พยาธิ !! เรื่องใหญ่ที่ทุกคนมองข้าม
เป็นที่น่าตกใจว่า คนที่ป่วยอันเนื่องมาจากพยาธิ แต่ไม่รู้ตัว มีมากกว่า 80% ของประชากร http://winne.ws/n5824
พยาธิจะกินเม็ดเลือด ทำให้โลหิตจาง มีอาการที่สังเกตได้หนึ่งในอาการต่อไปนี้
เช่น อ่อนเพลีย นอนเท่าไหร่ก็ไม่สดชื่น, ขี้เซา, เวียนหัว, ไมเกรน, มีปัญหากับสายตา, เบื่ออาหาร, ขี้หนาว, มีลมในท้อง, ท้องอืด, นอนไม่หลับ หรือ หลับแต่ไม่สบายตัว, ไอระคายคอ เป็นต้น
ขอให้สังเกตว่าตัวเองมีอาการหนึ่งอาการใดก็พอ ไม่ใช่ต้องมีทุกอาการ แต่ส่วนใหญ่จะมีอาการอ่อนเพลียควบด้วยเสมอ
หากไม่รักษา ปล่อยไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นต้นเหตุของโรคอื่น เช่น ตาต้อ, ลมชัก, โลหิตจาง, ไมเกรน, โรคหัวใจ, มะเร็งอวัยวะ, พยาธิไชขึ้นสมอง, พยาธิทำลาย ปอด ตับ และ หัวใจ และ อื่น ๆ เพราะในเมื่อเม็ดเลือดต่ำ เพราะพยาธิกิน ทำให้เลือดน้อยไหลเวียนไม่ทั่ว เป็นเหตุให้อวัยวะทุกส่วนทำงานผิดปกติ เสื่อมเร็ว และ ทำให้ร่างกายติดเชื้ออื่น ๆ ได้อีกมากมาย ร้ายที่สุดคือสามารถเกิดอาการ อาการช็อก หมดสติ หรือ หัวใจวายได้
พยาธิตัวแก่จะอาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก และคอยแย่งอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้กิน มีอายุเฉลี่ยอยู่ประมาณ 6 เดีอน - 1 ปี แยกเพศออกเป็นชนิดตัวผู้ และ ชนิดตัวเมียตัวเมียจะออกไข่ประมาณ วันละสองแสนฟอง ไข่จะออกมาพร้อมกับอุจจาระถ้าตกลงไปบนพื้นดินที่มีความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม ประมาณ 25 องศาเซลเซียส เซลในไข่จะแบ่งตัวเจริญเป็นตัวอ่อนได้ภายใน 10 - 21 วัน
เมื่อคนกินอาหารที่ปนเปื้อน หรือสูดหายใจเอาไข่พวกนี้ ( Embryoated egg) เข้าไป ตัวอ่อนพยาธิจะฟักตัวออกมา ไชทะลุลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด หรือ น้ำเหลืองผ่านตับเข้าสู่ หัวใจ ปอด หลอดลม คอหอย หลอดอาหาร แล้วกลับลงมาสู่ลำไส้เล็กมาเจริญเป็นตัวแก่ต่อไป นับตั้งแต่ได้รับไข่พยาธิเข้าไปจนเติบโตเป็นตัวแก่ที่พร้อมออกไข่ได้กินระยะเวลาเพียง 2 เดือน
อาการและลักษณะทางคลีนิค
1.- อาการช่วงที่ตัวอ่อนพยาธิกำลังเดินทาง
ในขณะที่พยาธืตัวอ่อนเดินทางผ่านผนังลำไส้ไปยังปอดนั้น ถ้ามีจำนวนมากจะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ไอ หายใจแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ไออาจมีเสมหะปนเลือด บางครั้งอาจมีตัวพยาธิออกมาด้วย นอกจากนี้ยังเกิดอาการลมพิษ จำนวนเม็ดเลือดขาวอีโอซิโนฟิลขึ้นสูง อาจทำให้เกิดปอดอักเสบได้ เรียกว่า Loeffer's syndrome ( Ascaris pneumonia)
2.- อาการเกิดจากพยาธิตัวแก่
