บทบาทของฆราวาสที่พึงกระทำ ต่อพระภิกษุสงฆ์

ว่าด้วยเรื่อง “ บทบาทของฆราวาสที่พึงกระทำ ต่อพระภิกษุสงฆ์ “ http://winne.ws/n24165

4.7 พัน ผู้เข้าชม

     พุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง ก็ด้วยอาศัยการเกื้อกูลกันและความสามัคคีของพุทธบริษัท 4  คือภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก อุบาสิกา

     จะเห็นได้ว่าในการทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนานั้น พุทธเจ้าท่านได้ทรงจำแนกหน้าที่ของชาวพุทธไว้หลักๆ2 อย่าง คือ

1. ภิกษุ และ ภิกษุณี มีหน้าที่หลักในการศึกษา และปฏิบัติตามคำสอนในพระพุทธศาสนาให้แตกฉาน  และนำคำสอนนั้นเผยแผ่ไปสู่ประชาชนให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดี

2. อุบาสก และ อุบาสิกา   มีหน้าที่สงเคราะห์และสนับสนุนการทำหน้าที่ของพระภิกษุสงฆ์และ ภิกษุณีให้เป็นไปได้อย่างราบรื่น

โดยการปฏิบัติตัวของอุบาสกอุบาสิกา ต่อพระสงฆ์นั้น ต้องอยู่บนพื้นฐาน คือ

 ' จะคิด พูด ทำสิ่งใดต่อพระพระสงฆ์ ก็คิด พูด ทำด้วยจิตเมตตา ตั้งอยู่ในความปรารถนาดี. '

บทบาทของฆราวาสที่พึงกระทำ ต่อพระภิกษุสงฆ์

 **  ปัญหาเรื่องพระกับเงิน **

            ที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้นั้น  นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาท่านหนึ่งที่ใช้นามว่า Naga  King ได้ให้มุมมองถึงบทบาทการทำหน้าที่ของฆราวาสที่มีต่อพระสงฆ์  เป็นประเด็นที่น่าสนใจไว้ดังนี้.

.............

@ ช่วงนี้อดที่จะนำเรื่องที่กำลังเป็นปัญหาอยู่กำลังถกเถียงกันอยู่มาเขียนไม่ได้เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฮอตมากผมเห็นมีแต่ผู้รู้ทั้งหลายออกมาถกกันหลายฝ่ายทั้งที่เป็น

 (๑) ผู้รู้ฝ่ายญาติโยม

(๒) ผู้รู้ฝ่ายพระสงฆ์ เกี่ยวกับ เรื่องพระกับการจับเงินจับทอง

 

ซึ่งผมว่ามันค่อนข้างแปลกที่คนที่

 (๑) ออกมาพูดเรื่องพระกับเงิน

(๒) กระวีกระวาดที่จะปฏิรูปเรื่องพระกับเงิน

  กลับเป็นฆราวาสที่ไม่ใช่สงฆ์ และฆราวาสเหล่านี้ ไม่เข้าใจบทบาทของตัวเองทางด้านพระธรรมวินัยเลยทำอะไรเกินหน้าที่ของฆราวาส คือเข้าไปยุ่มย่ามเรื่องพระเรื่องเจ้ามากเกินไป

บทบาทของฆราวาสที่พึงกระทำ ต่อพระภิกษุสงฆ์ภาพ : deepsnews

@ บทบาทของชาวบ้านต่อพระธรรมวินัยตามแนวทางพระไตรปิฎก?

   ที่ผมตั้งคำถามแบบนี้ก่อนที่จะพูดถึงเรื่องของพระกับเงินหรือพระกับเรื่องอื่นๆก็คือ ผมอยากจะชี้แจงว่า บทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาที่มีต่อพระธรรมวินัยนั้นคืออะไร เพราะผมเห็นว่า

   มันมีเส้นบางๆอยู่ถ้าฆราวาสหรือชาวบ้านไม่เข้าใจบทบทของตนเองแล้วไปยุ่งเรื่องพระมากเกินหน้าที่ตัวเองแล้วจะทำให้บทบาทของพระก็เสียบทบาทโยมก็เสีย ถามว่าบทบาทของโยมในพระธรรมวินัยนี้คืออะไร บทบาทของฆราวาสในพระธรรมวินัย คือ

 (๑) ตั้งอยู่บนศรัทธา

 (๒)ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา

 (๓) ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างถ่องแท้

 (๔)ให้การอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาก็คือพระเจ้าพระสงฆ์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

 (๕)มีเมตตาตั้งอยู่ความปรารถนาดีเมื่อพบว่ามีเรื่องที่พระสงฆ์ทำไม่ดีไม่งามก็โพนทะนา และนำเรื่องไปแจ้งแก่สงฆ์เพื่อให้สงฆ์ท่านแก้ไขให้ถูกต้อง

 (๖) ปรับปวาทคือกล่าวแก้ไขเรื่องราวหรือคนที่เข้ามากล่าวร้ายให้ร้ายพระสงฆ์หรือพระพุทธศาสนา

