ไหหิน ที่ทุ่งไหหิน ในลาว ต้นแบบโกศศพในไทย

ไหหิน เชื่อว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นใส่กระดูกคนตาย และเครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีศพครั้งที่ 2 ราว 2,500 ปีมาแล้ว เพราะข้างในกลวงเหมือนไหใส่ของ (ใช้เครื่องมือเหล็กเจาะคว้านแท่งหิน) http://winne.ws/n1603

1.7 พัน ผู้เข้าชม
ไหหิน ที่ทุ่งไหหิน ในลาว ต้นแบบโกศศพในไทย

ไหหิน เชื่อว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นใส่กระดูกคนตาย และเครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีศพครั้งที่ 2 ราว 2,500 ปีมาแล้ว เพราะข้างในกลวงเหมือนไหใส่ของ (ใช้เครื่องมือเหล็กเจาะคว้านแท่งหิน)

ไหหิน ที่ทุ่งไหหิน เมืองโพนสะหวัน แขวงเชียงขวางในลาว ชาวกัมมุ (ขมุ) เรียก ไหเจือง หรือไหเหล้าเจือง

เจือง (ลาวเรียกท้าวฮุ่ง) วีรบุรุษลุ่มน้ำโขง มีตำนานว่าเกิดเมืองพะเยา (จ. พะเยา) แล้วเป็นกษัตริย์ครองเมืองพะเยา

ต่อมาแผ่อำนาจข้ามแม่น้ำโขงจะไปรบเมืองแกวปะกัน (ในเวียดนาม) เมื่อถึงทุ่งราบ (โพนสะหวัน) ก็พักไพร่พลกินเหล้าไห (คือ เหล้าอุ ทำจากข้าวเหนียวหมักในไห)

บรรดาไหเหล้าทิ้งไว้นานไปกลายเป็นหิน เรียกไหหิน, ไหเจือง, ไหเหล้าเจือง

วีรกรรมของเจืองเป็นที่รับรู้แล้วยกย่องทั่วไปทุกชาติพันธุ์ มีกวีลุ่มน้ำโขงแต่งโคลงลาวมหากาพย์ชื่อท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง ยาวเกือบ 5,000 บท (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2548)

ทายาทสายตระกูลเจืองสืบต่อมา คือ พระเพื่อน พระแพง (ในวรรณกรรมเรื่องพระลอ)

โกศหินใส่กระดูกคน

ไหหิน เชื่อว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้นใส่กระดูกคนตาย และเครื่องมือเครื่องใช้ในพิธีศพครั้งที่ 2 ราว 2,500 ปีมาแล้ว เพราะข้างในกลวงเหมือนไหใส่ของ (ใช้เครื่องมือเหล็กเจาะคว้านแท่งหิน)

เชื่อกันอีกว่าไหหินเสมือนหม้อหินใส่กระดูกคนตาย หรือโกศหิน เป็นต้นแบบโกศทุกวันนี้

มีเอกสารสมัย ร.5 พ.ศ. 2427 ชาวอังกฤษสำรวจในไหหินพบกระดูกคน กับเครื่องมือสำริด และเหล็ก ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้ในศิลปวัฒนธรรม (ฉบับธันวาคม 2538 หน้า 106-117)

เจ้าของวัฒนธรรมไหหิน ได้แก่บรรพชนคนอาเซียน (อุษาคเนย์) ซึ่งมีไทยอยู่ด้วย

มีผู้ปริ๊นต์ข้อความจากเฟซบุ๊กศิลปวัฒนธรรม เรื่องโครงกระดูกมนุษย์ที่ทุ่งไหหินในลาว จะยกมาให้อ่านดังนี้

พบโครงกระดูกมนุษย์จำนวนมากใน “ทุ่งไหหิน” ประเทศลาว

ทีมนักวิจัยของออสเตรเลีย และลาวได้พบโครงกระดูกมนุษย์บริเวณทุ่งไหหินซึ่งเชื่อว่าน่าจะมีอายุย้อนไปถึงยุคเหล็กเมื่อกว่า 2,500 ปีก่อน ทั้งนี้จากรายงานของ Voice of America เมื่อวันที่ 21 มีนาคม ที่ผ่านมา

ทุ่งไหหินตั้งอยู่ในแขวงเชียงขวางตอนกลางของประเทศลาว ซากไหเหล่านี้ยังคงมีปริศนามากมายที่นักโบราณคดียังหาคำตอบไม่ได้ นับแต่การค้นพบพื้นที่แห่งนี้ในในช่วงทศวรรษ 1930 และการศึกษาวิจัยก็ต้องพบกับอุปสรรคสำคัญคือกับระเบิดที่ถูกวางไว้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970

ถึงปัจจุบัน นักโบราณคดียังมีความรู้เกี่ยวกับกลุ่มชนที่ทำไหขนาดยักษ์เหล่านี้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากยังไม่เคยค้นพบเบาะแสเกี่ยวกับผู้คนที่เชื่อมโยงกับไหหินเหล่านี้ จนกระทั่งมีการค้นพบโครงกระดูกในครั้งนี้

“เราพบหลุมศพ 7 แห่ง และจุดที่น่าจะเป็นหลุมศพอีก 4 จุดพร้อมไหเซรามิก” ดูกัลด์ โอเรียลลี (Dougald Oreilly) นักโบราณคดีจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าว

โอเรียลลีกล่าวว่า มีการคาดหมายว่า ทุ่งไหหินในลาวอาจมีความเชื่อมโยงกับทุ่งไหหินลักษณะคล้ายๆ กันในรัฐอัสสัม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

แชร์