"พระของขวัญ" วัดพระธรรมกายทำไว้แยกชนชั้นหรือเปล่า ? แล้วกิเลสจะหมดได้อย่างไร?

บางคนติดไว้ที่เสื้อเพื่อแสดงฐานะว่าทำบุญมากเท่าไหร่หรือ ? จะเอาบุญกันจริง ๆ ทำไมต้องใส่ชุดขาวราคาแพง ติดของที่ระลึกที่เสื้อสวย ๆ เอาไว้อวดกัน แบ่งชนชั้นกันหรือเปล่า ไหนว่าไปวัดแล้วลดมานะทิฏฐิได้ หรือวัดสอนให้คนมีกิเลสเพิ่ม http://winne.ws/n15716

1.4 พัน ผู้เข้าชม
"พระของขวัญ" วัดพระธรรมกายทำไว้แยกชนชั้นหรือเปล่า ? แล้วกิเลสจะหมดได้อย่างไร?

วัดพระธรรมกายเอาพระของขวัญมาเป็นโปรโมชั่นอยากให้คนทำบุญ ?

         พระของขวัญ ถือเป็นตัวแทนของพระรัตนตรัยอย่างหนึ่ง คือเป็นรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้าง บางทีอาจจะเป็นรูปครูบาอาจารย์ของเราบ้าง ซึ่งก็อาจจะเป็นตัวแทนของสังฆรัตนะ แต่หลักๆ ก็คือว่า พระของขวัญที่ให้ไป จะเป็นตัวแทนของสิ่งที่มีคุณค่าทางใจ เราไม่สามารถเอามาตีเป็นตัวเงินได้ว่าต้องเท่าไหร่

         หลวงพ่อท่านจึงใช้คำว่า พระของขวัญ เพราะคือของขวัญจริงๆ สำหรับคนที่เขาทุ่มเท เอาไว้ระลึกนึกถึงสิ่งที่เขาทำ 

บางคนติดไว้ที่เสื้อเพื่อแสดงฐานะว่าทำบุญมากเท่าไหร่ ?

         ความจริงตั้งแต่แรกพอเริ่มสร้างวัดขึ้นมา หลวงพ่อท่านก็สอนไม่ให้เรามีความรู้สึกว่า แตกต่าง สิ่งที่เราพยายามจะทำก็คือ อยากให้ทุกคนที่มาวัดแล้วมาเอาบุญกันจริงๆ ไม่มีอะไรที่เหลื่อมล้ำ เพราะฉะนั้นก็เลยปรับอะไรกันหลายอย่าง

อย่างเช่นว่าให้ใส่เป็น ชุดขาว จะได้เหมือน ๆ กัน เแล้วก็คุณไม่ต้องแต่งอะไรมาเยอะหรอก ดูแล้วใจมันไม่ค่อยนิ่ง ไม่ค่อยสงบ มาถึงปุ๊บก็จะกลายเป็นว่า มานั่งดูกัน อวดกันเปล่าๆ 

        หลวงพี่ว่าเป็นเพราะคนในปัจจุบัน บางทีมองคนด้วยกันด้วยความไม่ไว้ใจ อาจจะเป็นความเสื่อมศรัทธาในความดีงามของผู้คน คือไม่คิดว่าจะมีคนดีที่ทำดีจริงๆ ในโลกใบนี้ เพราะฉะนั้นเวลาเราเห็นใครทำอะไร เรามักจะตั้งป้อม หรือคิดว่าน่าจะเป็นอยางนั้นอย่างนี้

"พระของขวัญ" วัดพระธรรมกายทำไว้แยกชนชั้นหรือเปล่า ? แล้วกิเลสจะหมดได้อย่างไร?

ถามว่าอยากให้เอาไปทำอะไร

        ความจริงหลวงพ่อจะพูดเสมอว่า พระของขวัญที่ได้ไป อยากให้เอาไปเป็นนิมิตในการปฏิบัติธรรม ซึ่งคุณจะจำแม่นมากเลยว่าคุณได้มาได้ยังไง แล้วมันจะเกิดความปลื้มใจที่ได้ระลึกนึกถึง ทำให้ใจเบิกบานมีความสุข คือเราก็มองอะไรไปหลายๆ ชั้นเหมือนกัน

เพราะฉะนั้นยังคงยืนยันว่า ต้องการเอาไว้ให้ผู้ทำบุญได้เอาไว้ระลึกนึกถึง ซึ่งแน่นอนก็จะมีว่าคุณทุ่มเท คุณทำบุญมาในระดับแบบนี้ ก็เอาพระของขวัญชิ้นนี้ไป จะได้นึกถึงว่าตอนนั้น คุณทุ่มเทมากจึงได้องค์นี้มา

ยึดติดหรือเปล่า...ปลื้มกับการได้รับวัตถุมงคล ?

