ท่านั่งสมาธิ (Meditation)

ท่านั่งสมาธิ ควรเป็นท่านั่งหลังตรง ควรมีหมอนหรือเบาะรอง เพื่อจะได้มีความสบายมากขึ้น http://winne.ws/n2123

2.0 หมื่น ผู้เข้าชม
ท่านั่งสมาธิ (Meditation)

สมาธิ (Meditation)

ท่านั่งสมาธิ ควรเป็นท่านั่งหลังตรง ควรมีหมอนหรือเบาะรอง เพื่อจะได้มีความสบายมากขึ้น

1. ท่านั่งสมาธิ Swastikasana (The auspicious pose)

การหายใจ พยายามหายใจให้ราบเรียบ ปกติ

ระยะเวลา การฝึกสมาธิในช่วงแรก อาจใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที ต่อมาเมื่อเราพัฒนามากขึ้นสามารถเพิ่มเวลาได้ถึง ๒-๓ ชั่วโมง

การตระหนักรู้ มีสติอยู่กับลมหายใจ หรือจุดจักราต่าง ๆ

ข้อควรระวัง เนื่องจากเป็นท่าที่ง่าย ไม่มีข้อควรระวัง

ประโยชน์

- ช่วยให้กระดูกสันหลังตั้งตรง

- การผ่อนคลายในท่าช่วยลดความตึงเครียดของร่างกายและจิตใจ และช่วยให้มีสมาธิตั้งมั่น

2. ท่านั่งดอกบัว Padmasana (The lotus pose)

การหายใจ พยายามหายใจให้ราบเรียบ ปกติ

ระยะเวลา การฝึกสมาธิในช่วงแรก อาจใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที ต่อมาเมื่อเราพัฒนามากขึ้นสามารถเพิ่มเวลาได้ถึง ๒-๓ ชั่วโมง

การตระหนักรู้ มีสติอยู่กับลมหายใจ หรือจุดจักราต่างๆ

ข้อควรระวัง ผู้ที่เป็นโรคปวดตามหลังและสะโพก หรือ บาดเจ็บบริเวณหัวเข่าไม่ควรฝึกท่านี้ ก่อนทำการฝึกท่านี้ควรฝึกด้วยท่าผีเสื้อครึ่งตัวและท่าอีกาเดินเสียก่อน

ประโยชน์

- ช่วยให้กระดูกสันหลังตั้งตรงและสามารถนั่งได้เป็นเวลานาน

- ทำให้ร่างกายและจิตใจสงบเย็น

- ช่วยให้มีสมาธิตั้งมั่น

- ช่วยลดความเครียดและระบบประสาทบริเวณช่องท้องดีขึ้น

ท่านั่งสมาธิ (Meditation)

3. ท่านั่งวีรชนDhyana Veerasana (The hero’s meditation pose)

การหายใจ พยายามหายใจให้ราบเรียบ ปกติ

ระยะเวลา นั่งเท่าที่เป็นไปได้

การตระหนักรู้ มีสติอยู่กับลมหายใจ หรือบริเวณจมูก

ประโยชน์

- ท่านี้เป็นท่าที่ง่ายช่วยให้สามารถนั่งได้เป็นเวลานาน

- ช่วยให้อวัยวะบริเวณบั้นเอวแข็งแรงโดยเฉพาะระบบสืบพันธุ์

กายและจิตใจสงบเย็น

- ช่วยให้มีสมาธิตั้งมั่น

- ช่วยลดความเครียดและระบบประสาทบริเวณช่องท้องดีขึ้น

4. Vajrasana (The thunderbolt pose)

การหายใจ หายใจแบบปกติ หรือ หายใจลึก

ระยะเวลา สามารถทำท่านี้เท่าที่เป็นไปได้ การทำท่าวัชราสนะ ๕ นาทีหลังจากมื้ออาหาร ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี

การตระหนักรู้ มีสติอยู่กับการหายใจ การฝึกสมาธิด้วยท่านี้ทำให้สภวะจิตใจสมดุล

5. ชุดท่าที่เกี่ยวเนื่อง

ข้อควรระวัง หากมีอาการเจ็บบริเวณต้นขา ให้ลองแยกหัวเข่าเล็กน้อยขณะทำท่า หากมีอาการเจ็บปวดบริเวณข้อเท้าให้ค่อยๆ ออกจากท่าแล้วเขย่าข้อเท้าจนกระทั่งหาย จึงทำท่านี้ใหม่

ประโยชน์

- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและกระแสประสาทบริเวณเชิงกราน และยืดกล้ามเนื้อเชิงกราน

- บรรเทาโรคใส้เลื่อนและโรคริดสีดวง

- บรรเทาโรคกระเพาะและโรคกรดในกระเพาะ

ช่วยลดความเครียดและระบบประสาทบริเวณช่องท้องดีขึ้น

Cr. http://www.rayayoga.com/…/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8…

แชร์