4 เหตุผลที่กาตาร์ถูกเพื่อนบ้านตัดความสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน และอียิปต์ ดำเนินมาถึงจุดต่ำสุด หลังจากทั้งสี่ประเทศตัดสินใจตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ ชาติเพื่อนบ้านเหล่านี้ยังสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลกาตาร์ http://winne.ws/n16214

1.2 พัน ผู้เข้าชม

รัฐบาลกาตาร์ระบุว่าเชื่อว่าการตัดสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น "ไม่มีความชอบธรรม"

ความสัมพันธ์ระหว่างซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ บาห์เรน และอียิปต์ ดำเนินมาถึงจุดต่ำสุด หลังจากทั้งสี่ประเทศตัดสินใจตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับกาตาร์ ชาติเพื่อนบ้านเหล่านี้ยังสร้างแรงกดดันให้กับรัฐบาลกาตาร์เพิ่มด้วยการปิดพรมแดนที่อยู่ติดกัน ขณะที่อียิปต์สั่งปิดน่านฟ้าและท่าเรือที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อกับกาตาร์ทุกทาง ในเวลาเดียวกันเยเมนและลิเบียก็ประกาศตัดสัมพันธ์กับกาตาร์ด้วย

6 ชาติตะวันออกกลาง ประกาศตัดความสัมพันธ์กาตาร์

4 เหตุผลที่กาตาร์ถูกเพื่อนบ้านตัดความสัมพันธ์

อามีร์ ราวาช ผู้สื่อข่าวบีบีซีรายงานว่าเหตุผลหลัก ๆ ที่อยู่เบื้องหลังวิกฤตทางการทูตครั้งนี้ ได้แก่

1.กลุ่มภราดรภาพมุสลิม

กาตาร์และสมาชิกกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับสนับสนุนฝ่ายตรงข้ามในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังเหตุการณ์อาหรับสปริง

ตัดสัมพันธ์กาตาร์: 

ระส่ำตั้งแต่อาหาร การบิน ยันฟุตบอลโลก

6 ชาติตะวันออกกลาง ประกาศตัดความสัมพันธ์กาตาร์

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับกาตาร์

กาตาร์ถูกมองว่าเป็นฝ่ายหนุนหลังกลุ่มอิสลามที่ได้รับผลประโยชน์ทางการเมืองจากบางประเทศ มีกรณีตัวอย่าง เช่น หลังจากนายโมฮัมเหม็ด มอร์ซี อดีตประธานาธิบดีอียิปต์ อดีตแกนนำกลุ่มภราดรภาพมุสลิม ถูกขับออกจากตำแหน่งในปี 2013 กาตาร์ก็กลายเป็นเวทีของสมาชิกกลุ่มที่รัฐบาลอียิปต์ไม่ยอมรับนี้ ขณะที่ซาอุดีอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตราหน้ากลุ่มภราดรภาพมุสลิมว่าเป็นองค์กร "ก่อการร้าย"

ประธานาธิบดีทรัมป์ของสหรัฐฯ พบกับประธานาธิบดีซีซีของอียิปต์ และพระราชาธิบดีซัลมานแห่งซาอุ ฯ ในซาอุดีอาระเบียเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน

4 เหตุผลที่กาตาร์ถูกเพื่อนบ้านตัดความสัมพันธ์

สำนักข่าวซาอุดี เพรส ของทางการซาอุฯ เผยแพร่แถลงการณ์ ซึ่งมีเนื้อความกล่าวหากาตาร์ว่า "ยอมรับกลุ่มก่อการร้ายและนิกายต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มภราดรภาพมุสลิม กลุ่มแดช (ไอซิส) และอัลไคดา ที่ต้องการทำลายความมั่นคงในภูมิภาค"

อย่างไรก็ดี รัฐมนตรีต่างประเทศกาตาร์ ระบุในแถลงการณ์ว่ามาตรการที่ซาอุฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และบาห์เรนดำเนินการนั้น "ไม่สมเหตุสมผลและตั้งอยู่บนข้อกล่าวหาที่ปราศจากมูลความจริง" แถลงการณ์ยังย้ำด้วยว่า กาตาร์นั้น "ยึดมั่นในกฎบัตรของกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ และเดินหน้าต่อสู้กับแนวคิดสุดโต่งและการก่อการร้าย"

