อัตชีวประวัติ " สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี "

พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่าเกสรคำ พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ๗ พรรษา เริ่มเสด็จออกธุดงค์ ๒๐ พรรษา ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตาราม จำพรรษาจนสิ้นพระชนม์ รวม ๘๔ พรรษา http://winne.ws/n1392

3.1 พัน ผู้เข้าชม
อัตชีวประวัติ " สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี "

สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี

พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ โตพรมรังสี ทรงประสูติเมื่อตอนเช้า เวลา ๐๗.๐๐ น. ตรง ของวันพฤหัสบดี เดือน ๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีวอก ตรงกับวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ ณ ตำบลไก่จ้น อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยาต้นแผ่นดินรัตนโกสินทร์  พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย(รัชกาลที่ ๒) พระราชมารดาทรงพระนามว่าเกสรคำ เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา ได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณร ณวัดระฆังโฆสิตารามมหาวรวิหาร จังหวัดธนบุรี ทรงประพฤติอยู่ในเพศพรหมจรรย์โดยตลอดจนพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงอุปสมบท ณ วัดระฆังโฆสิตารามกรุงเทพมหานครนั่นเอง และทรงอยู่ในสมณเพศตลอดจนสิ้นพระชนมายุ ใน เวลาเช้าตรู่ของวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น. ขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่  ๑๙ มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๔๑๕ สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ ทรงเป็นพระสงฆ์ ๕แผ่นดิน ในยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีชวดพุทธศักราช ๒๔๐๗

โดยปกติเด็ก ๕ ขวบทั่วไปจะไม่สามารถรับผิดชอบตัวเองได้ ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิดมีพ่อแม่พี่น้องเป็นต้นเมื่อหนังสือเล่มนี้เขียนบอกไว้ว่าพระองค์ท่านบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษาโดยได้พบหลักฐานจากการสร้างพระเป็นรูปไก่ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่ เถื่อนและบันทึกข้อความไว้ว่า “ไก่ ตัวนี้ สุกไก่ เถื่อน เป็นผู้สร้าง ประสม ทอง เงิน นาน (นาก) ปลุกเสก ๓ พรรษา พ.ศ. ๒๓๓๒ พอพ.ศ. ๒๓๓๕ หัวโต วัดระฆังก็ขอไปเลี้ยง” หลักฐานชิ้นนี้ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่สำนักธรรมพรหมรังสี

           จากบันทึกของสมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เป็นการยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา     และที่วัดระฆังโฆสิตาราม ด้วย แสดงว่า สามเณร โตเป็นผู้มีบุญญาธิการมาประสูติ ดุจเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อประสูติก็สามารถย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว และ อีกพระองค์หนึ่งคือ พระราหุล ซึ่งเป็นพระราชโอรสของ เจ้าชายสิทธัตถะ ก็ได้บรรพชา ตอนพระชนมายุ ๕ พรรษา เช่นเดียวกัน (เมื่อพระสารีบุตรจรดมีดโกนลงบนพระเศียร เพื่อปลงพระเกศาก็บรรลุพระโสดาบันและปลงต่อไปจนหมดทั้งพระเศียรก็ทรงบรรลุพระสกิทาคา  พระอนาคา และพระอรหันตาตามลำดับเป็นที่สุด) จากความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกย่อมแสดงให้เห็นโดยชัดแจ้งว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี    ได้สั่งสมกุศลบารมีมาเป็นอเนกอนันตชาติดุจเดียวกัน และไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าพระราหุลและเจ้าชายสิทธัตถะน่าจะยืนยันและสรุปได้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสีไม่ได้ บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา ดังที่คนทั่วๆไปเข้าใจกันและยิ่งกว่านั้น สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมดาทั่วไปอย่างแน่นอน

