“โรคไม่รู้จักความลำบาก” เชื้อโรคคือ สมาร์ทโฟน และ แทปเล็ต

เคยสงสัยบ้างไหม..ว่าทำไม เด็กสมัยนี้ ไม่ค่อยอดทนกับสิ่งใด เลย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิต ทุกวันนี้เราเห็นเด็กถือแต่สมาร์ทโฟน ไอแพดไว้เล่นเกม ครอบครัวเองก็เลี้ยงลูกตามใจ จึงทำให้เด็กไทยมีโรคใหม่ติดตัวที่ชื่อว่า “โรคไม่รู้จักความลำบาก” http://winne.ws/n11172

3.1 พัน ผู้เข้าชม
“โรคไม่รู้จักความลำบาก” เชื้อโรคคือ สมาร์ทโฟน และ แทปเล็ตขอขอบคุณภาพจาก HealthyGamer

อ่านจบแล้วอย่าเก็บไว้คนเดียว โรคไม่รู้จักความลำบาก ถึงเวลาพ่อแม่ต้องสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูก

เคยสงสัยบ้างไหม..ว่าทำไม เด็กสมัยนี้ ไม่ค่อยอดทนกับสิ่งใด เลย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยในชีวิต ทุกวันนี้เราเห็นเด็กถือแต่สมาร์ทโฟน ไอแพดไว้เล่นเกม ครอบครัวเองก็เลี้ยงลูกตามใจ จึงทำให้เด็กไทยมีโรคใหม่ติดตัวที่ชื่อว่า “โรคไม่รู้จักความลำบาก”

บทความจาก FB Basic-Skill for young children พูดถึง “โรคไม่รู้จักความลำบาก” เป็นโรคใหม่ที่เกิดขึ้นสำหรับเด็กๆ และจะกลายเป็นปัญหาต่อการเติบโต หากพ่อแม่ไม่ได้เลือกสร้างภูมิคุ้มกันของความลำบากให้ลูก ไม่เลือกให้ลูกได้ออกไปพบเจอโลกของความจริงที่ว่า ชีวิตแม้ว่าจะรวยหรือจนก็ไม่มีใครสบายได้ตลอดไป ต้องมีความลำบาก ความทุกข์ เกิดขึ้นปะปนกัน โดยสาเหตุที่เด็กถึงเป็นโรคไม่รู้จักความลำบาก

1.มีเทคโนโลยีครอบงำ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างการใช้สมาร์ทโฟน แทปเล็ต ได้กลายมาเป็นสื่อที่มีบทบาทกับเด็ก ๆ ตั้งแต่ตัวเล็กในยุคดิจิตอล และมีอิทธิพลมากขึ้นกว่าในสมัยก่อน ซึ่งมีให้เลือกหลายแบบ หลายราคาที่จับต้องได้ ทำให้พ่อแม่ยุคใหม่หยิบยื่นให้ลูกใช้ง่าย ๆ ทั้งๆ ที่ยังไม่ถึงเวลาอันสมควร และไม่พยายามปฏิเสธหรือเบี่ยงเบนความสนใจให้ลูกไปทำกิจกรรมอย่างอื่น

2.อยากให้ลูกสบายเป็นผลทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัว

การมีพี่เลี้ยงไว้คอยดูแลลูกน้อย เพื่อแบ่งเบาภาระหน้าที่อันเหนื่อยหนักของพ่อแม่ โดยไม่ยอมสอนลูกให้ลองทำอะไรด้วยตัวเอง จนลูกไม่สามารถทำอะไรเป็นได้ เมื่อเติบโตขึ้นในสังคม เช่น เริ่มต้นเข้าโรงเรียนก็จะกลายเป็นภาระให้กับบุคคลรอบข้างที่ต้องคอยช่วยเหลือ

3.ปกป้องลูกมากเกินไป

เพราะความกังวลเกรงว่าจะเกิดอันตรายกับลูกรัก จึงไม่หาโอกาสพาลูกออกไปเปิดประสบการณ์ต่อโลกภายนอก และจำกัดที่ทางให้ลูกอยู่ภายใน comfort zone ยอมให้ลูกนั่งดูทีวี เปิดยูทูป เล่นเกมในไอแพด ซึ่งเป็นการปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้กับสังคมภายนอก และไม่รู้จักกับการแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนดีกับคนไม่ดี ขาดการสังเกตและเรียนรู้

4.ไม่ยอมปล่อยให้ลูกลำบาก เพราะพ่อแม่เคยลำบากมาก่อน

เพราะไม่อยากให้ลูกมีชีวิตเหมือนที่ตนเองเคยเป็นมาก่อน พอฐานะดีขึ้นจึงส่งเสริมและเลี้ยงลูกด้วยวัตถุ เงินทอง ฯลฯ เหล่านี้จะทำให้เด็กกลายเป็นคนขาดความอดทน ไม่มีความมั่นคงในจิตใจ อ่อนแอ และแข็งกระด้าง

