จนท.ตำรวจ เผย 'นักเรียนยกพวกตีกัน' ลงโทษทางอาญาผู้ปกครอง ผู้ช่วยเหลือและยุยง จำคุก1ปี

ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เผยบทลงโทษทางอาญา กรณีนักเรียน-นักศึกษา 'ยกพวกตีกัน' ขณะที่คำสั่งหัวหน้า คสช. ยังลงโทษทางอาญาผู้ปกครอง หรือผู้ให้การสนับสนุน สูงสุดจำคุก 1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท http://winne.ws/n17786

5.0 พัน ผู้เข้าชม
จนท.ตำรวจ เผย 'นักเรียนยกพวกตีกัน' ลงโทษทางอาญาผู้ปกครอง ผู้ช่วยเหลือและยุยง จำคุก1ปี

             'นักเรียนยกพวกตีกัน' เป็นปัญหาซ้ำซาก ที่ยังแก้ไขไม่ได้ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงออกคำสั่ง คสช. ที่ 30/2559 เมื่อปลายเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว (2559) ระบุให้ผู้ปกครองของนักเรียน-นักศึกษา ต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการกระทำของบุตรหลานด้วย ตั้งแต่การอบรมสั่งสอน และระงับยับยั้ง ไม่ให้ก่อเหตุทะเลาะวิวาท  

          ทั้งนี้ หากเกิดเหตุขึ้น ผู้ปกครองจะต้องเข้ารับทราบการกระทำดังกล่าว ทำทัณฑ์บน หรืออาจวางเงินประกัน โดยสามารถเรียกคืนได้ หากไม่ก่อเหตุซ้ำในระยะเวลา 2 ปี ส่วนผู้ที่ให้การยุยง และช่วยเหลือนักเรียนตีกัน จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ หากการก่อเหตุนั้น มีผู้เสียชีวิต โทษจะเพิ่มเป็นจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จนท.ตำรวจ เผย 'นักเรียนยกพวกตีกัน' ลงโทษทางอาญาผู้ปกครอง ผู้ช่วยเหลือและยุยง จำคุก1ปี

             ด้านพล.ต.ท.ศานิตย์ มหถาวร ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เน้นย้ำคำสั่งนี้ในการประชุมร่วมกับสถานศึกษา เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นถึงผลที่ตามมา หากตัดสินใจเข้าร่วมก่อเหตุทะเลาะวิวาท ซึ่งถือเป็นความผิดทางอาญา กรณีที่เป็นผู้ก่อเหตุ และมีการทำร้ายร่างกายกัน หากคู่กรณีบาดเจ็บ จะมาโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ถ้าคู่กรณีเสียชีวิตโทษจำคุกจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 20 ปี หรือตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการก่อเหตุนั้น แม้จะไม่ใช้ผู้ก่อเหตุ แต่เข้าร่วมการทะเลาะวิวาท ก็ถือว่ามีความผิดด้วย คือระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จนท.ตำรวจ เผย 'นักเรียนยกพวกตีกัน' ลงโทษทางอาญาผู้ปกครอง ผู้ช่วยเหลือและยุยง จำคุก1ปี

            อีกหนึ่งมาตรการลดโอกาสเสี่ยงทะเลาะวิวาท คือกองบัญชาการตำรวจนครบาล และคณาจารย์ จะกำหนดจุดเสี่ยง ที่นักศึกษา 2 สถาบันมีโอกาสพบกัน เช่น สี่แยกปทุมวัน สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าห้างสรรพสินค้า และตามซอกซอยต่างๆ พร้อมจัดกำลังตำรวจตรวจตราในพื้นที่เป็นระยะ และซักซ้อมมาตรการรับมือเหตุปะทะ รวมทั้ง จะไม่ให้นักศึกษาสวมใส่เครื่องแบบที่มีสัญลักษณ์สถาบัน ออกนอกสถานศึกษา เพื่อลดพฤติกรรมยั่วยุระหว่างกัน

           มาตรการเหล่านี้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว หลังนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เสียชีวิต 1 ราย จากเหตุทะเลาะวิวาทกับนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา(2560) แม้บทลงโทษจะสูง แต่ปัญหาปัญหาทะเลาะวิวาทระหว่างสถาบันยังคงอยู่ อาจสะท้อนให้เห็นว่า มาตรการทางกฎหมายอาจไม่เพียงพอ ดังนั้นการสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และชี้ให้เห็นผลเสีย จึงจำเป็นต้องนำมาใช้ประกอบกันด้วย 


ขอขอบคุณภาพจาก https://www.google.co.th

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก http://news.voicetv.co.th

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://news.voicetv.co.th/thailand/513556.html

แชร์