พยาธิตัวแก่จะคอยแย่งอาหารในลำไส้เล็กกิน ดังนั้นในเด็กที่มีพยาธิเป็นจำนวนมากจะเกิดการขาดอาหารได้ โดยเฉพาะพวกโปรตีน บางรายอาจมีอาการคัน ลมพิษ หน้าบวมในกรณีที่มีพยาธิมากอาจไปจับตัวเป็นก้อน ทำให้เกิดอาการลำไส้อุดตันได้ จะมีอาการปวดท้องแบบโคลิค อาเจียน ท้องอืด ถ่ายลำบาก เป็นต้น ในบางครั้งพยาธิอาจเดินทางเข้าไปในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยอาจอาเจียนเอาตัวแก่พยาธิออกมาได้ บางรายพยาธิอาจไชเข้าไปในรูไส้ติ่งทำให้เกิด ใส้ติ่งอักเสบได้
พยาธิ ติดได้ทั้งทางปาก จมูก ผิวหนัง จากอาหารที่สุก ๆ ดิบ ๆ, จากผักสด, จากการหายใจ, จากสัตว์เลี้ยง หมา แมว (ถ้าอยากรู้ search จาก web ทั่วไปได้)
พยาธิจะถ่ายเป็นเชื้อรา ถ้ามีพยาธิเป็นเดือน ๆ เป็นปี ๆ เชื้อราจากพยาธิจะสร้างพังผืดรอบอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดเนื้องอก ซี๊ด และ เป็นต้นตอของมะเร็ง
พยาธิทำให้หมอแผนปัจจุบันวินิจฉัยโรคผิด รักษาโรคนั้นเท่าไหร่ก็ไม่หาย เพราะลืมเรื่องพยาธิไป ฉะนั้น เมื่อพบอาการอ่อนเพลีย แนะนำว่า ควรกินยาถ่ายพยาธิก่อนหลังจากนั้น 3-4 วัน แล้วถ้ายังมีอาการนั้นอยู่ จึงไปรพ. หมอจะวินิจฉัยได้ถูกต้องมากขึ้น (ยกเว้นมีอาการอื่นรุนแรง มีไข้ ควรไปรพ.ทันที)
ปกติ ทุกท่านควรกินยาถ่ายพยาธิทุก ๆ 3 เดือน สมัยนี้มียาถ่ายพยาธิที่ครอบคลุมพยาธิทุกชนิด และ ย่อยสลายออกมาเป็นอุจจาระไม่ใช่ออกมาเป็นตัว หาซื้อได้ตามร้านขายยาเป็นยาสามัญ ฯ ไม่อันตราย ไม่ต้องมีใบสั่งแพทย ์ถามเภสัชกรในร้านได้
ถ้าท่านมีปัญหาสุขภาพ ไม่ว่าเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ ถามตัวเองว่า ตั้งแต่มีอาการนั้น ได้ถ่ายพยาธิแล้วหรือยัง ?
พยาธิ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยง 100% ไม่ได้ แต่ลดโอกาสเสี่ยงได้
ไข่พยาธิสามารถอยู่ได้ในอากาศ การสูดลมหายใจ 1 ครั้ง สามารถพาไข่พยาธิเข้าไปได้ไม่ต่ำกว่า 100 ฟอง พยาธิมาจากไหนได้บ้าง
สัตว์เลี้ยง
ในอุจจาระของสัตว์เลี้ยงที่มีพยาธิ หมา แมว เวลาถ่ายอุจจาระ ก็มีพยาธิอยู่ในนั้น ถ้าเราสัมผัสกับอุจจาระสัตว์ พยาธิก็เข้าตัวได้ทันที เมื่ออุจจาระแห้ง เป็นฝุ่น ปลิวตามลม ไข่พยาธิก็ปลิวไปด้วย แล้วเราก็สูดเข้าไป
สัตว์เลี้ยง หรือ ไม่เลี้ยง พยาธิก็อยู่ได้ทั้งนั้น แมวจรจัด หมาจรจัด มีพยาธิทั้งนั้นแถวบ้าน หรือ ไม่ใช่แถวบ้าน แต่บังเอิญเราจำเป็นต้องไปแถวนั้น แค่หายใจครั้งเดียว ก็เต็มไปด้วยพยาธิได้แล้ว
วิธีลดโอกาสเสี่ยง ก็คือ หากในบ้านมีสัตว์เลี้ยง ต้องให้สัตว์เลี้ยงถ่ายพยาธิเป็นประจำ และ คนในบ้าน ก็ควรถ่ายพยาธิเป็นประจำด้วย แต่หากในบ้านไม่มีสัตว์เลี้ยง แต่ข้างบ้าน หรือ แถวบ้านมีสัตว์เลี้ยง เราก็ควรถ่ายพยาธิเป็นประจำอยู่ดี
เนื้อสัตว์ที่ไม่สุก 100%
เราคิดเพียงว่า ปลาดิบ กับ เนื้อดิบเท่านั้นที่มีพยาธิ แต่เราลืมนึกไปว่า อาหารหลายอย่าง ไม่ได้สุก 100% แต่เขาไม่เรียกมันว่าดิบ เช่น ผัดไทกุ้งสด ถ้าร้านที่ผัดอร่อย จะไม่ผัดกุ้งให้สุก เพราะเนื้อจะไม่อร่อย และไม่แกะเปลือกที่หาง เนื้อกุ้งที่กิน คือสุกประมาณ 75% ส่วนหางที่มีเปลือกหุ้ม ก็สุก 50%
ไข่พยาธิทนความร้อนได้มากกว่า 200 องศาเซลเซียส !
