ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ

พิธีกรรม หรือ ศาสนพิธี (อังกฤษ : Ritual) หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา http://winne.ws/n12180

8.6 หมื่น ผู้เข้าชม
ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆแหล่งภาพจาก Sites

พิธีกรรม หรือ ศาสนพิธี (อังกฤษ : Ritual) หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา

ศาสนพิธีในศาสนาอิสลาม

ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆแหล่งภาพจาก ศูนย์ประชาสัมพันธ์ข่าวสาร ฮัจย์แห่งประเทศไทย

ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวชหรือนักพรต ในการประกอบพิธีกรรม ถือหลักการของศาสนาเป็นธรรมนูญสูงสุดในการดำรงชีวิตหลักปฏิบัติทางศาสนกิจที่สำคัญ ได้แก่ หลักปฏิบัติ ๕ ประการ มีดังนี้

1. การละหมาด

           การละหมาด เป็นการปฏิบัติศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการภักดีต่ออัลลอฮฺ มุสลิมทุกคนจะต้องละหมาด วันละ 5 เวลา เรียกว่า ละหมาดฟัรฎู   ละหมาด หมายถึง การขอพร ความหมายทางศาสนาหมายถึง การกล่าวและการกระทำ ซึ่งเริ่มต้นด้วยตักบีร และ จบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างเอกภาพอย่างหนึ่งของมุสลิม เมื่อละหมาดมุสลิมทั่วโลก หันหน้าไปทางกิบละฮฺ เพื่อเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ การละหมาด ฝึกฝนให้เป็นคนตรงต่อเวลา มีความอดทน และขัดเกลาจิตใจ ให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่ประพฤติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางชั่วร้าย

ความสำคัญ

          ชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามทุกคนต้องปฏิบัติศาสนกิจอย่างเคร่งครัดเพราะ การละหมาดเป็นศาสนกิจเพื่อเข้าเฝ้าต่อเบื้องพระพักตร์ของพระผู้เป็นเจ้าอัลลอฮ (ซุบฮาฯ) ด้วยความสงบ สำรวม จึงเป็นหน้าที่ของมุสลิมทุกคนที่จะต้องปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน วันละ ๕ เวลาตลอดไป

2. การปฏิญาณตน   

        คำกล่าวที่ว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้น และมุฮัมมัดเป็นบ่าวและศาสนาทูตของอัลลอฮ์” ในการปฏิญาณนี้คือ การยอมรับ ยอมจำนนทุกอย่างที่เกี่ยวกับอิสลาม ทุกอย่างที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานและอัลฮะดิษ คือซุนนะฮ์ที่มาจากท่านนะบี   ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินชีวิต ศาสนาอิสลามมีพระเจ้าเพียงองค์เดียว ห้ามสักการะในสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาและห้ามก้มกราบมนุษย์ด้วยกันเอง

3. การถือศีลอด 

       โดยการถือศีลอด เป็นหลักปฏิบัติในศาสนบัญญัติ 1 ใน 5 ประการ (ประกอบไปด้วย 1.นับถือพระเจ้า(อัลลอฮฺ)องค์เดียวและนบีมูฮำหมัดเป็นศาสนฑูตคนสุดท้าย 2.ดำรงละหมาด 3.บริจาคทาน 4.ถือศีลอด 5.บำเพ็ญฮัจย์ที่ นครเมกกะ) ซึ่งชาวมุสลิมจะประพฤติปฏิบัติตน โดยการ...

 - งดอาหาร น้ำ เพื่อจะได้รับรู้ความยากลำบากคนที่ยากไร้ โดยจะเริ่มตั้งแต่แสงพระอาทิตย์ขึ้น – แสงพระอาทิตย์เริ่มตกดิน 

- งด ละ เลิก จากสิ่งที่ไม่ดีทั้งหมด 

 - ทำความดี บริจาคทานแก่คนยากจน

 - อ่านคัมภีร์อัลกุรอาน เนื่องจากในเดือนนี้เป็นเดือนศักดิ์สิทธิ์ที่พระเจ้าประทานคัมภีร์อัลกรุอานมาให้แก่มนุษย์ 

4. การจ่ายซะกาต

          ให้จ่ายซะกาตเมื่อถึงเวลาที่วาญิบต้องจ่าย และจ่ายด้วยความพึงพอใจ โดยจ่ายสิ่งที่ดีและมีคุณภาพมากที่สุดจากทรัพย์ที่ต้องจ่าย เป็นสิ่งที่เขารักที่สุด ที่มีความเป็นหะลาลมากที่สุด ทำให้ผู้รับพึงพอใจ

