ราคาสูงและราคาแพง ต่างกันอย่างไร.. ?

ทำไมคนกลุ่มนี้ ชอบใช้ของแพง ของถูก ๆ ก็ใช้ได้นะ รสนิยมสูงทั้งที่ไม่ค่อยมีเงิน บางคนรวยแต่ก็ยังชอบบอกว่าขอบซื้อของถูก ๆ ใช้ อย่างนี้ดี ผู้หลักผู้ใหญ่มักจะบอกว่า ใช้ของแพงอย่างนี้เดี๋ยวก็จนตายหรอก เรามาดูกันว่าของแพง ของราคาสูง เป็นอย่างไร http://winne.ws/n19553

4.6 พัน ผู้เข้าชม
ราคาสูงและราคาแพง ต่างกันอย่างไร.. ?ขอบคุณภาพจาก ineedbag.com

ราคาสูง = ราคาแพง ต่างกันอย่างไร ?

ราคาสูงกับราคาแพง เป็นคำที่เรามักเข้าใจกันผิดและเอามาใช้ปนกัน ปนไปปนมาจนงงเพราะมันมีความเกี่ยวข้องกันอยู่มากจริง ๆ

ความรู้สึกของผมเอง ผมใช้นิยาม สูง กับ แพง แบบนี้ครับ

ราคาสูง (High Price) คือการวัดด้วยตัวเลข เช่นเลขเยอะๆหลายๆหลักก็เป็นราคาสูง

ราคาแพง (Expensive) คือการเอาตัวเลขนั้น มาเทียบกับคุณค่าที่เราได้รับกลับมาจากการจ่ายเงินไป

ถ้าคุ้มค่าสมราคา ก็เป็นอันว่าไม่แพง
ถ้าไม่คุ้ม ก็คือราคาแพง ไม่ว่าจะจ่ายเงินไปกี่บาท

เช่นข้าวจานละ 10 บาท แต่กินไม่ได้เลย แถมให้นิดเดียว อย่างนี้ถือว่าแพง หรือซื้อแชมพูสระผมเขาโฆษณาว่าดีมากมาปรากฏว่า ใช้ไม่ได้เลยคันผมร่วงอีกต่างหาก อย่างนี้ก็แพงนะ เพราะต้องจ่ายตังค์ฟรี ๆ ไปเลย เช่นเดียวกับของใช้อื่น ๆ เช่นรองเท้า กระเป๋าสะพาย กระเป๋าเงิน นาฬิกา ราคา 199 ใส่ได้ไม่กี่ครั้งก็พังเสียแล้ว ต้องซื้อกันบ่อย ๆ อย่างนี้ ผมเรียกว่าแพงครับ

กลับกัน จานละ 50 แต่มาชามใหญ่แถมอร่อยมาก อย่างนี้ราคาสูงแต่เรากลับ รู้สึกไม่แพง หรือขับรถราคาสูง ป้ายแดง แม้จ่ายมากกว่ารถมือสองหลายเท่า แต่ก็ไม่ต้องซ่อมเลยเป็นหลาย ๆ ปี แต่ซื้อรถมือสองที่เราเลือกไม่เป็นมา แม้ราคาถูก แต่ต้องซ่อมตลอด อย่างนี้ค่าซ่อมกับค่ารถรวมกันมากกว่าซื้อป้ายแดง ผมก็ว่าแพงครับ

เรื่องของราคาก็เป็นแบบนี้ จะมาวัดกันด้วยเกณฑ์ทั่วไปแบบใดแบบหนึ่งไม่ได้ มันเป็นเรื่องของตรรกะผสมกับความรู้สึก ที่ส่งผลโดยตรงกับการตัดสินใจซื้อ คนที่ตั้งราคาสินค้าเก่ง ๆ คือคนที่สามารถมองและประเมินได้ว่าลูกค้ายินดี จะจ่ายราคาเท่าไหร่ถ้าซื้อของชิ้นนี้จากร้านนี้ การตั้งราคา จึงอาศัยรสนิยมและความรู้สึกมากกว่าการเอาต้นทุนเป็นที่ตั้ง เพราะทุกวันนี้ เรามักใช้อารมณ์ ในการตัดสินใจมากกว่าเหตุผล โดยเฉพาะสินค้าสิ้นเปลือง เช่นแป้งหอม น้ำหอม เสื้อผ้า ของใช้ประจำของผู้หญิง เป็นต้น ไม่แปลกใจ แต่ละบ้าน ถึงมีแชมพู สบู่ น้ำหอม ของใช้ประจำวันเหล่านี้ จำนวนมาก ทั้งที่มีสมาชิกเพียงไม่กี่คนในบ้าน 

ตรงข้ามกับผู้ที่พึงพอใจสินค้านี้ ซื้อครั้งเดียว ชิ้นเดียว ราคาอาจสูงหน่อย แต่ใช้ได้นาน อย่างนี้ผมว่าไม่แพง เพราะคุ้มค่าเงินครับ

สรุปง่าย ๆ ของแพงคือของที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้อาจทิ้งลงถังขยะอย่างอารมณ์เสีย  ของราคาสูง ซื้อมาแล้วได้ใช้อย่างเต็มใจ ซึ่งจะทำให้ใช้ได้นานและมีความสุขกับการใช้มากกว่านั่นเองครับ

ข้อแนะนำอีกอย่างคือ ของแพงคือของที่ต้องกู้หนี้ยืมสินไปซื้อ แล้วของนั้นก็ไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ที่จะทำให้มีทรัพย์งอกเงย เพิ่มขึ้นมาได้เลย อย่างนี้ก็สุดยอดแพงครับ

อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/trickofthetrade/posts/1082620938437893

แชร์