ถ้าพอเข้าใจแล้ว คราวนี้คงนึกออกว่าอาหารประเภทอะไรบ้าง ที่มีโอกาสเสี่ยงกับพยาธิ ไล่เรียงตามนี้
1. เนื้อดิบ หลู้ ลาบดิบ แหนม ข้อนี้เห็นชัด
2. หมูกะทะ หมูเกาหลี BBQ ประเภทนี้ สุก ๆ ดิบ ๆ ของเราสุก แต่เพื่อนเราใช้กะทะรวมกัน เขาดิบ แล้วน้ำในกะทะก็เดือดบ้างไม่เดือดบ้าง ก็รีบใส่เข้าปาก ชิ้นของเราสุกแล้ว แต่อีกชิ้นดิบเพิ่งแปะลงไป สัมผัสโดนกัน เราก็หยิบชิ้นที่สุกมากิน ลืมนึกไปว่า ชิ้นเมื่อกี๊ที่ดิบ สัมผัสโดนแล้ว อาหารประเภทนี้ เสี่ยงกับพยาธิมาก
3. อาหารย่าง และ เผาทั่วไป หมูย่างที่อร่อยคือ สุก 80% มีสีแดงนิด ๆ ไม้นี้สุกยังไม่ทันเอาขึ้น ไม้ต่อไปที่ดิบวางลงมาโดน ไก่ย่างที่อบด้วยตู้ควบคุมอุณหภูมิก็จะมีคุณภาพ ทำให้สุกได้ทั่วถึงกว่า อาหารย่างมีความเสี่ยงรองมาจากพวกข้อ 2.
4. อาหารลวก ความเสี่ยงก็เท่ากับอาหารย่าง ขึ้นอยู่กับว่าเขาลวกนานแค่ไหน
5. อาหารผัด มีโอกาสเสี่ยงน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ 100% ขึ้นอยู่กับว่าผัดนานแค่ไหน เช่นผัดไทที่ได้ยกตัวอย่างไป
อาหารที่ไม่มีความเสี่ยง คือ อาหารต้ม และ อาหารทอด (Deep Fried) การทอดปลาเป็นชิ้น ก็สุกทั่วถึงกว่า เสี่ยงน้อยกว่าการทอดปลาทั้งตัว
การสัมผัสกับดิน หรือ สิ่งปกปรก เข้าห้องน้ำสาธารณะ
วิธีลดความเสี่ยง คือ ควรล้างมือเป็นประจำ ล้างมือบ่อยขึ้นเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสี่ยงน้องกว่าใส่รองเท้าแตะ การเข้าห้องน้ำสาธารณะควรล้างขอบรองนั่งก่อนนั่ง
การที่มีความรู้ละเอียดนี้ ไม่ใช่เพื่อทำให้ประสาทจนไม่ต้องใช้ชีวิตปกติ แต่เพื่อให้สบายใจว่า ถ้าจะทานอาหารเหล่านี้ ก็ควรจะทานยาถ่ายพยาธิเป็นประจำด้วย แค่นี้ก็จะมีความสุขเป็นปกติ
เมื่อรู้แล้วก็จะเห็นว่า พยาธินั้น เราสามารถติดกันได้ทุกวัน เป็นแล้วเป็นอีก ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย และ การกินของเรา
***การ พยากรณ์เป็นความเชื่อส่วนบุคคล และ เป็นเพียงทางเลือกในการประเมินสุขภาพเท่านั้น ท่านควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
*ชนิดของพยาธิ วงจรชีวิต วิธีรักษา
อ่านกระทู้เกี่ยวกับ พยาธิ จากบทวิจัยของ ดร.ฮัลด้า คลาร์ค ได้ที่นี่