บทบาทของฆราวาสที่พึงกระทำ ต่อพระภิกษุสงฆ์

@ สำหรับข้อสรุปของบทบาทของชาวบ้านที่มีในกรณีการกระทำผิดพระวินัยของพระสงฆ์ คือ

     (๑) โพนทะนาเรื่องที่พระสงฆ์ทำไม่ถูก

     (๒) แจ้งเรื่องราวนั้นแก่สงฆ์


    สองข้อนี้เป็นบทบาทที่ชาวพุทธทั่วไปควรมีต่อสงฆ์หรือคณะสงฆ์คือต้องทำหน้าที่ที่ควรทำในเบื้องต้นนี้ก่อนคือ การตักเตือนด้วยความมีเมตตาทั้งทางกายวาจา และจิตใจ และการแจ้งเรื่องราวนั้นให้คณะสงฆ์ทราบ ผมว่า ๒ข้อนี่แหละคือบทบาทของชาวบ้านที่จะแสดงออกต่อปัญหาของพระสงฆ์ได้เมื่อคณะสงฆ์ทราบเรื่องแล้วต่อไปท่านจะดำเนินการของท่านเองตามบทบัญญัติพระวินัย

   เราชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ที่จะเข้าไปยุ่มย่ามมากมาย หากเข้าไปเจ้ากี้เจ้าการมากเกินไปก็เสียหลักของความเป็นชาวพุทธที่ดีเผลอๆตกนรกเพราะความผิดของการพยายามที่จะเข้าไปทำลายสงฆ์ด้วย เพราะเรื่องของสงฆ์เป็นเรื่องที่สงฆ์ควรจัดการของท่านเอง

    เพราะท่านรู้เรื่องมีขั้นตอนของท่านเองแต่ถ้าหากท่านไม่ทำก็แสดงว่าท่านพระเจ้าพระสงฆ์เองละเลยไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัยเองอันนั้นแหละคือปัญหาที่เกิดเพราะท่านทำตัวของท่านเองในพระไตรปิฎกบทบาทของชาวบ้านมีเพียงเท่านี้นะครับ เช่น กรณีที่มีพระทำความผิดเช่นแก้ผ้าอาบน้ำในวัดเวลาญาติโยมผู้หญิงเข้ามาทำบุญมันอุดจาดตา ญาติโยมผู้หญิง

บทบาทของฆราวาสที่พึงกระทำ ต่อพระภิกษุสงฆ์ภาพ : naewna

     เมื่อมีเรื่องนี้เกิดขึ้นญาติโยมที่พบเห็นคือโดย นางวิสาขาก็เป็นตัวแทนไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระพุทธเจ้า  พระองค์ก็จะประชุมสงฆ์จัดการออกบทบัญญัติให้กับสงฆ์ว่าห้ามไม่ให้เปลือยกายอาบน้ำนะใครเปลือยกายอาบน้ำต้องอาบัติปาจิตตีย์ นี่ไงครับบทบาทของชาวบ้าน เรามีสิทธิ์แค่

 (๑) ความผิดให้เตือน(โพนทะนา)

 (๒)เมื่อเห็นว่าเรื่องนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขก็ให้เข้าไปแจ้งแก่ผู้เป็นผู้นำของพระสงฆ์หรือตัวแทนสงฆ์เพื่อให้ท่านออกกฎระเบียบหรือปรับปรุงแก้ไขเรื่องนั้นเป็นเรื่องๆไป

 

     ไม่ใช่ว่า (๑) โพนทะนาเรื่องนั้นทางสื่อโซเซียลเต็มที่ จากนั้น (๒)กูก็จะอาสาเข้ามาแก้ไขเรื่องนั้นเองหรือจะออกกฎหมายหรือระเบียบโดยอ้างพระวินัยนั้นมาปรับใช้หรือมาบังคับให้พระสงฆ์ใช้ซึ่งผมว่านั้น “มันเป็นการทำเกินหน้าที่ของชาวบ้าน” นั่นมันจะเป็นการทำลายสงฆ์หรือก้าวก่ายหน้าที่ของสงฆ์ มันจะตกนรกเอานะครับ

 

   @ ต่อกรณีเหตุการณ์ในปัจจุบันนี้ ผมมีคำถามก็คือกลุ่มชาวบ้านที่อาสาเข้ามาปฏิรูปพระพุทธศาสนา(นำโดยกลุ่มปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาที่พากันตั้งพรรคการเมืองที่โชว์นโยบายปฏิรูปพระพุทธศาสนา)ที่จะอาสาเข้ามาปฏิรูปพระพุทธศาสนาและทำการเปลี่ยนแปลงข้อวัตรปฏิบัติของพระอยู่นี้ทำหน้าที่เกินเลยความเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีหรือเปล่า?

 


เรียบเรียงโดย : เดอะซัน

cr : เฟซบุีค Naga King

แชร์