“อะไรก็เปลี่ยนเป็นความเกื้อกูลได้” ภาพยนตร์สั้นที่สร้างจากความเกื้อกูลที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย

เชื่อหรือไม่? ว่า “ความเกื้อกูล” คือนวัตกรรมที่ล้ำค่าที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยได้รู้จัก ความเกื้อกูลในที่นี้ ไม่ได้มีความหมายแค่เพียงการทำดี หรือการมีน้ำใจ แต่ความเกื้อกูลนั้น หมายถึงการที่ผู้คนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมแก้ไขปัญหา http://winne.ws/n18918

1.7 พัน ผู้เข้าชม

เชื่อหรือไม่? ว่า “ความเกื้อกูล” คือนวัตกรรมที่ล้ำค่าที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยได้รู้จัก ความเกื้อกูลในที่นี้ ไม่ได้มีความหมายแค่เพียงการทำดี หรือการมีน้ำใจ แต่ความเกื้อกูลนั้น หมายถึงการที่ผู้คนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ร่วมแก้ไขปัญหา และต่อยอดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของสังคม

นี่คือภาพยนตร์สั้นสามเรื่องที่จะช่วยอธิบายความหมายของ “ความเกื้อกูล” ได้เป็นอย่างดี ด้วยสามเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย ที่ผู้คนในชุมชนร่วมกันแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนเกิดเป็นความประทับใจที่อยากนำมาบอกต่อ ได้แก่

1. Mobi-Education “การศึกษาเคลื่อนที่”

สร้างจากเรื่องจริงของเด็กนักเรียนกำเนิดวิทย์ (KVIS) ที่ได้รับทุนการศึกษา นำความรู้ที่ได้รับมาจากโรงเรียน ส่งต่อให้กับเพื่อน ๆ เยาวชนในชุมชนใกล้เคียง พัฒนาการศึกษาโดยไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ

2. Unlimited Energy “ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร”

หนังสั้นที่ได้รับแรงบันดาลใจจากปัญหาเรื่อง กลิ่นเหม็นของ ‘ขี้หมู’ ในชุมชนที่มีฟาร์มหมู ที่คลี่คลายด้วยการแก้ปัญหาอย่างถูกวิธี ด้วยการเก็บ ‘ขี้หมู’ ไว้ในบ่อหมักที่ปิดสนิท เปลี่ยนให้เป็น “ก๊าซชีวภาพ” และต่อท่อเพื่อแจกจ่ายไปตามชุมชน ให้ชาวบ้านมีแก๊สใช้ฟรี ทำให้ฟาร์มหมูและชุมชนอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข

“อะไรก็เปลี่ยนเป็นความเกื้อกูลได้” ภาพยนตร์สั้นที่สร้างจากความเกื้อกูลที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย

3. Co-Shopping Space “แคร่เปลี่ยนความว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์”

เรื่องราวน่าประทับใจที่เกิดขึ้นจริง ของการเปิดพื้นที่ว่างเปล่าของปั๊มน้ำมัน ให้เหล่าเกษตรกรได้นำสินค้าต่าง ๆ มาจัดจำหน่าย เกิดเป็นตลาดนัดชุมชนขนาดย่อม ๆ ให้ผู้คนที่แวะเวียนผ่านมา ได้ทดลองสินค้า และได้ร่วมอุดหนุนช่วยเหลือเหล่าเกษตรกรไทยในช่วงที่เกิดวิกฤติ

“อะไรก็เปลี่ยนเป็นความเกื้อกูลได้” ภาพยนตร์สั้นที่สร้างจากความเกื้อกูลที่เกิดขึ้นจริงในสังคมไทย

โดยภาพยนตร์สั้นทั้ง 3 เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่สร้างจากส่วนหนึ่งจากโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของ ปตท. ซึ่งทำให้เราได้เห็นว่า “อะไรก็เปลี่ยนเป็นความเกื้อกูลได้” ไม่ว่าจะเป็นของใช้ธรรมดาอย่าง ‘แคร่’ หรือสิ่งที่เป็นปัญหาอย่าง ‘ขี้หมู’ ก็สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งมีประโยชน์ได้ หากเราคิดหาทางนำมันมาใช้เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อคนในสังคม

เป็นแนวคิดที่น่าสนใจไม่น้อย หากคนไทยเราช่วยกันมองหาวิธีแก้ไขปัญหา โดยเริ่มจากสิ่งใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กหรือใหญ่ หากเราลองช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำให้สังคมไทยมีความเกื้อกูล เชื่อได้เลยว่าประเทศไทยของเราต้องพัฒนาอย่างยั่งยืนแน่นอน

ที่มา: https://www.marketingoops.com/media-ads/video/ptt-corporate-social-enterprise/

แชร์