"ยกหมรบใหญ่" "ชิงเปรต!" ประเพณีที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีของลูกหลานเมืองคอน
ช่วงวันแรม 13 - 15 ค่ำเดือนสิบ ของทุกปี ชาวนครศรีธรรมราช จะยก “หมรับใหญ่” ไปที่วัดเพื่อทำบุญสารทเดือนสิบอุทิศให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับกันอย่างคึกคัก http://winne.ws/n8489
ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นประเพณีที่ลูกหลานที่มีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์จะต้องเข้าร่วมทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ซึ่งเป็นประเพณีที่แสดงความกตัญญูของลูกหลานต่อพรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว สืบทอดมายาวนานหลายร้อยปี โดยมีคติความเชื่อว่า ในช่วงแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๐ ไปจนถึงแรม ๑๕ ค่ำเดือน ๑๐ จะเป็นช่วงที่ประตูยมโลกจะเปิด และปลดปล่อยให้ดวงวิญญาณที่ต้องชดใช้กรรมในนรกภูมิได้มีโอกาสพักโทษ และขึ้นมารับส่วนบุญกุศลที่ลูกหลานอุทิศให้บนโลกมนุษย์เพียงปีละครั้ง และในวัน แรม ๑๔ แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ (ซึ่งจะประมาณ ปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคม)จะเป็นวันที่ลูกหลานจะจัดหมรับใหญ่ไปวัด ซึ่งเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลครั้งใหญ่สุดในปี อาจจะคล้ายๆ กับการเลี้ยงส่งญาติ หรือบรรพบุรุษที่ต้องเดินทางกลับในวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ เพื่อไปชดใช้กรรมตามเดิม จนกว่าจะหมดเวรหมดกรรม
· งานบุญสารทเดือนสิบ จะเริ่ม ตั้งแต่วัน แรม ๑๓ ค่ำ เดือนสิบเรียกว่าวันจ่าย พ่อค้าแม่ค้าจะนำของมาขาย ที่ตลาดทุกแห่งจะคลาคล่ำไปด้วยฝูงชนมาจับจ่ายซื้อของ เพื่อเอาไปจัด หมรับ ต้องใส่พืชผักผลไม้และที่สำคัญต้องมีขนมเดือนสิบ มีขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซัม ขนมไข่ปลาข้าวกระยาสารท และขนมอื่นๆ ทั่วไปที่มีขายในตลาด
· วันแรม ๑๔ ค่ำ เป็นวันยก หมรับไปถวายวัดมีการตกแต่งกันอย่างสวยงามตามฐานะของแต่ละคน หรือหมู่คณะ มีขบวนแห่กันครึกครื้นสวยงาม มีการประกวด หมรับ เพื่อชิงรางวัลถือเป็นงานประจำปีอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า"งานเดือนสิบ"
· วันแรม ๑๕ ค่ำ จะเป็นวันทำบุญอีกเป็นวันสุดท้าย เมื่อถวายเพลพระและบังสกุลเสร็จแล้ว ก็จะเอาขนมเดือนสิบ ไปวางไว้ ตามต้นไม้ หรือกำแพงวัดแต่บางวัดได้จัดที่วางไว้ให้ โดยเฉพาะ เรียกว่าการ "ตั้งเปรต"คือให้พวกผีไม่มีญาติ ได้กิน หลังจากการตั้งเปรตและอุทิศส่วนกุศลแล้ว เพื่อสร้างความบันเทิง และสนุกสนาน ก็ให้บุคคลทั่วไปเข้าไปแย่งชิงขนมเหล่านั้นได้ เรียกว่า "ชิงเปรต" เป็นอันเสร็จสิ้นการทำบุญสารทเดือนสิบ
ขนมหวาน 5 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของงานบุญเดือนสิบ คือ
ขนมลา ใช้แทนเสื้อผ้า แพรพรรณสำหรับนุ่งห่ม