"รักษา บันดาล"เทศกาลที่ชายใดมีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือหมายความว่า"เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย".

เทศกาลรักษาบันดาล หรือราคี ของชาวฮินดูที่เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชายกับน้องสาว ในวันเพ็ญแห่งเดือนศรวณะ ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 24 สิงหาคม วันนี้จึงถือว่าเป็นวันสำคัญที่เฉลิมฉลองกันทั่วอินเดีย เพื่อแสดงออกถึงความรักความผูกพันระหว่างพี่ชายและน้องสาว http://winne.ws/n17770

4.8 พัน ผู้เข้าชม

เทศกาลรักษาบันดาล (Raksha Bandhan) บ้างก็เรียกว่า ราคี (Rakhi) เป็นเทศกาลของชาวฮินดูที่เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชายกับน้องสาว

"รักษา บันดาล"เทศกาลที่ชายใดมีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือหมายความว่า"เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย".

ราคี...เทศกาล

HAPPY RAKSHA BANDHAN 

Enjoy festival of RAKSHA BANDHAN WITH MY LOVELY SISTERS....

   เทศกาลของชาวอินเดียในช่วงนี้..รักษา บันดาล

ชายใดที่มีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือ...หมายความว่า..เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย...

เทศกาลรักษาบันดาล (Raksha Bandhan) 

บ้างก็เรียกว่า ราคี (Rakhi) เป็นเทศกาลของชาวฮินดูที่เฉลิมฉลองความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชายกับน้องสาว ในวันเพ็ญแห่งเดือนศรวณะ (Shravana) ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 24 สิงหาคม วันนี้จึงถือว่าเป็นวันสำคัญที่เฉลิมฉลองกันทั่วอินเดีย เพื่อแสดงออกถึงความรักความผูกพันระหว่างพี่ชายและน้องสาว

"รักษา บันดาล"เทศกาลที่ชายใดมีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือหมายความว่า"เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย".

ความรักระหว่างพี่ชายและน้องสาว

เป็นความรักที่ลึกซึ้งที่สุดและสูงส่งที่สุดในอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ เทศกาลรักษาบันดาล หรือ ราคี จึงเป็นโอกาสพิเศษที่จะเฉลิมฉลองความผูกพันนี้โดยการที่น้องสาวมัดด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ข้อมือขวาของพี่ชาย ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความรักของน้องสาวนี้เรียกว่า ราคี (Rakhi)

ราคี (Rakhi) โดยพื้นฐานนั้นแปลว่า ด้ายศักดิ์สิทธิ์แห่งการปกป้องคุ้มครอง เป็นด้ายแห่งรักที่ผูกมัดระหว่างพี่ชายและน้องสาว ด้ายที่เปราะบางนี้จะกลับแข็งแกร่งประดุจโซ่ขณะที่พันธนาการด้วยความรักความผูกพันบนข้อมือของพี่ชาย

ผู้หญิงอินเดียสามารถจะขอรับการปกป้องจากผู้ชายที่อาจเป็นพี่ชายแท้ๆ หรือไม่ใช่ รวมทั้งอาจเป็นชาวฮินดูด้วยกันหรือไม่ใช่ก็ได้

"รักษา บันดาล"เทศกาลที่ชายใดมีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือหมายความว่า"เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย".

ตามธรรมเนียมปฏิบัตินั้นน้องสาวจะมัดด้ายศักดิ์สิทธิ์ราคีบนข้อมือขวาของพี่ชาย และขอพรให้พี่ชายมีอายุยืน พี่ชายก็จะให้สัญญาที่จะปกป้องน้องสาวและให้ของขวัญแก่น้องเป็นการตอบแทน ประเพณีนี้สืบต่อเนื่องมายืนยาวมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้ายราคีอาจทำขึ้นจากเส้นไหม หรือเส้นเงินเส้นทอง ประดับด้วยโลหะแวววาวที่นำมาร้อยต่อกัน อาจมีหินกึ่งมีค่าประดับด้วย

เทศกาลรักษาบันดาล หรือราคีนี้ถือฏิบัติกันโดยทั่วไปในอินเดีย และทั่วโลก เป็นการแสดงความรักแบบไม่มีเงื่อนไขระหว่างพี่ชายและน้องสาว ทั้งยังเป็นโอกาสอันดีที่จะแสดงความสามัคคีกลมเกลียวกันภายในครอบครัว ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นพี่น้องร่วมสายโลหิต กับผู้ชายคนใดก็ตามที่มีความผูกพันกันประดุจพี่น้อง หญิงสาวก็สามารถที่จะมอบด้ายราคีนี้ เพื่อผูกมัดที่ข้อมือผู้ชายคนนั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นญาติหรือเพื่อนสนิท ตามประวัติศาสตร์อินเดียเคยมีปรากฏไว้ว่า ผู้หญิงอินเดียสามารถจะขอรับการปกป้องจากผู้ชายที่อาจเป็นพี่ชายแท้ๆ หรือไม่ใช่ รวมทั้งอาจเป็นชาวฮินดูด้วยกันหรือไม่ใช่ก็ได้ ด้วยการมอบด้ายราคี เพื่อขอรับการปกป้องคุ้มครอง

น้องสาวจะมัดด้ายศักดิ์สิทธิ์ราคีบนข้อมือขวาของพี่ชาย และขอพรให้พี่ชายมีอายุยืน พี่ชายก็จะให้สัญญาที่จะปกป้องน้องสาว

"รักษา บันดาล"เทศกาลที่ชายใดมีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือหมายความว่า"เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย".