         หลวงพี่ก็มีโอกาสไปบ้านโยมที่ทำบุญอยู่ในวัด เห็นพระของขวัญเต็มตู้ไปหมดเลย ซึ่งถามว่าเป็นเครื่องอวดฐานะไหมก็ไม่ เพราะก็เก็บอยู่ในบ้าน  เผลอ ๆ วันดีคืนดีเขาก็เอาไปมอบให้คนโน้นคนนี้ต่อด้วยซ้ำไป

ถ้าเรามองในแง่ของโยม ที่ใช้ชีวิตอยู่ข้างนอก มันก็เป็นไปได้ที่เขาจะรู้สึกภาคภูมิใจ เพราะเขาได้มาด้วยความยากลำบาก เขารู้ว่าได้ทุ่มเทอะไรไปเท่าไหร่ 

จึงได้สิ่งนี้มาเป็นเครื่องระลึกนึกถึงว่า ครั้งนี้ฉันได้ทุ่มทำบุญเยอะจังเลย  

        ยกตัวอย่างเช่น เขาไม่เคยเป็นประธานอะไรมาเลย แล้ววันหนึ่งเขาเป็นได้ประธาน เขาก็ย่อมจะภาคภูมิใจในสิ่งที่เขาทำ ณ ตรงนั้น การติดองค์พระจึงเป็นสิ่งที่บอกว่า เขาภูมิใจ  เพราะครั้งหน้าเขาก็อาจจะไม่ได้เป็นแบบนี้

อีกความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจน คือเรื่องของที่นั่งแถวหน้า ? 

        หลวงพี่เข้าใจว่าคงจะมีความรู้สึกนี้อยู่บ้างสำหรับคนบางคนนะ ซึ่ง หลวงพ่อ ท่านก็พยายามจะแก้ตรงนี้ให้เหมือนกันคือ ท่านก็พูดติดตลกนะว่า

เอ้อ... ถ้าเป็นไปได้เราก็อยากจะให้นั่งแถวเรียงหนึ่ง คือแบบให้ทุกคนมานั่งแถวแรกกันหมดเลยดีไหมจะได้ไม่มีแถวที่สอง ที่สาม 

 ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ ก็ต้องนั่งถัดๆ กันไป ทีนี้ในการนั่งถัดกันไปมันมีนัยอะไรหรือเปล่า

"พระของขวัญ" วัดพระธรรมกายทำไว้แยกชนชั้นหรือเปล่า ? แล้วกิเลสจะหมดได้อย่างไร?

นั่งแถวไหน ใช้เกณฑ์อะไรวัด ?

         วัดก็ใช้เกณฑ์เหมือนเดิมก็คือว่า คุณเป็นคนที่ทุ่มเทไหม อันนี้เราคิดในแง่การที่ใครได้นั่งหน้ากว่ากันนะ พระน่ะได้นั่งหน้าสุดทุกทีเลย คุณอิจฉาพระไหม...ถ้าใช่คุณเข้ามาสิ มาบวชด้วยกัน คือเรามาอยู่ตรงนี้เราเอาชีวิตเข้าแลกแล้ว

       คนที่เรายกให้นั่งแถวหน้าเหมือนกัน ก็ไม่ใช่คนที่ทำบุญแบบมหาศาลก็ได้นะ แต่เป็นคนเก่าคนแก่ที่มีคุณูปการ ทุ่มเททั้งชีวิตให้กับวัดตั้งแต่สร้างใหม่ๆ สมัยวัดยังไม่มีอะไรเลย

         การนั่งอยู่ข้างหน้ามีข้อดีคือ ได้นั่งอยู่ใกล้พระ มีสมาธิมากกว่าแถวอื่น ๆ หรือถ้าหลวงพ่อท่านมาก็ใกล้หลวงพ่อหน่อยบางทีหลวงพ่อมองไม่เห็นคนเก่า ท่านไม่ได้ถามว่าเขาทำบุญไหม แต่ท่านถามว่าทำไมเขาไม่มา เขาไปไหน ไปตามเขากลับมา

เพราะหลวงพ่ออยากให้เขาได้บุญต่อเนื่อง ไปจนกระทั่งถึงวันสุดท้ายในชีวิตเขา 

เพราะฉะนั้นมันมีมีหลายแบบมากสำหรับคนที่ได้มานั่งแถวหน้า ส่วนคนที่นั่งแถวสองสาม หรือสี่ก็มีสลับหมุนกันไปหมุนกันมา ไม่ใช่ว่าคนนี้ต้องเป็นหนึ่งตลอดกาล 

        ยกตัวอย่างประธานกฐินก็ได้ คนข้างนอกก็รู้ว่าลูกศิษย์วัดที่เป็นมหาเศรษฐีฐานะดีๆ มีอยู่เยอะ แต่บางปีก็ไม่ได้เป็นประธาน เขาก็ไปเดินข้างหลังเหมือนกัน

         ซึ่งคนที่เป็น "ประธาน" เดินอยู่ข้างหน้า ถามว่ารวยเท่าเขาไหม ก็ไม่เท่านะ แต่วันนี้เขาได้เดินข้างหน้าเพราะอะไร.!


อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : http://talk--secret.blogspot.com/2017/05/blog-post_21.html

แชร์