2.ท่าทีต่ออิหร่าน

วิกฤตรอบล่าสุดมีต้นตอจากรายงานที่อ้างว่าเป็นข้อคิดเห็นของชีค ทามิม บิน ฮาเหม็ด อัล-ทานี เจ้าผู้ปกครองกาตาร์ ที่ทรงวิจารณ์สหรัฐฯ ว่า "มุ่งร้าย" ต่ออิหร่าน แต่กาตาร์ระบุว่ากลุ่มแฮคเกอร์อยู่เบื้องหลังการนำเนื้อหาข้อคิดเห็นดังกล่าวมาเผยแพร่ทางสำนักข่าวของกาตาร์เอง

    ซาอุดีอาระเบียเป็นคู่ปรับสำคัญของอิหร่าน และไม่ต้องการให้อิหร่านก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในภูมิภาค ซาอุฯ ออกแถลงการณ์กล่าวหากาตาร์ว่า "สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มก่อการร้ายที่อิหร่านหนุนหลังในเมืองคาทิฟ ทางตะวันออกของซาอุฯ ซึ่งคนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายชีอะห์ กาตาร์ยังถูกกล่าวหาว่าสนับสนุนกลุ่มกบฏฮูธีในเยเมน ข้อกล่าวหาทั้งหมดนี้ กาตาร์ปฏิเสธว่าไม่เคยแทรกแซงกิจการภายในของชาติได้

6 ชาติตะวันออกกลาง ประกาศตัดความสัมพันธ์กาตาร์

4 เหตุผลที่กาตาร์ถูกเพื่อนบ้านตัดความสัมพันธ์

3.ความขัดแย้งในเขตปกครองด้านตะวันออกของลิเบีย

นับตั้งแต่นายมูอัมมาร์ กัดดาฟี ถูกขับออกจากตำแหน่งและถูกสังหารเมื่อปี 2011 เขตปกครองด้านตะวันออกของลิเบียตกอยู่ในสภาพระส่ำระสาย พล.อ.คาลิฟา ฮัฟตาร์ ผู้บัญชาการกองทัพเขตปกครองด้านตะวันออกของลิเบีย ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากอียิปต์และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวหากาตาร์ว่า "สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย" โดย พล.อ.ฮัฟตาร์ เป็นพันธมิตรกับฝ่ายรัฐบาลในเมืองโทบรุค ขณะที่กาตาร์สนับสนุนฝ่ายต่อต้านในเมืองทริโปลี

รัฐกาตาร์

เมืองหลวง: กรุงโดฮา

ประชากร 2.7 ล้านคน

พื้นที่ 11,437 ตร.กม.

ภาษาหลัก อาหรับ

ศาสนาหลัก อิสลาม

อายุขัย 79 ปี (ชาย), 78 ปี (หญิง)

สกุลเงิน ริยาล

ที่มา: UN, World Bank, MDPS

4.ถล่มด้วยสื่อ

ซาอุดีอาระเบียระบุชัดในแถลงการณ์ที่ออกมาในวันนี้ (5 มิ.ย.2017) ว่ากาตาร์ใช้สื่อเป็นเครื่องมือปลุกระดม สื่อของกาตาร์เปิดพื้นที่เป็นเวทีให้กลุ่มภารดรภาพมุสลิม อย่างไรก็ดี กาตาร์เองแย้งว่ามีความพยายามยุยงโดยใช้ข้อกล่าวหาที่กุขึ้น กระทรวงต่างประเทศกาตาร์กล่าวในแถลงการณ์ว่าการรณรงค์(ต่อต้านกาตาร์) ผ่านสื่อไม่สามารถเปลี่ยนแปลง ทัศนคติของสาธารณชนที่มีต่อภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาติในอ่าวเปอร์เชียร์ได้ และนี่คือเหตุผลที่ยังคงมีการปลุกกระแสกันอยู่ต่อไป


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

http://www.bbc.com/thai/international-40161395?ocid=socialflow_facebook

แชร์