เรื่อง "นางลาชเทวธิดา" พึงทำบุญบ่อย ๆ การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
เรื่อง "นางลาชเทวธิดา" พึงทำบุญบ่อย ๆ การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ : ท่านพระมหากัสสปอยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌาณแล้ว ออกในวันที่ ๗ ตรวจดูที่เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยทิพยจักษุ เห็นหญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่ http://winne.ws/n10112
"พึงทำบุญบ่อย ๆ" การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา
กยิราเถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย.
"ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่า ความสั่งสมบุญ ทำให้เกิดสุข."
(พุทฺธ) ธมฺมปทฏฺฐกถา ๕/๙
ถ้าหากว่ามีโอกาสได้ทำบุญอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นต้น ท่านว่าให้หาโอกาสทำบุญนั้นบ่อย ๆ อย่าหยุดเสียด้วยคิดว่า พอละ เท่านี้ก็พอ ทำบุญครั้งเดียวก็พอแล้ว เป็นต้น แต่ควรหาโอกาสทำบุญนั้น ๆ ร่ำไป อีกทั้งในขณะที่ทำบุญนั้น ให้ทำความพอใจในบุญนั้นด้วย คือทำจิตให้ยินดีในบุญ เพลิดเพลินในบุญ เบิกบานในบุญ ทำความอุตสาหะในการประกอบบุญกรรมนั้น ๆ เป็นอย่างดี เพราะยิ่งสั่งสมบุญพอกพูนบุญไว้มากเท่าไร ย่อมก่อให้เกิดสุขได้มากเท่านั้น การสั่งสมบุญก่อให้เกิดความสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกหน้า.
ดังเช่น เรื่องนางลาชเทวธิดา ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางลาชเทวธิดา
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น. เรื่องเกิดขึ้นแล้วในเมืองราชคฤห์.
หญิงถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสป ความพิสดารว่า
ท่านพระมหากัสสปอยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌาณแล้ว ออกในวันที่ ๗ ตรวจดูที่เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยทิพยจักษุ เห็นหญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่
พิจารณาว่า "หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ?" รู้ว่า "มีศรัทธา" ใคร่ครวญว่า "เธอจักอาจเพื่อทำการสงเคราะห์แก่เราหรือไม่หนอ?" รู้ว่า "กุลธิดาเป็นหญิงแกล้วกล้า จักทำการสงเคราะห์เรา ก็แลครั้นทำแล้ว จักได้สมบัติเป็นอันมาก" จึงครองจีวรถือบาตร ได้ยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี.
กุลธิดาพอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส มีสรีระอันปีติ ๕ อย่างถูกต้องแล้ว
กล่าวว่า "นิมนต์หยุดก่อน เจ้าข้า" ถือข้าวตอกไปโดยเร็ว เกลี่ยลงในบาตรของพระเถระแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์๑-
ได้ทำความปรารถนาว่า "ท่านเจ้าข้า ขอดิฉันพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว."
ขอบคุณข้อมูลจาก เส้นทางบุญ