5. การประกอบพิธีฮัจญ์

        พิธีฮัจญ์จะทำในเดือน ซุล-ฮิจยะห์ (เดือนที่ 12 ของปีฮิจเราะห์ศักราช) ของแต่ละปี การกำหนดพิธีฮัจย์นั้น จะใช้การดูเดือน เพื่อกำหนดวันต่าง ๆ โดยจะดูเดือนกันในวันที่ 29 เดือน ซุลเกี๊ยะดะห์ เพื่อกำหนด วันที่ 1 เดือนซุลฮิจยะห์ และวันที่ 10 เดือนซุลฮิจยะห์ จะเป็นวัน อีดิ้ลอัฎฮา หรือ อีดใหญ่(รายอ)ที่บ้านเรา ผู้ที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจย์จะทำกรุบาน (เชือดสัตว์ และแบ่งปันเนื้อให้กับผู้ยากไร้)

การแต่งงานแบบอิสลามหรือพิธีนิกะห์

        ถ้าหากฝ่ายใดไม่ได้เป็นอิสลาม ต้องทำพิธีเข้ารับอิสลามก่อน ถึงจะทำพิธีนิกะห์ได้

พิธีเข้ารับอิสลาม

       ในการเข้ารับอิสลามนั้น จะต้องมีพยานรู้เห็นในการรับอิสลามอย่างน้อย 2 คน  และปฏิญานตนโดยพูดว่า " ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกนมัสการกราบไหว้โดยเที่ยงแท้ นอกจากพระเจ้าอัลเลาะห์ องค์เดียวเท่านั้น และมี นบีมูหมัดเป็นพระศาสนฑูตของพระองค์ " 

ที่มา https://sites.google.com/site/sasnaxislam/phithikrrm

ศาสนพิธีในศาสนาคริสต์

ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆแหล่งภาพจาก PPTV Thailand HD36

พิธีกรรมสำคัญในศาสนาคริสต์

        พิธีกรรมสำคัญในศาสนานี้เรียกว่า "พิธีศักดิ์สิทธิ์" มีดังนี้

          1. พิธีบัพติศมาหรือศีลล้างบาป เป็นพิธีแรกที่คริสตชนต้องรับ โดยบาทหลวงจะใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะพร้อมเจิมน้ำมันคริสมาที่หน้าผาก 

         2. พิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์หรือศีลมหาสนิท เป็นพิธีกรรมรับศีลโดยรับขนมปังและเหล้าองุ่นมารับประทาน โดยความเชื่อว่าพระกายและพระโลหิตของพระเยซู

         3. ศีลอภัยบาป เป็นการสารภาพบาปกับพระเจ้าโดยผ่านบาทหลวง บาทหลวงจะเป็นผู้ตักเตือนสั่งสอนไม่ให้ทำบาปนั้นอีก และทำการอภัยบาปให้ในนามพระเจ้า  

         4. ศีลกำลัง เป็นพิธีรับศีลโดยการเจิมหน้าผาก เพื่อยืนยันความเชื่อว่าจะนับถือศาสนาคริสต์ตลอดไปและได้รับพระพรของพระจิต ทำให้เข้มแข็งในความเชื่อมากขึ้น

         5. ศีลสมรส เป็นพิธีประกอบการแต่งงาน โดยบาทหลวงเป็นพยาน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ว่าจะรักกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่

         6. ศีลอนุกรม เป็นพิธีสำหรับการบวชเป็นนักบวช ได้แก่ มุขนายก บาทหลวง และพันธบริกร

         7. ศีลเจิมคนไข้ เป็นพิธีเจิมคนไข้โดยบาทหลวงจะเจิมน้ำมันลงบนหน้าผากและมือทั้งสองข้างของผู้ป่วย ให้ระลึกว่าพระเจ้าจะอยู่กับตนและให้พลังบรรเทาอาการเจ็บป่วย        

สำหรับนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์ทอดอกซ์ จะมีพิธีกรรมทั้ง 7 พิธี แต่สำหรับนิกายโปรเตสแตนต์ จะมีเพียง 2 พิธี คือ พิธีบัพติศมาและพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์

ที่มา:http://www.gotoknow.org/posts/327140

ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆแหล่งภาพจาก www.kalyanamitra.org

ศาสนพิธี  หมายถึง  ระเบียบแบบแผนหรือแบบอย่างที่ถือปฎิบัติในศาสนา  เมื่อนำมาใช้ในพระพุทธศาสนา  จึงหมายถึงระเบียบแบบแผนหรือแบบอย่างที่พึงปฎิบัติในพระพุทธศาสนา ศาสนพิธีต่าง ๆ  ช่วยทำให้ความศรัทธา ต่อพระพุทธศาสนิกชนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเป็นสิ่งตอกย้ำใจให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยได้อย่างดีเยี่ยม  จึงเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงามที่ควรรักษาไว้คู่กับพระพุทธศาสนาตลอดไป

