อดีตประธานาธิบดีสวิส..ย้ำว่าการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติดถือเป็นอาชญากรรม

นางรูธ ไดรฟัส ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน GCDP และอดีตประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ เข้าพบกับตัวแทนรัฐบาลไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อหารือกับรัฐบาลไทยเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านยาเสพติด โดย GCDP สนับสนุนการปรับแก้กฎหมาย http://winne.ws/n14654

669 ผู้เข้าชม
อดีตประธานาธิบดีสวิส..ย้ำว่าการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติดถือเป็นอาชญากรรมแหล่งภาพจาก dmcpost - blogger

ประธานคณะกรรมาธิการสากลว่าด้วยนโยบายยาเสพติด หรือ GCDP ย้ำว่าการวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติดถือเป็นอาชญากรรม พร้อมทั้งเสนอให้ไทยลดโทษทางอาญาในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด หลังพบว่าการลงโทษขั้นร้ายแรงและโทษประหารชีวิตไม่ได้ช่วยลดปัญหายาเสพติดแต่อย่างใด

นางรูธ ไดรฟัส ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน GCDP และอดีตประธานาธิบดีสวิตเซอร์แลนด์ เข้าพบกับตัวแทนรัฐบาลไทยในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อหารือกับรัฐบาลไทยเรื่องการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านยาเสพติด โดย GCDP สนับสนุนการปรับแก้กฎหมายและบทลงโทษในคดียาเสพติดของไทยที่ประกาศใช้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา

นางไดรฟัสกล่าวด้วยว่า นโยบายยาเสพติดของไทยที่รณรงค์ให้เลิกปลูกฝิ่น ถือเป็นแบบอย่างความสำเร็จ เพราะสามารถลดปริมาณฝิ่นที่เป็นต้นตอของยาเสพติดได้โดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง แต่ในขณะเดียวกัน มาตรการลงโทษขั้นรุนแรงในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดกลับส่งผลให้มีนักโทษในเรือนจำเป็นจำนวนมาก เข้าขั้นแออัด ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และละเมิดสิทธิมนุษยชน ทาง GCDP จึงเสนอให้รัฐบาลไทยเปิดพื้นที่ในการถกเถียงเพื่อหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยใช้วิธีการที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อคนในสังคม ซึ่งรวมถึงผู้ใช้ยาเสพติดเอง

ทั้งนี้ GCDP และองค์เครือข่ายในประเทศไทยได้ร่วมกันเปิดตัวรายงานว่าด้วยการปรับเปลี่ยนนโยบายยาเสพติดเพื่อเสนอต่อประชาคมโลก เมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมา โดยเป็นการอ้างอิงข้อมูลที่รวบรวมจากประเทศภาคีทั่วโลก มีหลายกรณีที่ยืนยันได้ว่า การใช้มาตรการลงโทษที่รุนแรงในคดียาเสพติด ทำให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การยุติโทษทางอาญาในคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเสพหรือค้ายาเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการเพิ่มศักยภาพของคนในสังคมและชุมชน รวมถึงการรณรงค์ให้เกิดการป้องกันยาเสพติดอย่างจริงจัง ขณะที่การเปิดสถานบำบัดให้ผู้ใช้ยาเข้าถึงการรักษาบำบัดได้อย่างเปิดเผย จะช่วยสร้างความไว้วางใจระหว่างรัฐและประชาชนได้ดีกว่า

นอกจากนี้ นางไดรฟัสยังกล่าวด้วยว่า การวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องสงสัยในคดียาเสพติดเป็นอาชญากรรมที่เลวร้ายที่สุดที่รัฐกระทำต่อประชาชน ขณะที่อีกหลายประเทศ นอกเหนือจากประเทศไทย ต่างให้คำมั่นสัญญาว่าจะยกเลิกโทษประหารในคดียาเสพติด เพราะยังไม่มีประเทศใดพิสูจน์ได้ว่าการลงโทษประหารชีวิตช่วยลดปัญหายาเสพติดได้

ที่มา : http://news.voicetv.co.th/world/477942.html

แชร์