9 นิสัยรักการอ่าน หนุนความสำเร็จเด็ก

ผลการศึกษาพบว่า การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตลอดชีวิต จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จในระยะยาว หากเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ภายในชั้น ป.3 ย่อมไม่สามารถเรียนได้ทัน เด็กสมัยนี้ เริ่มไม่สนใจอ่านหนังสือหลังอายุ 8 ขวบ http://winne.ws/n9154

2.2 พัน ผู้เข้าชม
9 นิสัยรักการอ่าน หนุนความสำเร็จเด็ก

การอ่านไม่เคยมีความสำคัญ แม้จะมีการเผยแพร่ทั้งวิดีโอและเทปบันทึกเสียงแต่เนื้อหาส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปของถ้อยคำที่เขียนไว้ และขณะนี้ด้วยอินเทอร์เน็ตและโซเชียลมีเดีย จึงมีถ้อยคำมากมายกว่าที่เคยมีมา

ผลการศึกษาพบว่า การปลูกฝังนิสัยรักการอ่านตลอดชีวิต จำเป็นสำหรับการประสบความสำเร็จในระยะยาว หากเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ภายในชั้น ป.3 ย่อมไม่สามารถเรียนได้ทัน ข่าวดีคือเด็กอเมริกันอายุระหว่าง 6-17 ปี อย่างน้อยครึ่งหนึ่งอ่านหนังสืออย่างน้อย 1 เล่ม แต่เด็กหลายคนในวันนี้ เริ่มไม่สนใจอ่านหนังสือหลังอายุ 8 ขวบ

นางเอริน กันจู สมาชิกวายพีโอ ต้องการมั่นใจว่าเด็กทุกคนได้รับประโยชน์จากนิสัยรักการอ่านตลอดชีวิต เธอเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหาร “รูมทูรี้ด” องค์กรที่ทุ่มเทเรื่องการรู้หนังสือระหว่างชั้น ป.1 และ ป.2 ช่วงเวลาสำคัญที่จะตัดสินว่า เด็กพัฒนาทักษะและนิสัยรักการอ่านไปจนถึงตลอดชีวิตเป็นนักอ่านอิสระได้หรือไม่

นางกันจู อุทิศตัวให้กับการเปลี่ยนแปลงชีวิตเด็กในประเทศรายได้ต่ำหลายล้านคน ด้วยการมุ่งเน้นเรื่องการรู้หนังสือและความเสมอภาคทางเพศในการศึกษา เธอแนะนำ 9 นิสัยรักการอ่าน ที่จะช่วยให้ลูก ๆ ของคุณเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตและเป็นหลักประกันความสำเร็จ

1. อ่านให้เด็กฟังตั้งแต่เริ่มต้น

เด็กพัฒนาทักษะด้านภาษาได้ดีเมื่อเจอคำศัพท์ที่หลากหลาย ดังนั้นพ่อแม่หรือผู้ดูแลต้องคุย ร้องเพลง และอ่านหนังสือให้เด็กฟังตั้งแต่เริ่มต้น นางกันจูอ่านหนังสือให้ลูกสาวฟังวันละ 10-15 นาทีก่อนนอนทุกคืน

2. เป็นต้นแบบรักการอ่าน

เด็กมักจะดูพ่อแม่เป็นต้นแบบ พวกเขาจึงจำเป็นต้องเห็นพ่อแม่อ่านหนังสืออยู่เป็นนิสัย ถ้าลูกเห็นพ่อแม่มีความสุขเมื่อได้อ่านหนังสือดี ๆ พวกเขาก็อยากอ่านด้วย

3. อ่านดังๆสร้างอารมณ์ร่วม

เด็ก ๆ จะสนใจเรื่องราวที่ผู้ใหญ่อ่านด้วยความกระตือรือร้น ผู้ใหญ่จึงต้องอ่านด้วยน้ำเสียงแตกต่างกันและแสดงออกทางสีหน้า

4. ช่วยให้เด็กๆอ่านด้วยความสนุกสนาน

การอ่านไม่ควรเป็นแค่กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบ้านหรือการเรียน เด็กควรได้รับอนุญาตให้เลือกอ่านหนังสือที่ตนสนใจ ควรให้เวลาเด็กอ่านหนังสือทุกวัน

5. ให้เด็กได้เจอหนังสือคุณภาพสูงที่หลากหลาย

คุณภาพหนังสือที่พวกเขาได้อ่านเกี่ยวข้องโดยตรงกับนิสัยรักการอ่าน เด็ก ๆ ในโครงการรูมทูรี้ดชอบหนังสือที่มีรูปเล่มและภาพประกอบน่าสนใจ ทั้งยังชอบเรื่องเล่า เช่น นิทานพื้นบ้านและเรื่องในจินตนาการ

6. ชวนเด็กๆไปห้องสมุดหรือร้านหนังสือ

พาเด็ก ๆ ไปห้องสมุดประชาชนหรือร้านหนังสือด้วยความสนุกสนาน และทำกิจกรรมสร้างสรรค์ด้วยกัน พาลูกสำรวจหมวดหมู่หนังสือ ช่วยกันเลือกหนังสืออ่าน

7. ใช้ห้องสมุดเป็นการสำรวจไม่ใช่บทเรียน

รูมทูรี้ดพบว่า เด็กบางคนในโครงการไม่สนใจอ่านหนังสือหากห้องสมุดกำหนดให้อ่านเฉพาะบทเรียนเท่านั้น ต้องปล่อยให้ห้องสมุดเป็นแหล่งค้นคว้าและผจญภัย

8. ส่งเสริมให้ครูและบรรณารักษ์ห้องสมุดโรงเรียนอบรมโครงการพิเศษ

9.พร้อมรับการปฏิวัติดิจิทัล

แม้ไม่มีความรู้สึกใดเปรียบเทียบได้กับการได้อ่านหนังสือ แต่การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เนื้อหาดิจิทัลก็ไม่อาจมองข้ามได้ บ้านและโรงเรียนหลายแห่งมีอีบุ๊กและเทคโนโลยีการอ่านอื่น ๆ แล้ว นางกันจูเชื่อว่า ผู้ปกครองควรตระหนักถึงพลังอันมหาศาลที่เทคโนโลยีมีต่อความสนใจอ่านของเด็ก ๆ และพัฒนาทักษะการอ่าน แม้เธอจะรักหนังสือและไม่สนับสนุนให้ตัดหนังสือออกจากชีวิตเด็ก แต่การเพิ่มการอ่านในรูปดิจิทัลเพื่อสร้างแรงบันดาลใจถือเป็นเรื่องดี


ขอบคุณ, http://inc.bangkokbiznews.com/article/content/154

แชร์