ศาสนพิธี เป็นพิธีกรรมทางศาสนาซึ่งถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เป็นธรรมเนียมสืบต่อกันมา เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงามเป็นแบบเดียวกัน เหตุให้เกิดศาสนพิธีนี้คือความนิยมทำบุญ

ของพุทธศาสนิกชนซึ่งไม่ว่าจะปรารภเหตุอะไรทำกัน ก็มักจะให้ตรงและครบตามหลักวิธีทำบุญในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะแนวไว้ 3 หลัก คือ

      1. ทาน การบริจาค วัตถุสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น

      2. ศีล การรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อย

      3. ภาวนา การยกระดับจิตให้สูงขึ้นด้วยการอบรมให้สงบนิ่งและให้เกิดปัญญา

       ดังนั้น ในการทำบุญทุกครั้ง ชาวพุทธจึงถือคติว่าต้องให้เข้าหลัก 3 ประการนี้ โดยเริ่มต้นจะทำข้อไหนก่อนก็ได้ เช่น รับศีลแล้วฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ (ภาวนา) จบลงด้วยการถวายทาน เป็นต้น

ความนิยมนี้ได้แพร่หลายทั่วไปจนกลายเป็นประเพณีทางศาสนาไป พิธีกรรมแบบนี้จึงสมมติเรียกกันต่อมาว่า “ศาสนพิธี”

ศาสนพิธีต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ช่วยทำให้ความศรัทธาต่อพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชนมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 

       เป็นสิ่งตอกย้ำใจให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยได้อย่างดีเยี่ยมจึงเป็นระเบียบแบบแผนอันดีงามที่ควรรักษา

       ไว้คู่กับพระพุทธศาสนาตลอดไป  ในพระพุทธศาสนาแบ่งศาสนาพิธีออกเป็น  ๔  หมวดใหญ่ ๆ ดังนี้ 

         ๑.  กุศลพิธี เป็นพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา  เช่น  การรักษาศีล การนั่งสมาธิ เป็นต้น 

         ๒.  บุญพิธี เป็นพิธีทำบุญเนื่องด้วยประเพณีการดำเนินชีวิตของคนทั่วไป มีบุญมงคลและอวมงคล  เช่น บุญขึ้นบ้านใหม่ บุญหน้าศพ  เป็นต้น 

         ๓.  ทานพิธี เป็นพิธีถวายทานต่าง ๆ  เช่น ถวายสังฆทาน เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค  เป็นต้น 

         ๔.  ปกิณกะพิธี    เป็นพิธีเบ็ดเตล็ด ได้แก่การอาราธนาศีล การประเคนของพระ เป็นต้น 

           ในที่นี้จะนำมาเฉพาะพิธีที่สำคัญ  ๆ อันเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของชาวพุทธเสมอ ๆ ดังต่อไปนี้

พิธีการตักบาตร                  

         คือการนำข้าวและอาหารคาวหวานใส่บาตรพระหรือสามเณร  โดยอาจทำประจำวันในท้องถิ่นชุมชนที่มีพระสงฆ์และสามเณรออกบิณฑบาต จะทำในวันเกิดของตนหรือวันสำคัญทางศาสนา รวมทั้งวัน ๘ ค่ำ และ ๑๔, ๑๕ ค่ำ เป็นต้น

พิธีถวายสังฆทาน

          คือการถวายวัตถุที่ควรเป็นทานแก่สงฆ์ มิได้เจาะจงแก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  หากถวายเจาะจงเฉพาะรูป เรียกว่า "ปาฏิบุคลิกทาน"  ไม่ต้องมีพิธีกรรมอะไรในการถวาย ส่วนสังฆทานนั้นเป็นการถวายกลาง ๆ ให้สงฆ์ ์ เฉลี่ยกันใช้สอย จึงมีพิธีกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย โดยเฉพาะการถวายและการอนุโมทนาของสงฆ์

การอาราธนาศีลและสมาทานศีล

         เบื้องต้นของการบำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชน ต้องมีพิธีรับสรณคมน์และศีลก่อนแล้วจึงค่อยอาราธนา พระปริตรถ้าบำเพ็ญบุญเกี่ยวกับการเทศน์จึงจะอาราธนาธรรม การที่ขอเบญจศีลก่อนเสมอไปทุกพิธีนั้น เพื่อชำระจิตให้บริสุทธิ์ ให้เป็นผู้มีศีลสมควรแก่การรอง รับ พระธรรมสรณคมน์ หมายความว่าขอถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งก่อนอาราธนาควรกราบพระพุทธรูป ที่โต๊ะหมู่บูชาและบูชาพระก่อนแล้วจึงกล่าวคำอาราธนาตามด้วยการสมาทานศีล 