5.การใช้ชีวิตติดรูปแบบจากอิทธิพลของสื่อ

ด้วยเทคโนโลยีที่เข้าถึงอย่างรวดเร็ว และมีการนำเสนอรูปแบบการใช้ชีวิตที่ดูสวยหรูผ่านสื่อทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ หรือสื่อออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ มีการโชว์และแชร์ถ่ายภาพ อวดของหรู ชูของสวย ด้วยอิทธิพลของสื่อเองและการเลี้ยงลูกแบบตามใจมาก่อน ทำให้เด็กเกิดความอยากได้อยากมีตามกระแสสังคม

ดังนั้น การเลือกสอนให้ลูกรู้จักกับความลำบาก ฝึกลูกให้มีหน้าที่รับผิดชอบ รู้การแบ่งปัน การให้ และเรียนรู้ หรือพยายามทำด้วยตัวเองได้ตั้งแต่เด็กย่อมเป็นสิ่งที่ดี

“โรคไม่รู้จักความลำบาก” เชื้อโรคคือ สมาร์ทโฟน และ แทปเล็ตขอขอบคุณภาพจาก คน นคร ด อ ท คอม
“โรคไม่รู้จักความลำบาก” เชื้อโรคคือ สมาร์ทโฟน และ แทปเล็ต

คำแนะสำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะดูแลเยาวชนในการใช้สื่อเทคโนโลยี

จำง่าย ๆ ใช้หลัก 2 ว 2 น

ว.ที่ 1 คือ วัย      #.. อายุน้อยกว่า 2 ปี ไม่ควรใช้สื่ออิเล็กทรอนิกทุกชนิด

                                #.. อายุน้อยกว่า 6 ปี ไม่ควรใช้อินเตอร์เน็ต                

                                #.. อายุน้อยกว่า 13 ปี ไม่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ทุกชนิด

ว.ที่ 2 คือ เวลา

                                #.. แม้อายุเด็กเกินกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว แต่ก็ควรจำกัดการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ได้ไม่เกิน 2 ชั่วโมงต่อวัน  โดยเฉพาะใช้เพื่อความบันเทิง เล่นเกมส์ เล่นอินเตอร์เน็ต หากเล่นเพื่อการศึกษาให้ผู้ใหญ่พิจารณาตามความเหมะสม

                                #.. แนะนำการใช้ให้เหมาะสมกับเวลา  งดการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเวลานอน หรือเวลารับประทานอาหาร รวมทั้งไม่ใช้ในขณะทำกิจกรรมอื่น เช่น ใช้ถนน หรือ ขับขี่ ซึ่งอาจเกิดอันตรายได้

                               #.. วางโทรศัพท์ หรือคอมพิวเตอร์ในพื้นที่ส่วนกลางของบ้าน ไม่วางในห้องนอนหรือที่ลับตา  หาเวลาและกิจกรรมสร้างสรรค์ร่วมกันในครอบครัว เช่นการทำกิจกรรม หรือ ไปเที่ยวนอกบ้าน นอกเหนือการสื่ออิเล็กทรอนิกส์

“โรคไม่รู้จักความลำบาก” เชื้อโรคคือ สมาร์ทโฟน และ แทปเล็ต

และอีก 2 น

น.ที่ 1 คือ เนื้อหา

                  #.. ผู้ปกครองควรทราบเนื้อหารายการ เกมส์ website และ Application ที่ลูกใช้

                  #.. ควบคุมการใช้สื่อที่มีความรุนแรง  ยาเสพติด หรือเนื้อหาทางเพศที่ไม่เหมาะสมกับวัย หากเป็นรายการทางโทรทัศน์สามารถเลือกรายการ ตามการจัดระดับความเหมาะสมตามวัยดังรูป

                 #.. ติดตั้งโปรแกรมติดตามการใช้อินเตอร์เน็ตและขัดขวางการเข้าใช้เวปไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น โปรแกรม ICT Housekeeper ของกระทรวงICT  โปรแกรม Gamer Guard ของกระทรวงวัฒนธรรม และโปรแกรมใส่ใจ เป็นต้น

น. ที่ 2 คือแนะนำ 

                 #.. ร่วมกันกำหนดกติกากับเด็ก เกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในเรื่องระยะเวลาที่ใช้และเนื้อหาต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มใช้

                #.. ผู้ปกครองควรร่วมใช้สื่อต่าง ๆเหล่านี้ ร่วมกับเด็ก และคอยให้คำแนะนำเด็ก หากพบรายการที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

                 #.. เป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 

                                                             .............................................


ที่มา : บทความจาก FB Basic-Skill for young children

คุณอมรินทร์ บุพศิริ, ชมรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กแห่งประเทศไทย

lineกลุ่ม : คนดี

http://www.healthygamer.net/information/article/153652

แชร์