วัด"ของคนเข้าวัดกับคนไปวัดมีความหมายต่างกันอย่างไร

การเข้าวัดคืออะไร เข้าอย่างไร เข้าที่ไหน การเข้าวัดต่างกับการไปวัดอย่างไรนี้ เป็นสิ่งที่เราควรจะทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นการเข้าวัดของเราอาจเกิดเป็นโทษมากกว่าเกิดเป็นคุณโดยที่เรามิได้ตั้งใจ http://winne.ws/n24837

3.5 พัน ผู้เข้าชม
วัด"ของคนเข้าวัดกับคนไปวัดมีความหมายต่างกันอย่างไร

วัดของคนเข้าวัด 

วัด หมายถึง สถานที่ที่เป็นสัดส่วน สะอาด สงบ สบายและร่มเย็น ควรแก่การเคารพบูชา โดยสถานที่ พระสงฆ์ผู้ประพฤติธรรมตลอดจนวัตถุสิ่งของเครื่องสักการะต่างๆ ก็ดี เป็นที่รวมเอาคนและวัตถุเข้าด้วยกัน รวมคุณงามความดีทั้งหลายไว้เป็นเครื่องจรรโลงจิตใจให้สูงค่าควรแก่การทะนุบำรุงเพื่อความเจริญรุ่งเรืองตลอดกาล มิได้หมายถึงสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงามหรือเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจโดยทั่วไป 

ฉะนั้นอย่าเข้าใจว่าวัดเป็นที่เที่ยววัด คือ การตรวจสอบขนาดความกว้าง ความยาว ความหนา ความบาง หรือสูงต่ำ ดำขาวในคน สัตว์และสิ่งของ วัดปริมาณ วัดความรู้ ความสามารถ วัดคุณภาพเพื่อให้รู้ผลลัพธ์

วัด"ของคนเข้าวัดกับคนไปวัดมีความหมายต่างกันอย่างไร202.183.204.137

 การเข้าวัดคืออะไร เข้าอย่างไร เข้าที่ไหน การเข้าวัดต่างกับการไปวัดอย่างไรนี้ เป็นสิ่งที่เราควรจะทำความเข้าใจให้ดีเสียก่อน มิฉะนั้นการเข้าวัดของเราอาจเกิดเป็นโทษมากกว่าเกิดเป็นคุณโดยที่เรามิได้ตั้งใจ 

การไปวัด

วัด"ของคนเข้าวัดกับคนไปวัดมีความหมายต่างกันอย่างไรGotoKnow

การไปวัดคือการไปดูไปชมภายในบริเวณวัด ความสวยงามของธรรมชาติ ศิลปการปลูกสร้าง ธรรมเนียมประเพณีของวัด ความเป็นอยู่ของพระเณร ดูคนที่ไปอยู่วัดไปเพื่อรดน้ำมนต์ สะเดาะเคราะห์ เพื่อเสาะแสวงหาโชค หาดวง หาเครื่องรางของขลัง ดูกันไป ฟังกันไป พูดกันไป จริงบ้างไม่จริงบ้าง มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ถูกใจตนก็ว่าดี ไม่ถูกใจตนก็โกรธ ก็เคือง นี้คือเรื่องของคนไปวัด 

การเข้าวัด

วัด"ของคนเข้าวัดกับคนไปวัดมีความหมายต่างกันอย่างไรYoutube

ส่วนการเข้าวัด คือ การเข้าไปดูใจของตน วัดความโลภ ความโกรธ ความหลงที่มีอยู่ในใจเพื่อชำระสะสางให้หมดไป 

กล้าหาญในการที่จะชำระซักฟอกจิตใจของตนให้สะอาดผ่องใส ไม่ชักช้าลังเลในการตัดสินใจที่จะทำดี หลีกหนีให้ไกลจากความชั่ว หลีกเลี่ยงหรือพยายามทำผิด ทำชั่วให้น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ ลงมือเรียนรู้และศึกษาธรรมให้ถึงเนื้อแท้ของธรรม ลงมือปฏิบัติด้วยความพอใจ ขยันหมั่นเพียร เอาใจฝักใฝ่ในการปฏิบัติ ดูกายดูจิตไม่วางธุระของตน พยามใช้ปัญญาคิดค้นพิจารณาถึงเหตุถึงผล ให้เห็นกายในกาย จิตในจิต โดยไม่ลำเอียงหรือมีอคติ วัดตนเองออกมาให้เห็นให้ชัดเจน    มิใช่ไปวัดดูคนอื่น เพ่งโทษผู้อื่นจนลืมดูโทษใหญ่ โทษน้อยที่เกิดขึ้นภายในตนทั้งทางกาย วาจา และใจ มิฉะนั้นจะเป็นการเข้าผิดวัดและวัดผิด เป็นการปิดทางเข้าวัด ปิดประตูทางที่จะก้าวเดินไปสู่ความเจริญคืออริยมรรค อริยผลของตนโดยสิ้นเชิงวัดคนเข้าวัด

สำหรับผู้เข้าวัดถูก มิใช่วัดผิด และผิดวัด ก็จะเกิดมีคุณลักษณะอย่างหนึ่งติดอยู่ที่ใจ เรียกคุณลักษณะพิเศษนี้ว่า “วัตร” วัตรของคนเข้าวัด จะประกอบด้วย

ทาน-การให้ มีความยินดีที่จะช่วยเหลือและสงเคราะห์ผู้อื่นอยู่เสมอตามกำลังของตน ไม่ว่าจะเป็นกำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังสติ ปัญญา

ศีล-ความสำรวมระวัง ไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ด้วยกาย วาจา ใจ จนเกิดเป็นความสงบเย็นแก่ตน ครอบครัว สังคมและส่วนรวม

ภาวนา-ความงอกงามของจิตใจ ซึ่งกอปรด้วยสติและปัญญา เป็นใจที่เฉลียวฉลาด รู้เท่าทันอารมณ์และความคิดต่างๆ และความคุ้มให้เป็นไปในทางที่ดี รู้เห็นเรื่องราวต่างๆ รอบตัวตามสภาวธรรม ตามความเป็นจริงได้วัดของคนเข้าวัดเป็นอย่างนี้


โอวาทอันทรงคุณค่าจาก

หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญวัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ขอบคุณเนื้อหาธรรมะจากเพจชาวพุทธ

วัด"ของคนเข้าวัดกับคนไปวัดมีความหมายต่างกันอย่างไรwww.Npzmoon.com
แชร์