ศาสนพิธีต่างๆ ทางพระพุทธศาสนา

- การประเคนของ
- การกรวดน้ำ
- โต๊ะหมู่บูชา
- ระเบียบปฏิบัติการมอบเทียนชนวนผู้ใหญ่
- พิธีกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
- ระเบียบปฏิบัติการไปร่วมงานศพ
- วัฒนธรรมชาวพุทธที่ปรากฎหลักฐานในพระไตรปิฎก

         พิธีกรรมงานบุญต่าง ๆ ของชาวพุทธ สามารถนำมาปฏิบัติได้กิจกรรมงานบุญต่าง ๆ ได้พร้อมกันในวันเดียวกัน เช่นในพิธีทอดกฐิน พิธีทอดผ้าป่า พิธีถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พิธีทำบุญปุพพเปตตพลีอุทิศบุญให้บรรพบุรุษหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้วในวันพระขึ้น ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันแรม ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ พิธีจุดประทีปในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่นวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา 


ที่มาhttp://www.dmc.tv/pages/buddha_biography/ศาสนพิธีทางพระพุทธศาสนาและหน้าที่ชาวพุทธ-ศาสนาพิธี.html

อ้างอิงข้อมูลจาก www.kalyanamitra.org/culture/index30.html

ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆแหล่งภาพจาก white-temple.blogspot.sg

ศาสนพิธีในศาสนาซิกข์

ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ

พิธีกรรมสำคัญของศาสนาซิกข์

พิธีกรรมสำคัญของศาสนาซิกข์ ได้แก่

๑. พิธีสังคัต เป็นพิธีการชุมนุมของผู้ที่นับถือศาสนาซิกข์ ซึ่งทุกคนมีการปฏิบัติเท่าเทียมกัน ไม่มีใครได้รับยกเว้นเป็นพิเศษ เช่น ต้องตักน้ำ เช็ดรองเท้า ทำทุกอย่างด้วยตนเอง

๒. พิธีอมฤตสังสการ เป็นพิธีรับคนเข้าสู่ศาสนาซิกข์ โดยใช้หลักแห่งความเสมอภาค ไม่รังเกียจกัน

๓. พิธีปาหุล เป็นพิธีล้างบาป หลังจากผ่านพิธีปาหุลแล้ว ผู้ชายจะมีชื่อลงท้ายว่า “สิงห์” หรือ “ซิงซ์” หมายถึง ความเข้มแข็งดังเช่นสิงโต ส่วนผู้หญิงจะมีชื่อลงท้ายว่า “เการ์” หมายถึง เจ้าหญิง เมื่อเสร็จพิธีแล้วก็จะได้รับกกะ
กกะ ได้แก่ สิ่งที่ขึ้นต้นด้วยอักษร “ก” ๕ ประการ ได้แก่

๑. เกศ หมายถึง ต้องไว้ผมยาว โดยไม่ตัดหรือโกนอย่างเด็ดขาด
๒. กังฆา หมายถึง ต้อมมีหวีติดที่ผม
๓. กฉา หมายถึง ต้องสวมกางเกงขาสั้นชั้นใน
๔. กรา หมายถึง สวมกำไรข้อมือที่ทำด้วยเหล็กไว้ที่ข้อมือข้างขวา
๕. กิรปาน หมายถึง ต้องพกกริชติดตัว

ที่มา https://kankanjai090.wordpress.com/ภาคเรียนที่2ปี2556/ศาสนาซิกข์/พิธีกรรมสำคัญของศาสนาซ/

ศาสนพิธีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู

ศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ

พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู

1.พิธีสังสการ                

        เป็นพิธีกรรมที่คนในวรรณะกษัตริย์ วรรณะพราหมณ์และวรรณะไวศยะจะต้องทาโดยมีพราหมณ์หรือนักบวชเป็นผู้ทำพิธี จำนวน 12 ประการ คือ

          1) ครรภาธาน เป็นพิธีที่จัดขึ้นเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ถัดจากวันวิวาห์

          2) ปุงสวัน เป็นพิธีปฏิบัติต่อเด็กในครรภ์ที่เข้าใจว่าเป็นเพศชาย3) สีมันโตนยัน เป็นพิธีตัดผมหญิงมีครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ได้ 4, 6 หรือ 8 เดือน

