จากผลวิจัย"ผงโกโก้" เป็นอันดับ 1 อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ควบคุมความดันเลือด ลดเสี่ยงโรคหัวใจ

จากผลวิจัย"ผงโกโก้" เป็นอันดับ 1 ของอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ควบคุมความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ http://winne.ws/n14768

9.7 พัน ผู้เข้าชม

ผงโกโก้บริสุทธิ์ ไม่เติมนมเติมน้ำตาลเป็นยานะคะ

จากผลวิจัย"ผงโกโก้" เป็นอันดับ 1 อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ควบคุมความดันเลือด ลดเสี่ยงโรคหัวใจ

"ผงโกโก้" เป็นอันดับ 1 ของอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ควบคุมความดันโลหิต ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ 

โพแทสเซียมเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้การทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายเป็นปกติ เช่น ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โพแทสเซียมช่วยควบคุมสมดุลของอิเล็กโตรไลต์และสมดุลของกรด-ด่างในร่างกาย ป้องกันภาวะกรดเกิน (Hyperacidity) และยังช่วยควบคุมความดันโลหิตที่สูงและลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดอีกด้วย

มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่ระบุว่าในกลุ่มประชากรที่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่สูงมีค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตและอัตราการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ต่ำกว่ากลุ่มประชากรที่ได้รับโพแทสเซียมจากอาหารในปริมาณที่น้อย และยังพบว่าการได้รับโพแทสเซียมจากอาหารอย่างเพียงพอ มีผลช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคเรื้อรังชนิดอื่น ๆ โดยในงานวิจัยของ Ascherio และคณะ ได้รายงานว่าสามารถลดความเสี่ยงของภาวะอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง (Stroke) ได้ถึง 30%

ในคนปกติที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป ควรได้รับโพแทสเซียมในปริมาณ 4.7 กรัมต่อวัน (ข้อมูลจาก Food and Nutrition Board, Institute of Medicine) ปัจจุบันคนส่วนใหญ่ยังได้รับปริมาณโพแทสเซียมต่ำกว่าปริมาณที่แนะนำ ซึ่งการที่จะทำให้ได้รับโพแทสเซียมอย่างเพียงพอในแต่ละวันนั้นทำได้ไม่ยาก เพราะโพแทสเซียมมีอยู่มากในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ผัก ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำหรือไม่มีไขมันเลย ถั่วต่าง ๆ และธัญพืช

10 อันดับที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูง

1 ผงโกโก้ ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ(โพแทสเซียม) 1.5 กรัม

2 ลูกพรุน(อบแห้ง)ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 1.1 กรัม

3 ลูกเกด ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 892 มิลลิกรัม

4 เมล็ดทานตะวัน ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 850 มิลลิกรัม

5 อินทผาลัม ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 696 มิลลิกรัม

6 ปลาแซลมอน ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 628 มิลลิกรัม

7 ผักโขม (สด) ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 558 มิลลิกรัม

8 เห็ด ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 484 มิลลิกรัม

9 กล้วย ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 358 มิลลิกรัม

10 ส้ม ขนาดบริโภค 100 กรัม ปริมาณ 181 มิลลิกรัม

จะเห็นได้ว่าเราสามารถเลือกรับประทานอาหารได้หลากชนิดเพื่อให้ได้รับโพแทสเซียมในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แต่ทั้งนี้ เราควรบริโภคอาหารอย่างถูกหลักโภชนาการ โดยคำนึงถึงปริมาณน้ำตาล ไขมัน คอเลสเตอรอล ฯลฯ ที่มีอยู่ในอาหารด้วย เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ และเพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง

*** ข้อควรระวัง! บางคนไม่เหมาะกับอาหารโพแทสเซียมสูง

แม้ว่าการที่ร่างกายเราได้รับโพแทสเซียมอย่างเพียงพอจะเป็นประโยชน์หลายอย่างต่อสุขภาพ แต่ยังมีข้อควรระวังในผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ มีความบกพร่องในการขจัดโพแทสเซียมออกจากร่างกาย เช่น ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง เบาหวานและภาวะหัวใจล้มเหลว ควรได้รับโพแทสเซียมน้อยกว่า 4.7 กรัมต่อวัน

* โดยปริมาณที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละคนนั้น ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ประจำตัวจะดีที่สุด เพื่อป้องกันภาวะ การมีโพแทสเซียมมากเกินไป (Hyperkalemia) ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

อ่านเพิ่มเติมได้ที่

https://medthai.com/%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B9%89/


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

www.facebook.com/pages/ชีวอโรคยา/135957369811772

www.google.co.th

แชร์