จังหวัดตากสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดงานประเพณี “ตานก๋วยสลาก”

ประเพณีท้องถิ่น“ตานก๋วยสลาก” ขึ้น โดยคำว่า “ตานก๋วยสลาก” เป็นภาษาของชาวล้านนา หากเป็นภาษาภาคกลางจะตรงกับคำว่า “สลากภัต” http://winne.ws/n27405

1.5 พัน ผู้เข้าชม
จังหวัดตากสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดงานประเพณี “ตานก๋วยสลาก”
จังหวัดตากสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดงานประเพณี “ตานก๋วยสลาก”

         วัฒนธรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆ ได้พัฒนา และสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบ และวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ เป็นต้น เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึก และกระตุ้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัว และเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่ และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 

      ในปัจจุบันวัฒนธรรม ท้องถิ่น ประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงามขาดการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อยในขณะที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจากสังคมภายนอกได้เข้ามาคุกคามสังคมไทยมากขึ้น ดังนี้ การสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟูรวมทั้งการเสริมสร้างคุณค่าทางสังคมและจิตใจต่อมรดกทางวัฒนธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ในการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชนเพื่อให้เยาวชนและชุมชนได้ ตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน มีความเข้าใสรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม การแบ่งปันการเกื้อกูล ช่วยเหลือซึ่งกัน และกันมีการศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิตของชุมชน

 

จังหวัดตากสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดงานประเพณี “ตานก๋วยสลาก”

         ปัจจุบันประเพณีท้องถิ่นประจำตำบลแม่ปะ ควรได้รับการอนุรักษ์และสืบสาน อย่างต่อเนื่องจากประชาชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดประเพณีท้องถิ่น“ตานก๋วยสลาก” ขึ้น โดยคำว่า “ตานก๋วยสลาก” เป็นภาษาของชาวล้านนา หากเป็นภาษาภาคกลางจะตรงกับคำว่า “สลากภัต” ประเพณีตานก๋วยสลากทางภาคเหนือนิยมจัดกันในช่วงเดือน ๑๒ เหนือถึงเดือนยี่เหนือ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยมากแล้วชาวล้านนาจะจัดงานตานก๋วยสลากในช่วงที่ทำนาเสร็จแล้ว เป็นช่วงที่ได้หยุดพักผ่อนกันพืชพันธ์ผลไม้ต่างๆ ก็ออกลูกออกผล 

         พระสงฆ์เองก็ยังอยู่ในช่วงเข้าพรรษา ไม่ได้ไปจำพรรษาที่ไหน ประจวบกับในช่วงเวลานั้น ชาวบ้านที่ขัดสน ข้าวที่เก็บเกี่ยวเอาไว้ในยุ้งฉางก็เริ่มจะหร่อยหรอ การจัดงานตานก๋วยสลากจึงเป็นการฝึกตนให้รู้จักการให้ทาน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สังเคราะห์คนยากคนจนก่อนที่จะถึงวันงานตานก๋วยสลาก ทางภาคเหนือจะเรียกว่า วันดา หรือวันสุกดิบ ชาวบ้านจะจัดเตรียมอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ แล้วนำมาจัดใส่ก๋วยสลาก (ชะลอมไม้ไผ่) ที่กรุด้วยใบตอง เมื่อใส่ของลงไปในก๋วยสลากแล้วก็จะมัดปากให้เรียบร้อย จากนั้นก็จะเหลาไม้ไผ่เป็นก้านเล็กๆ สำหรับเป็นยอดก๋วยสลาก เอาไว้สำหรับเสียบเงินมากน้อยตามฐานะและศรัทธา สมัยก่อนจะนำใบลานมาทำเป็นเส้นสลากแทนกระดาษสำหรับเขียนระบุไปว่า อุทิศตานก๋วยสลากให้กับใครอาจเป็นบรรพบุรุษ ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว

จังหวัดตากสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดงานประเพณี “ตานก๋วยสลาก”
จังหวัดตากสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดงานประเพณี “ตานก๋วยสลาก”

          นายมานพ ยะเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ กล่าวว่า องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดงานประเพณี ตานก๋วยสลาก ขึ้น ในอาทิตย์ วันที่ 13 กันยายน 2563 ก่อนออกพรรษา ณ วัดแม่ปะเหนือ หมู่ที่ 1 ต.แม่ปะ อ.แม่สอ จ.ตาก เป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นรวมถึงการเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่นอันดีงามให้อยู่คู่กับท้องถิ่นให้คงสืบต่อไป เพื่อตระหนักถึงคุณค่า และความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น 

         ตลอดจนเพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ตลอดจนการร่วมแรงร่วมใจกัน สร้างความรักความสามัคคี ระหว่างประชาชนทุกกลุ่มวัยในเขตตำบลแม่ปะ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอันเป็นแนวทางสนับสนุนให้นำมิติทางวัฒนธรรมไปใช้เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคม รวมทั้งแก้ไขวิกฤตการณ์ทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ที่มา https://www.banmuang.co.th/

แชร์