          4) ชาตกรรม พิธีคลอดบุตร

          5) นามกรรม พิธีตั้งชื่อเด็ก ในวันที่ 12 หรือ 14 ถัดจากวันคลอด

          6) นิษกรมณ พิธีนาเด็กออกไปดูแสงอาทิตย์ยามเช้า เมื่ออายุได้ 4 เดือน

          7) อันนปราศัน พิธีป้อนข้าวเด็ก เมื่ออายุได้ 7 เดือนหรือ 8 เดือน

           8) จูฑากรรม พิธีโกนผมไว้จุก เมื่ออายุได้ 3 ขวบ

           9) เกศานตกรรม พิธีตัดผม ถ้าเป็นวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 16 ปี ถ้าวรรณะกษัตริย์ ตัดเมื่ออายุ 22 ปี ถ้าวรรณะพราหมณ์ตัดเมื่ออายุ 24 ปี

          10) อุปานยัน พิธีเข้ารับการศึกษา พวกวรรณะพราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ จะต้องทาพิธีเข้ารับการศึกษา และเมื่ออาจารย์ในสานักนั้นๆ รับเด็กไว้แล้วก็จะสวมสายธุรา หรือยัชโญปวีต ผู้ที่ได้สวมสายนี้แล้วก็เรียก ว่า ทวิชหรือทิชาชาติ ได้แก่ เกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกเกิดจากครรภ์มารดา และครั้งที่ 2 เกิดจากการสวมสายยัชโญปวีต ส่วนพวกศูทรและจัณฑาลเป็นเอกชาติ คือ เกิดครั้งเดียวไม่อาจเป็นทวิชาติได้

          11) สมาวรรตน์ พิธีกลับบ้าน จัดขึ้นเมื่อเด็กหนุ่มสาเร็จการศึกษาและเตรียมตัวกลับบ้าน

          12) วิวาหะ พิธีแต่งงาน

พิธีสังสการทั้ง 12 ประการ ถ้าเป็นผู้หญิงห้ามทาพิธีอุปานยันอย่างเดียว นอกนั้นทาได้หมด และห้ามสวดคัมภีร์พระเวท เพราะเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สงวนเฉพาะผู้ชาย และคนบางวรรณะเท่านั้น

2. พิธีศราทซ์            

        เป็นพิธีทาบุญอุทิศให้มารดาบิดา หรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว ในเดือน 10 ตั้งแต่วันแรม 1ค่า ถึงวันแรม 15 ค่า การทาบุญอุทิศนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บิณฑะ

3.พิธีบูชาเทวดาหรือบูชาเทพเจ้า           

       ผู้ที่เกิดในวรรณะสูงสมัยก่อนได้บูชาพระศิวะและพระวิษณุ เป็นต้น เวลาต่อมาเกิดลัทธิอวตารขึ้น มีการบูชาพระกฤษณะและพระรามขึ้นอีก แต่บุคคลในวรรณะต่ามักถูกกีดกันมิให้ร่วมบูชาเทพเจ้าของบุคคลในวรรณะสูง ดังนั้น บุคคลในวรรณะต่าจึงต้องสร้างเทพเจ้าของตนเองขึ้น เช่น เจ้าแม่กาลี เทพลิง เทพงู เทพเต่า รุกขเทพ เทพช้าง เป็นต้น การทาพิธีบูชานั้นก็มีความแตกต่างกันออกไปตามวรรณะ แต่บุคคลในวรรณะสูงมีพิธีในการบูชาพอจะกาหนดได้ ดังนี้

       1) สวดมนต์ภาวนา สนานกาย ชาระและสังเวยเทวดาทุกวัน สาหรับผู้เคร่งครัดในศาสนาต้องทาเป็นกิจวัตร ส่วนพวกที่ได้รับการศึกษาแผนใหม่มักไม่ค่อยปฏิบัติกัน

       2) พิธีสมโภช ถือศีล และวันศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลักษมีบูชา วันบูชาเจ้าแม่ลักษมี สรัสวดีบูชา วันบูชาเจ้าแม่สรัสวดี ทุรคาบูชา วันบูชาเจ้าแม่ทุรคา เป็นต้น ซึ่งอาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละนิกายและท้องถิ่น

       3) การไปนมัสการบาเพ็ญกุศลตามเทวาลัยต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพเทพเจ้าที่ตนนับถือ

ที่มา https://romantic02.wordpress.com/ภาคเรียนที่-256/ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู/พิธีกรรม/พิธีกรรมของศาสนาพราหมณ/

แชร์