พระชนมายุ ๗ พรรษา เริ่มเสด็จออกธุดงค์

                       หลังจากทรงบรรพชาเมื่อพระชนมายุ๕ พรรษาแล้ว ก็เริ่มปฏิบัติธรรมทั้งทางด้านปริยัติ ปฏิบัติและปฏิเวธศึกษาค้นคว้าแตกฉานเร็วมากด้วยเหตุแห่งการสั่งสมบารมีมามากเป็น             เอนกอนันตชาติและทรงทราบว่าพระองค์มาจุติหรืออุบัติขึ้นเพื่อเจริญพระศาสนาจึงเร่งศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานแยกแยะความถูกต้องและผิดพลาดจากการบันทึกไว้ในพระไตรปิฎกเร่งฝึกวิปัสสนาพระกรรมฐานความรู้แจ้งเห็นจริงก็ปรากฏขึ้นในดวงจิตที่มุ่งมั่นสะอาดและบริสุทธิ์

                       ทำให้เกิดการรู้เห็นอดีต-ปัจจุบันและอนาคตยิ่งกว่านั้นรู้ว่าพระองค์มีหน้าที่อะไรจะต้องประพฤติดีปฏิบัติชอบอย่างไรจะต้องโปรดบริวารลูกหลานอย่างไร จึงต้องฝึกจิตรักษาดวงจิตให้เป็นหนึ่งอยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดสมาธิปัญญาอย่างแก่กล้า ได้ฌาน ๔ กสิณ ๑๐ สมาบัติ ๘ สำเร็จโสฬสฌานจึงเริ่มเสด็จธุดงค์ และมุ่งมั่นไปยังแหล่งสรรพวิชา มหาวิทยาลัยตักศิลาไปอยู่ตามป่า ตามถ้ำ และในที่สุดก็ไปพบสถานที่หนึ่งซึ่งเคยบำเพ็ญภาวนามาก่อนคือถ้ำอิสีคูหาสวรรค์ เมืองกำแพงเพชรพบของเก่ามากมายและที่สำคัญคือใบลานเก่าที่ชำรุดมาก เขียนเป็นภาษาสิงหล “พระคาถาชินบัญชร” พระองค์ท่านได้นำกลับมาเรียบเรียงแก้ไขเป็นภาษามคธ-บาลี เพื่อให้อ่านง่ายและเข้าใจง่ายและได้แปลความหมายของพระคาถาที่ขลังและศักดิ์สิทธิ์มาเป็นร้อยแก้วเพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและอานุภาพของพระคาถา ที่มีค่าท่วมหลังช้างสามารถนำไปใช้ได้ ๑๐๘ประการด้วยการสวดท่องและอธิษฐานให้ขจัดทุกข์และบำรุงสุขได้อย่างมหัศจรรย์ผู้สวดท่องจะทราบทุกคน เพราะเป็นปัจจัตตัง และเป็นสมบัติตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้พระชนมายุ ๙ พรรษาพระอัจฉริยภาพในการเทศนา         

            หลังจากได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรก็มุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าทางด้านปริยัติ  ปฏิบัติและปฏิเวธอย่าง มุ่งมั่นอาจหาญและมั่นคง จึงทำให้ทรงแตกฉานและเพลิดเพลินในพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างรวดเร็วและลึกซึ้งมากจดจำได้แม่นยำเพราะความเป็นพระอัจฉริยะ โดยการ สั่งสมบารมีญาณอยู่ในขันธสันดานอย่างมั่นคงและแก่กล้า มาเป็นเอนกอนันตชาติทรงมีพระปัญญาคมกล้าเป็นยอดเยี่ยม จึงสามารถบรรลุมรรคผลอย่างรวดเร็ว โดยการเริ่มเทศน์จากพระคัมภีร์ใบลานจนกระทั่งเทศน์ด้วยปากเปล่าและในรูปแบบของปุจฉา-วิสัชนาเป็นที่ยอมรับของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ที่ได้ฟังพระสุรเสียงเป็นที่ไพเราะจับใจความชัดเจนของอักขระการเอื้อนทำนองวรรคตอนได้ถูกต้อง ภาษาสละสลวยเนื้อหาสาระที่เทศน์ ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ หรือพระเจ้า ๑๐ ชาติ  ก็สามารถเทศน์ให้ญาติโยมได้รับฟังอย่างจับจิตจับใจและฟังอย่างมีความสุขและจดจำเนื้อหาที่เทศน์ได้ และกอร์ปด้วยพระอัจฉริยภาพที่สง่างาม น่ารักของ “สามเณรจิ๋ว ”

