แท้จริง คือ ดร.ทักษิณ  รัฐบาล จึงหยิบเรื่องนี้มาพิจารณาอีกครั้ง  และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ได้ทำหนังสือแจ้งเตือนกรมสรรพากร ให้เรียกเก็บภาษีเงินได้จากการขายหุ้นชินคอร์ป ก่อนคดีจะขาดอายุความ ในวันที่ 31 มีนาคมนี้(60)       

แต่หนังสือของ สตง. กลับมีประเด็นที่ว่า กรมสรรพากร จะเรียกเก็บภาษีได้หรือไม่  ในเมื่ออายุความหมดไปตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2555 และไม่สามารถขยายอายุการประเมินภาษี ตามมาตรา 3 อัฎฐ แห่งประมวลรัษฎากร ได้ เพราะการขยายอายุการประเมินภาษี ต้องเป็นคุณแก่ผู้เสียภาษี เท่านั้น 

ขณะเดียวกัน กรมสรรพากร ไม่สามารถขยายเวลาออกหมายเรียก ดร.ทักษิณ มาไต่สวนเพื่อประเมินภาษีได้  เพราะประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ระบุว่า อธิบดีกรมสรรพากร มีอำนาจออกจดหมายเรียกผู้เสียภาษีมาไต่สวนได้ภายใน 5 ปี ซึ่งอายุความจบไปแล้ว ขณะนี้ จึงมีความพยายามใช้ช่องทางกฎหมาย โดยอาศัยมาตรา 61 ประมวลรัษฎากร รวมถึงประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 820 และ 821 เข้ามาดำเนินการเรียกเก็บภาษี แทน           

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://news.voicetv.co.th/business/473358.html

แชร์