'สนามบินซานฟรานซิสโก' นำร่อง แบนขวดพลาสติก

'สนามบินซานฟรานซิสโก' นำร่อง แบนขวดพลาสติกทุกประเภท นับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. 62 เป็นต้นไป นักเดินทางจะไม่สามารถซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดเล็กจากร้านค้าทุกแห่ง หรือตู้กดอัตโนมัติภายในท่าอากาศยานซานฟรานซิสโกได้อีกต่อไป http://winne.ws/n26428

1.5 พัน ผู้เข้าชม

     โลกสวยด้วยมือเรา สนามบินซานฟรานซิสโกขอนำร่อง ประกาศสั่งห้ามจำหน่าย "น้ำดื่มขวดพลาสติก" ในพื้นที่อย่างเต็มขาด โดยมีผลบังคับใช้ในทันที

'สนามบินซานฟรานซิสโก' นำร่อง แบนขวดพลาสติก

     สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโก (SFO) ประกาศอย่างเป็นทางการว่าห้ามร้านค้าทุกแห่งภายในท่าอากาศยานขายน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง

     ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโกกล่าวผ่านบัญชีทวิตเตอร์ทางการว่า “นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโกจะยุติการขายน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง” โดยระบุว่าปีที่ผ่านมาในสนามบินมีการขายน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกราว 4 ล้านขวด และส่วนมากไม่ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่

     “ทุกๆ วันจะมีน้ำดื่มบรรจุขวดขายออกไปเฉลี่ยวันละ 9,000 ขวด และเราต้องการทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น” ท่าอากาศยานฯ กล่าวผ่านทวิตเตอร์ พร้อมระบุว่ามีขวดพลาสติกจากทั่วโลกเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ถูกนำกลับมารีไซเคิล และขวดพลาสติกใช้แล้วทิ้งนั้นต้องใช้เวลาย่อยสลายนานถึง 450-1,000 ปี


     พลาสติกที่กลายเป็นชิ้นเล็กๆ เมื่อโดนน้ำและแสงอาทิตย์จนกลายเป็นไมโครพลาสติกคือสิ่งที่กำลังคุกคามสิ่งมีชีวิตในทะเล และมีหลายกรณีที่พลาสติกเหล่านั้นย้อนกลับมาถึงโต๊ะอาหารของมนุษย์ ผ่านการบริโภคอาหารทะเล

     นับตั้งแต่วันที่ 20 ส.ค. เป็นต้นไป นักเดินทางจะไม่สามารถซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดเล็กจากร้านค้า คาเฟ่ เลานจ์ ร้านค้า หรือตู้กดอัตโนมัติภายในท่าอากาศยานซานฟรานซิสโกได้อีกต่อไป

     “นโยบายนี้ครอบคลุมถึงน้ำดื่มที่บรรจุอยู่ในกล่อง ถุง กระป๋อง หรือบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นประเภทใช้แล้วทิ้ง และมีปริมาตรต่ำกว่า 1 ลิตร”   ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโกระบุ

     ทั้งนี้ เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ท่าอากาศยานนานาชาติซานฟรานซิสโกได้ดำเนินแผนลดขยะพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ดว้ยการเปลี่ยนไปใช้วัสดุชนิดอื่นๆ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ย่อยสลายได้ หรือรีไซเคิลได้ ตามร้านขายอาหารทั้งหมดในท่าอากาศยาน โดยมีเป้าหมายจะเป็นท่าอากาศยานแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่มีขยะเป็นศูนย์ (zero-waste) ภายในปี 2021


ขอขอบคุณข่าว : sanook

แชร์