สงสัย! กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ควรมีคำว่า 'วัด' อยู่กับชื่อโรงเรียน..นั้นดีอย่างไร?

กลับมาเป็นประเด็นในบางสื่ออีกครั้ง เมื่อโรงเรียนวัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความเคลื่อนไหวคำว่า วัด ไม่ควรออกจากชื่อโรงเรียน โดยข่าวบอกว่า จะมีการทำประชาพิจารณ์ของนักเรียนในโรงเรียน ? http://winne.ws/n17163

3.3 พัน ผู้เข้าชม
สงสัย! กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ควรมีคำว่า 'วัด' อยู่กับชื่อโรงเรียน..นั้นดีอย่างไร?

โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด และมีคำว่า 'วัด' เป็นชื่อโรงเรียน ? ก็ดีแล้ว..

       ขอชื่นชมจากใจ.เมื่อโรงเรียนวัดแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร มีความเคลื่อนไหวที่ทำประชาพิจารณ์ กับนักเรียน ในโรงเรียน..ขอให้คำว่า วัด อยู่กับชื่อโรงเรียน  ตลอดไป..ดีหรือไม่ ? 

สงสัย! กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ควรมีคำว่า 'วัด' อยู่กับชื่อโรงเรียน..นั้นดีอย่างไร?

กว่าจะเป็นโรงเรียนวัด

       สมัยก่อน การศึกษาของไทยสอนกันแต่ในบ้าน วัด วัง เท่านั้น และเป็นการสอนเฉพาะเด็กชาย จนมีการปฏิรูปการศึกษาในสมัยรัชกาลที่ 5  จึงเกิดการศึกษาในระบบโรงเรียนขึ้น และเป็นการศึกษาของทั้งเด็กชายและเด็กหญิง

       ทรงมีความห่วงใยว่า “เด็กชั้นหลังจะเหินห่างจากศาสนา จนเลยเปนคนไม่มีธรรมในใจมากขึ้น” และถ้า “เปนคนไม่มีธรรมเปนเครื่องดำเนิน ตาม คงจะหันไปทางทุจริตโดยมาก ถ้ารู้น้อย ก็โกงไม่ค่อยคล่อง ฤาโกงไม่สนิท ถ้ารู้มากก็โกงคล่องขึ้น และโกงพิสดารมากขึ้น”

สงสัย! กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ควรมีคำว่า 'วัด' อยู่กับชื่อโรงเรียน..นั้นดีอย่างไร?

     ในปีพ.ศ. 2427  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ตั้งโรงเรียนหลวงเพิ่มขึ้นตามวัดหลายแห่ง ทั้งในกรุงเทพมหานครและหัวเมือง โรงเรียนสำหรับสามัญชนแห่งแรก ตั้งขึ้นที่วัดมหรรณพาราม ถนนตะนาว มีชื่อว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพาราม”  ต่อมาเรียกว่า “โรงเรียนวัดมหรรณพ์” สถานที่เรียนเดิมนั้นใช้หอสวดมนต์ คณะ ๑ เป็นที่เรียน เป็นการพระราชทานการศึกษา ปวงชนครั้งแรก

       ซึ่งการตั้งโรงเรียนในวัด ทำให้ได้ใช้ศาลาวัดเพื่อทำการเรียนการสอนหนังสือ เป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดินในส่วนการก่อสร้างอาคารเรียนใหม่ ประเพณีของไทยก็นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในวัดอยู่แล้ว  และรัชกาลที่ 5ได้สร้างโรงเรียนตามวัดวาอารามต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และ หัวเมืองต่างๆ ขึ้นอีกหลายแห่ง

สงสัย! กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ควรมีคำว่า 'วัด' อยู่กับชื่อโรงเรียน..นั้นดีอย่างไร?

โรงเรียนวัดในปัจจุบัน

       จากการสำรวจโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ใช้คำว่า วัด นำหน้าชื่อทั่วประเทศมีทั้งหมด 21,125 แห่ง เป็นโรงเรียนระดับประถม 20,907 แห่ง และโรงเรียนระดับมัธยมอีก 218 แห่ง

ทำไมบางแห่งจึงไม่อยากมีคำว่า “ วัด” ในชื่อโรงเรียน?

       ได้มีโรงเรียนหลายแห่งเปลี่ยนชื่อโดยเอาคำว่า วัด ออก โรงเรียนที่เปลี่ยนชื่อนั้นฝ่ายผู้บริหารโรงเรียน หรือผู้ปกครอง มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อชื่อวัดนำหน้า โดยคิดว่าเป็นโรงเรียนชั้นสอง และไม่นิยมส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนวัด

       เป็นเหตุให้ คณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ของสภาผู้แทนราษฎร เสนอต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ออกคำสั่งแก่โรงเรียนวัดที่ใช้พื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ ที่เปลี่ยนชื่อแล้วรวมทั้งกำลังจะเปลี่ยนชื่อให้นำชื่อ วัด ใส่ไปดังเดิม 

