"แม่ลานสำนึกรักบ้านเกิด"ฝึกนักเรียนร่วมเกี่ยวข้าวในนาจริง ปลุกเด็กอนุรักษ์วิถีท้องถิ่น
โครงการเยาวชนแม่ลานสำนึกรักบ้านเกิด นักเรียน ผู้ปกครอง ครูโรงเรียนแม่ลานวิทยาปัตตานี อ.แม่ลาน ร่วมกันเก็บเกี่ยวข้าว เพื่อรู้คุณค่าข้าวแต่ละเม็ด ที่ได้มาแสนยาก http://winne.ws/n303
โรงเรียนแม่ลานวิทยา บ้านแม่ชมพู่ ต.ปากหล่อ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ได้รับการก่อตั้งตามประกาศกรมสามัญศึกษา ลงวันที่ 28 มีนาคม 2520 เรื่องการจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาลซึ่งเมื่อกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศให้จังหวัดปัตตานีจัดตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาเพิ่มขึ้นในอำเภอโคกโพธิ์ ณ ตำบลแม่ลาน ดังนั้นสภาตำบลพร้อมประชาชน ตำบลแม่ลานได้ลงมติเห็นชอบให้ใช้ที่ดินราชพัสดุ ในหมู่ที่ 4 ตำบลแม่ลาน ซึ่งได้ขอถอนสภาพมาให้โรงเรียนแม่ลานวิทยา จำนวน 118 ไร่ และต่อมา ตำบลได้ตัดถนนทิศตะวันออก จึงทำให้เนื้อที่ของโรงเรียนเหลืออยู่ 114 ไร่
และประชาชนได้ร่วมกันสร้างอาคารเรียนหลังแรกขึ้น โดยสร้างเป็นอาคารเรียนไม้ฝาไม้ไผ่ หลังคามุงจาก ขนาด 3 ห้องเรียน และเปิดรับสมัครนักเรียนเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2520 มีจำนวนทั้งสิ้น 65 คน โดยมีนายชัยศักดิ์ จิตต์ภักดี เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก
สำหรับด้านการเดินทางติดต่อกับโรงเรียน ใช้ถนนลูกรังอยู่ห่างจากถนนเพชรเกษม โดยแยกที่บ้านชมพู่ ตำบลปากหล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ระยะทาง 8 กม. และปัจจุบัน ( พ.ศ.2527) ได้ราดยางเรียบร้อยแล้ว ตัวโรงเรียนห่างจากสถานีรถไฟครองทรายประมาณ 4 กม.
วันที่ 22 กันยายน 2536 สมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมชมโรงเรียนแม่ลานวิทยา เป็นการส่วนพระองค์ พระองค์ได้ทรงทราบข้อมูลเบื้องต้นของโรงเรียนแม่ลานอวิทยา จากการรายงานของนายนริศ ฤทธาภิรมย์ (อาจารย์ใหญ่โรงเรียนแม่ล่นวิทยาขณะนั้น) ว่าโรงเรียนแม่ลานวิทยายังมีพื้นที่ว่างเปล่าที่มิได้ทำประโยชน์ใด ๆ ประมาณ 70ไร่ บริเวณด้านหลังของโรงเรียน
โครงการเยาวชนแม่ลานสำนึกรักบ้านเกิด จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เรื่องการเก็บข้าว และให้นักเรียนมาลงเก็บข้าวในแปลงนาจริง โดยมีนักเรียน ผู้ปกครอง ครูโรงเรียนแม่ลานวิทยาปัตตานี อ.แม่ลาน ร่วมกัน
ปัจจุบัน พ.ศ. 2552 โรงเรียนแม่ลานวิทยามีนักเรียนทั้งสิ้น 178 คน เป็นนักเรียนชาย 109 คนและนักเรียนหญิง 69 คน นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 97 % มีครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 21 คน มีครูจำนวน 15 พนักงานราชการ 3 คน วิทยากรสอนศาสนา 1 คน วิทยากรท้องถิ่น 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 1 คน
ปี พ.ศ. 2553 โรงเรียนแม่ลานวิทยามีนักเรียนทั้งสิ้น 219 คน เป็นนักเรียนชาย 138 คน และนักเรียนหญิง 81 คน นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 97 % มีครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 25 คน มีครูจำนวน 15 คน พนักงานราชการ 3 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน วิทยากรสอนศาสนา 1 คน ครูพี้เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 3 คน
ปี พ.ศ. 2554 โรงเรียนแม่ลานวิทยามีนักเรียนทั้งสิ้น 222 คน เป็นนักเรียนชาย 132 คนและนักเรียนหญิง 90 คน นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 97 % มีครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 25 คน มีครูจำนวน 15 คน พนักงานราชการ 3 คน ครูอัตราจ้าง 2 คนวิทยากรสอนศาสนา 1 คน ครูพี้เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 3 คน
ปี พ.ศ. 2555 โรงเรียนแม่ลานวิทยามีนักเรียนทั้งสิ้น 196 คน เป็นนักเรียนชาย 132 คนและนักเรียนหญิง 64 คน นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 97 % มีครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 25 คน มีครูจำนวน 15 คน พนักงานราชการ 3 คน ครูอัตราจ้าง 2 คนวิทยากรสอนศาสนา 1 คน ครูพี้เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 3 คน
ปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2556 โรงเรียนแม่ลานวิทยามีนักเรียนทั้งสิ้น 219 คน เป็นนักเรียนชาย 144 คนและนักเรียนหญิง 75 คน นักเรียนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 97 % มีครูและบุคลากรทางการศึกษา รวม 25 คน มีครูจำนวน 14 คน พนักงานราชการ 3 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน วิทยากรสอนศาสนา 1 คน ครูพี้เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 คน และลูกจ้างชั่วคราว 3 คน
โครงการเยาวชนแม่ลานสำนึกรักบ้านเกิด จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้เรื่องการเก็บข้าว และให้นักเรียนมาลงเก็บข้าวในแปลงนาจริง โดยมีนักเรียน ผู้ปกครอง ครูโรงเรียนแม่ลานวิทยาปัตตานี อ.แม่ลาน ร่วมกันจัดขึ้น โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน ผู้ปกครองนักเรียนและนักเรียน
นายมะยูนา มะเย็ง ผู้อำนวยการโรงเรียนแม่ลานวิทยา กล่าวว่า วัตถุประสงค์หลักของการจัดโครงการนี้ เพื่อต้องการปลูกฝังให้นักเรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่แตกต่างจากความรู้เดิม มีความรักความผูกพัน และเสริมสร้างความสามัคคีในชุมชน
การที่ครูนำนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และชาวบ้าน ร่วมลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในแปลงนาที่เตรียมไว้ โดย ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า "แกะ" ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นเครื่องมือในการเก็บเกี่ยว จึงทำให้เด็กนักเรียนต่าง ตื่นเต้นที่ได้เก็บเกี่ยวข้าวเอง หลังจากก่อนหน้านี้ได้ ร่วมกันลงมือปักดำต้นข้าวมาแล้ว
นับเป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน และรับรู้คุณค่าของเม็ดข้าวแต่ละเม็ดที่ชาวนาต้องใช้แรงงานทั้งชีวิตในการปลูกข้าวให้ทุกคนได้รับประทานกัน
รอซิดะห์ ปูซู
cr.ข่าวสดออนไลน์ 15 มีนาคม 2559 http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?news