น้องสาวจะมัดด้ายศักดิ์สิทธิ์ราคีบนข้อมือขวาของพี่ชาย และขอพรให้พี่ชายมีอายุยืน พี่ชายก็จะให้สัญญาที่จะปกป้องน้องสาว

"รักษา บันดาล"เทศกาลที่ชายใดมีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือหมายความว่า"เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย".

มีตำนานมากมายเกี่ยวกับการผูกด้ายราคีเพื่อขอรับการปกป้องคุ้มครองดังกล่าว แต่ตำนานที่นิยมเล่าขานกันมากคือเรื่องราวของ รานีคาร์นาวตี (Rani Karnavati) แห่งจิตตูร์ (Chittor) และจักรพรรดิแห่งราชวงศ์โมกุล ฮุมายุน (Humayun) เป็นหลักฐานสำคัญที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ ในราวคริสตศตวรรษที่ 15 มีสงครามหลายครั้งระหว่างราชปุต ราชวงศ์โมกุล และสุลตาน ในช่วงนั้น รานีคาร์นาวตี ราชินีหม้ายของกษัตริย์แห่งจิตตูร์ ตระหนักว่าพระนางไม่สามารถป้องกันการบุกรุกของ สุลต่านบาฮาดูรชาห์ (Bahadur Shah) แห่งคุชราตได้ พระนางจึงส่งด้ายราคี ไปให้จักรพรรดิฮุมายุน เพื่อขอรับความช่วยเหลือ พระองค์ก็รีบรุดมาช่วยปกป้องพระนางทันที

ด้ายราคีนี้ยังใช้ผูกมัดให้กันในโอกาสอื่นๆ ที่แสดงถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และความเกี่ยวดองกัน (ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเพียงพี่ชายกับน้องสาวเท่านั้น) เช่นที่ปฏิบัติกันในช่วงการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพให้อินเดีย นอกจากนั้นในความสัมพันธ์แบบมิตรภาพระหว่างเพื่อนต่างเพศ หญิงสาวอาจจะรู้สึกดีๆ ต่อเพศตรงข้ามได้โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นรักแบบหนุ่มสาวทั่วไปเท่านั้น โดยหญิงสาวนั้นจะมอบด้ายราคีให้กับชายหนุ่มเพื่อขอให้รับตนเป็นน้องสาวคนหนึ่ง เหมือนจะบอกเป็นนัยว่า

 “เราเป็นแค่เพียงพี่น้องกันเท่านั้นนะ” (ไม่มีมากไปกว่านี้)

 โดยที่ไม่เป็นการทำร้ายความรู้สึกของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ถ้าเป็นคู่รักกันอยู่แล้วจะไม่ผูกข้อมือให้กันนะคะ มิฉะนั้นความสัมพันธ์จะเปลี่ยนผันไปเป็นแค่เพื่อนหรือพี่น้องเป็นแน่

(พี่ชายที่รัก ได้โปรดรักษาความสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์ของเรานี้ไว้ ตลอดกาลและตลอดไป)

"รักษา บันดาล"เทศกาลที่ชายใดมีหญิงสาวมาขอผูกข้อมือหมายความว่า"เธอยกให้เขาอยู่ในฐานะของพี่ชาย".

สำหรับในอินเดียมีการเฉลิมฉลองทั่วประเทศในวันนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันครอบครัววันหนึ่ง และในต่างพื้นที่ก็มีการเฉลิมฉลองแตกต่างกันไป ผู้คนส่วนใหญ่มักจะขับร้องเพลงภาษาฮินดีที่นิยมกัน คือ “Bhaiya mere, Rakhi ke bandhan ko nibhaana” 

(พี่ชายที่รัก ได้โปรดรักษาความสัมพันธ์อันศักดิ์สิทธิ์ของเรานี้ไว้ ตลอดกาลและตลอดไป)

เทศกาลรักษาบันดาล หรือราคีนี้ ยังมีความสำคัญทางสังคม ที่เน้นแนวความคิดที่ว่าทุกคนควรจะอยู่ร่วมกันอย่างประสานสามัคคีกันเพื่อความสงบสุขในสังคมส่วนรวม ด้วยการผูกด้ายราคีที่ข้อมือของเพื่อนสนิทหรือเพื่อนบ้าน เพื่อย้ำถึงความต้องการอยู่ด้วยกันในสังคมอย่างปรองดองประดุจพี่ชายและน้องสาว และเป็นการให้คำมั่นสัญญาว่าสมาชิกทุกคนในชุมชนว่าจะปกป้องคุ้มครองและดูแลซึ่งกันและกันอีกด้วย


ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10213796601850874&id=1281720771

แชร์