แยกให้ออกอาการแบบนี้แค่ ‘ขี้เกียจทำงาน’ หรือเกิด ‘ภาวะเบิร์นเอาท์ ซินโดรม’ กันแน่?!

ภาวะ Burnout Syndrome (เบิร์นเอาท์ ซินโดรม) หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ว่าเป็นกลุ่มอาการทางด้านจิตใจที่เกิดจากการทำงานหนัก http://winne.ws/n23214

896 ผู้เข้าชม
แยกให้ออกอาการแบบนี้แค่ ‘ขี้เกียจทำงาน’ หรือเกิด ‘ภาวะเบิร์นเอาท์ ซินโดรม’ กันแน่?!

การงัดตัวเองจากเตียงเพื่อลุกขึ้นไปทำกิจวัตรให้เสร็จสรรพแล้วออกไปทำงาน ถือเป็นเรื่องที่ต้องใช้แรงฮึดอย่างสูงหลังชิลๆ สบายๆ กันมาจนชินในช่วงวันหยุดยาว อย่างเช่นเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ เป็นต้น
แต่เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ภาวะขี้เกียจไปทำงานจัง (วุ้ย) ก็จะค่อยเบาบางลงไปตามใบแจ้งหนี้ที่กำลังจะมาถึง

อ้าว! แล้วถ้าผ่านไปเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี อาการแบบนี้ยังไม่หายซะทีล่ะ? งั้นลองมาเช็กตัวเองกันดูหน่อยมั้ยว่าเรากำลังเข้าข่ายภาว “เบิร์นเอาท์ ซินโดรม” อยู่หรือเปล่า?

ซึ่งคุณหมอนุ่น พญ.ดุจฤดี อภิวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช

อธิบายถึงภาวะ Burnout Syndrome (เบิร์นเอาท์ ซินโดรม) หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน ว่าเป็นกลุ่มอาการทางด้านจิตใจที่เกิดจากการทำงานหนัก

ซึ่ง “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” จะแสดงออกเด่นชัดทั้งทางร่างกายและจิตใจ คือ เหนื่อย ล้า อ่อนเพลีย ทั้งนี้อาจมีส่วนจากการได้ทำงานในสายงานที่ตนเองไม่ชอบ ไม่ถนัด ภาวะจำทนต้องทำ เบิร์นเอาท์ ซินโดรม จึงเป็นภาวะที่พบได้มากกว่า หากเทียบกับกลุ่มคนที่ได้ทำงานในอาชีพที่ตนเองอยากทำจริงๆ

สัญญาณเบื้องต้นของภาวะ “เบิร์นเอาท์ ซินโดรม”  คือ
1. ไม่อยากตื่นไปทำงาน
2. เบื่อหน่ายงาน
3. ไม่อยากคุยกับใคร
4. ไม่มีความสุขในการทำงาน
5. ขาดสมาธิและไอเดียในการทำงาน

อ่านข่าวต่อได้ที่ : สำนักข่าวอัมรินทร์

แยกให้ออกอาการแบบนี้แค่ ‘ขี้เกียจทำงาน’ หรือเกิด ‘ภาวะเบิร์นเอาท์ ซินโดรม’ กันแน่?!
แชร์