ข้อคิดจากแม่น้ำคงคาเส้นเลือดใหญ่ของอินเดีย กับกรณีแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย

ตามความเชื่อของชาวฮินดู แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ และชาวอินเดียจำนวนมากเชื่อว่า การชำระล้างร่างกายด้วยแม่น้ำคงคา เป็นการทำให้ตนเองปราศจากบาป ทำให้มีคนจำนวนมากใช้แม่น้ำคงคาในการอุปโภคบริโภค ทั้งอาบน้ำ http://winne.ws/n17041

4.2 พัน ผู้เข้าชม
ข้อคิดจากแม่น้ำคงคาเส้นเลือดใหญ่ของอินเดีย กับกรณีแม่น้ำเจ้าพระยาของไทยแหล่งภาพจาก โพสต์ทูเดย์

แม่น้ำคงคา เส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงชาวอินเดีย กำลังประสบปัญหามีสารปนเปื้อนและถูกใช้มากเกินไป ถึงแม้ว่ารัฐบาลอินเดียได้วางโครงการต่าง ๆ เพื่อที่จะอนุรักษ์แม่น้ำคงคามานานหลายทศวรรษ ขณะที่แม่น้ำเจ้าพระยา ประสบปัญหาสารพิษปนเปื้อนเช่นเดียวกัน

แม่น้ำคงคา ซึ่งมีความยาวกว่า 2,500 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู โดยไหลลงจากเทือกเขาหิมาลัยซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ ผ่านพื้นที่ทางเหนือของอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่น ทำให้แม่น้ำคงคาถูกสูบไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคจำนวนมาก 

นอกจากนี้ แม่น้ำคงคา ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประชากรอินเดียราว 400 ล้านคน ยังไหลผ่านเมืองที่เป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยสำนักข่าวแชนแนลนิวส์เอเชียของสิงคโปร์รายงานว่า ในเมืองคานปูร์ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ของรัฐอุตรประเทศและเป็นที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก แม่น้ำคงคาถูกพบว่ามีสีเทาและสีแดงในบางพื้นที่ และมีฟองลอยบนผิวน้ำ  

ตามความเชื่อของชาวฮินดู แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ และชาวอินเดียจำนวนมากเชื่อว่า การชำระล้างร่างกายด้วยแม่น้ำคงคา เป็นการทำให้ตนเองปราศจากบาป ทำให้มีคนจำนวนมากใช้แม่น้ำคงคาในการอุปโภคบริโภค ทั้งอาบน้ำ แปรงฟัน รวมถึงนำศพไปลอยในแม่น้ำคงคา ทำให้แม่น้ำคงคาถูกเรียกว่าเป็นแม่น้ำที่สกปรกที่สุดในโลก

ก่อนหน้านี้ นายนเรนทรา โมดิ นายกรัฐมนตรีของอินเดีย ได้ประกาศว่า จะสร้างโรงงานบำบัดน้ำเสียมากขึ้น  และนำโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ ออกไปจากบริเวณแม่น้ำมากขึ้น โดยใช้งบประมาณทำความสะอาดแม่น้ำกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ของรัฐบาล ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ 

กรณีของแม่น้ำคงคา เป็นกรณีศึกษาแก่แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ถึงแม้อาจจะมีความยาวไม่เท่าแม่น้ำคงคา เพียง 372 กิโลเมตร แต่แม่น้ำเจ้าพระยาก็เป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประชาชนในหลายจังหวัด 

อย่างไรก็ตาม แม่น้ำเจ้าพระยาประสบปัญหาสารพิษปนเปื้อนจำนวนมาก โดยจากการรายงานของกรีนพีซในปี 2010 ที่เปิดเผยสารเคมีอันตรายปนเปื้อนในน้ำและตะกอนดิน ในคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง พบโลหะหนักและสารเคมีอันตรายจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น สารโนนิลฟีนอลและ 2-เนฟทาลีนาทมีน ซึ่งเป็นพิษและยากที่จะกำจัดออกจากสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังพบโลหะหนักอย่างทองแดง ตะกั่ว แมงกานีส นิกเกิล และสังกะสี มีค่าเกินมาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินของไทยประมาณ 3-8 เท่าอีกด้วย

ที่มา: http://news.voicetv.co.th/world/506173.html

แชร์