       ซึ่งมหาเถรสมาคมเห็นชอบตามข้อเสนอ จึงได้ออกมติมหาเถรสมาคมห้ามเปลี่ยนชื่อโรงเรียนโดยตัดคำว่าวัดออก ส่วนโรงเรียนที่เปลี่ยนชื่อไปแล้วให้เปลี่ยนกลับใช้ชื่อเดิม ทั้งนี้ให้ยกเว้นโรงเรียนที่ใช้ชื่อพระราชทาน 

ส่วนโรงเรียนใดไม่ปฏิบัติตามจะห้ามใช้พื้นที่ของวัด ตลอดจนที่ธรณีสงฆ์อื่น ๆ นอกจากคำสั่งเรื่องการเปลี่ยนชื่อแล้วยังได้ให้สถาบันการศึกษาหรือโรงเรียนวัดร่วมมือกับทางวัดในการพัฒนาโรงเรียน

สงสัย! กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ควรมีคำว่า 'วัด' อยู่กับชื่อโรงเรียน..นั้นดีอย่างไร?

       ปี พ.ศ. 2554 มหาเถรสมาคมได้ออกมติเกี่ยวกับโรงเรียนวัด โดยไม่อนุญาตให้นักเรียนหญิงมุสลิมแต่งกายโดยคลุมฮิญาบมาโรงเรียนวัด ทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วิถีไทย และวิถีพุทธ และกฎระเบียบของวัด ซึ่งกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นกับโรงเรียนวัดหนองจอก ซึ่งได้มีมติออกมาดังนี้

       1. โรงเรียนหรือหน่วยราชการใดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ การใช้พื้นที่ต้องปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วิถีไทย และวิถีพุทธ และกฎระเบียบของวัด

        2. ให้คณะสงฆ์มีส่วนร่วมในการพิจารณาการแต่งตั้งผู้บริหารของโรงเรียนหรือหน่วยราชการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์

       3. ควรให้พระสงฆ์เข้าไปมีบทบาทในการกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา หลักคุณธรรมจริยธรรมทุกระดับชั้น

       4. โรงเรียนหรือหน่วยราชการใดขอใช้พื้นที่ของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ จักต้องหารือและได้รับความยินยอมจากเจ้าอาวาส และคณะสงฆ์ผู้ปกครองทุกระดับ จนถึงเจ้าคณะจังหวัดก่อน

สงสัย! กรณีโรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่วัด ควรมีคำว่า 'วัด' อยู่กับชื่อโรงเรียน..นั้นดีอย่างไร?

สำหรับโรงเรียนที่ได้นำคำว่า "วัด" ออกจากชื่อโรงเรียนไปแล้วนั้น ..คิดดีแล้วหรือจึงไม่อยากชื่อว่า โรงเรียนวัด.....?

     1. โรงเรียนวัด เป็นโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในที่ธรณีสงฆ์ หรือตั้งในบริเวณวัด หรือใช้ทุนทรัพย์ของวัด

     2. นักเรียนในโรงเรียนวัด มีโอกาสได้เรียนรู้พระพุทธศาสนา สวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมจากพระในวัด ทั้งครูและนักเรียนอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เป็นบุญกุศล สะดวกในการไปทำบุญ ถวายสังฆทาน 

     3. เจ้าอาวาสที่โรงเรียนวัดตั้งอยู่ ให้การสนับสนุนโรงเรียนวัดตลอดมา

    4. หากคิดว่า โรงเรียนวัดเป็นโรงเรียนชั้นสอง ทำไมจึงมีคนเก่งคนดี คนคุณภาพ ของประเทศไทยจำนวนมากจบจากโรงเรียนวัด?  ปัจจุบันเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมืองในทุกสาขาอาชีพ  นักเรียนโรงเรียนวัดสามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทยก็เคยมีมาแล้ว  โรงเรียนวัดเป็นตัวแทนของประเทศไปแข่งขันทั้งด้านวิชาการ ดนตรี กีฬา ระดับนานาชาติ และได้รับชัยชนะ มีให้เห็นมากมาย

     5. ในขณะที่โรงเรียนทางเลือกของเอกชนหลายแห่ง อยากเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ เพราะเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนาในการสอนวิชาชีวิต และสร้างคนให้สมบูรณ์ มีการนำพระพุทธศาสนาเข้าสู่โรงเรียน ผู้ปกครองยินดีจ่ายเงินค่าเทอมหลายแสนบาทต่อปี เพื่อให้โรงเรียนแบบนี้ยังอยู่ได้ในสังคม   แต่ทำไมโรงเรียนที่ใกล้ชิดพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว บุคลากรในโรงเรียนกลับไม่เห็นคุณค่า?

       กาลครั้งหนึ่ง โรงเรียนวัด กำเนิดจากวัด... จะว่าไป วัดเป็นดั่งบุพพการี ให้ผืนแผ่นดินไทยในการตั้งโรงเรียน ทั้งให้การประคับประคองอุ้มชูสนับสนุนตั้งแต่เริ่มตั้งโรงเรียน จนเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ในโลกยุคใหม่ ได้ถึงปัจจุบันนี้

โรงเรียนก็ตั้งอยู่ในพื้นที่วัด และมีคำว่า 'วัด' เป็นชื่อโรงเรียน ? ก็น่าจะดีแล้วนะครับ


อ่านเพิ่มได้ที่: http://cheerfulpeace.blogspot.com/2017/07/blog-post_14.html?m=1

แชร์