พระชนมายุ ๑๙ พรรษาสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑

           สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว  ทรงมุ่งมั่นในการศึกษาพระธรรม และฝึกวิปัสสนากรรมฐาน ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างผงวิเศษต่างๆ เช่น สร้างดินสอพองขึ้นมาเพื่อเขียนกระดานชนวนลงเลขยันต์ลบเก็บผงไว้เป็นผงวิเศษ ได้ชื่อว่าผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห มหาราช พุทธคุณผงเหล่านี้ เรียกว่าเป็นผงวิเศษ หรือผงศักดิ์สิทธิ์นอกจากจะสร้างผงขึ้นมาด้วยอำนาจจิต จากความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาด้วยพระองค์เองและผงวิเศษที่ได้ถวายมาจากพระอาจารย์ก็ได้เก็บสะสมไว้โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเอาไว้สร้างพระ           

         พระองค์ท่านได้ตั้งใจในการศึกษาเล่าเรียนแตกฉานว่องไวมาก ได้รับคำชมจากพระอาจารย์ หลายพระองค์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือพระอาจารย์สังฆราช สุก ไก่ เถื่อน พระอาจารย์ เฒ่าพระอาจารย์แสง เป็นต้น นอกจากนี้ก็ได้รวบรวมพวกเกสรร้อยแปด ดินเจ็ดโป่งเจ็ดท่าดินใจกลางเมือง ดินกำฤาษี หรือผงวิเศษจากเทพยดานิมิตให้ ไปเอาจากตามป่าตามเขาตามถ้ำต่างๆ อยู่ในพระหัตถ์ของพระประธาน ไคลเสมา ไคลโบสถ์ ดินใจกลางเมืองว่านยาต่างๆ โดยออกธุดงค์ไปยังป่าเมืองต่างๆ เช่น กาญจนบุรีสุพรรณเมื่อพระองค์ท่านรวบรวมวัตถุมงคลได้มากพอสมควรก็เริ่มแกะแม่พิมพ์ด้วยพระองค์เองแม่พิมพ์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นแม่พิมพ์เนื้อผงเกือบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ไม่ได้ทำจากแม่พิมพ์ หินชนวน หรือ หินลับมีด หรือทองเหลือง อย่างที่บางคนเข้าใจหรือหนังสือบางเล่มเขียนไว้หรือเมื่อสร้างพระเสร็จแล้วก็ทุบหรือเผาแม่พิมพ์ทิ้งกลัวว่าคนอื่นจะนำไปลอกเลียนแบบ(นั่นเป็นความคิดความเข้าใจของท่านที่คิดหรือเข้าใจว่าพระองค์ท่านเป็นพระสงฆ์ธรรมดา)พระสมเด็จที่พระองค์สร้างก็เลียนแบบศึกษามาจากพระอาจารย์คือสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่ เถื่อนเพราะมีแม่พิมพ์จำนวนหลายแม่พิมพ์ที่ได้รับการถวายจากสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน และยิ่งไปกว่านั้นพระบางพิมพ์พระอาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่ เถื่อน ได้มอบหมายให้มหาโต สัพพัญญู สำนักวัดระฆัง กดพิมพ์แต่ผู้เดียว เป็นต้น

          สำหรับการสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑ นั้นพระองค์ท่านมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษาเท่านั้น พระสมเด็จรุ่น ๑ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๙ หรือ จารึกไว้ที่หลังแม่พิมพ์ว่า ร.ศ ๒๔ การสร้างพระใน   ร.ศ ๒๔ นั้นได้สร้างพระไว้จำนวนมากและทรงจารไว้หลังแม่พิมพ์ว่า “แม่พิมพ์สมเด็จพิมพ์ทรงใหญ่” “แม่พิมพ์สมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์”“แม่พิมพ์ทรงนิยม” “แม่พิมพ์ทรงไกรเซอร์”“แม่พิมพ์ทรงปรกโพธิ์” “แม่พิมพ์สังฆาฏิ”“แม่พิมพ์เกศไชโย” “แม่พิมพ์ขุนแผน” “แม่พิมพ์ซุ้มกอ” “แม่พิมพ์พระรอด” “แม่พิมพ์ทุ่งเศรษฐี” “แม่พิมพ์นางพญา” “แม่พิมพ์ผงสุพรรณ” เป็นต้นพร้อมทั้งลงพระนามเป็นอักษรตัว “ต” ไว้ด้วย เช่น “แม่พิมพ์สมเด็จ ต  ร.ศ ๒๔”  “แม่พิมพ์ทรงไกรเซอร์ ร.ศ ๒๔ ต” เป็นต้น

          ในการสร้างพระจำนวนมาก ๆ เหล่านี้จะเห็นได้ว่าพระองค์ท่านต้องใช้ความอดทนพากเพียรพยายามอย่างมากใช้พลังจิตอย่างสูงและแกร่งกล้า เป็นธรรมดาคนที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นก็ต้องกังขาว่าพระสมเด็จรุ่น ๑ มีจริงหรือ? เห็นแต่เป็นเหรียญรุ่น ๑ที่คนพูดกันของพระเกจิอาจารย์องค์นั้นองค์นี้  พระสมเด็จรุ่น ๑ นั้นทำด้วยเนื้อผง บางองค์แกะพิมพ์สวยงามประณีตบรรจง บางองค์พิมพ์ก็โย้บางพิมพ์ก็หนา บางพิมพ์ก็บาง แต่จะเป็นพิมพ์หนา พิมพ์บาง หรือพิมพ์โย้ก็ตามมวลสารเนื้อหาที่ใช้สร้างหรือกดพิมพ์จะเหมือนๆ กันเกือบทั้งหมดเพราะพระองค์ท่านมีสูตรเฉพาะในการสร้างพระ

          ทำไมจึงเชื่อว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น ๑ เหตุที่เชื่อว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น ๑ เพราะ ทรงจารไว้ด้านหลังแม่พิมพ์และพระองค์ท่านลงพระนามไว้ด้วยได้หาดินน้ำมันมากดพิมพ์เพื่อเทียบกับพระที่มีอยู่เป็นแสนเป็นล้านองค์ใช้เวลาเทียบแม่พิมพ์ค้นหา ๑ ปี เต็มๆ จึงแยกพระออกได้เป็นพิมพ์ต่างๆ ตั้งแต่ แม่พิมพ์รุ่น ๑ ใน ร.ศ ๒๔ หรือ พ.ศ. ๒๓๔๙ แม่พิมพ์ พ.ศ. ๒๓๗๖ ,๒๓๗๘ หรือ ร.ศ ๙๑ รุ่นสุดท้าย ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๕ สำหรับพระสมเด็จรุ่น ๑นั้นที่มีอยู่ในขณะนี้ได้มาประมาณ ๙ พิมพ์ และบางพิมพ์ก็จะมีเพียง ๒ องค์บางพิมพ์อาจจะมี ๑๐ องค์ บางพิมพ์มี เป็น ๑๐๐ องค์ แต่ละองค์แม่พิมพ์จะถูกจารไว้ว่าเป็น“แม่พิมพ์พระสมเด็จรุ่น ๑ ”  ทั้งนั้น(หากไม่มีการจารไว้บนหลังแม่พิมพ์ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่ใช่พระสมเด็จรุ่น ๑)  สำหรับในการสร้างพระ พ.ศ. ๒๓๔๙ หรือ ร.ศ ๒๔ที่พระองค์ท่านบันทึกจารึกไว้ในหลังแม่พิมพ์เนื้อผงที่มีอยู่ในขณะนี้ จำนวน๓๐๔แม่พิมพ์ ตรงนี้เป็นการยืนยันให้เห็นว่า พระองค์ท่านสร้างพระเมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ยังทรงเป็นสามเณร และยังไม่ได้ทรงอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์หนังสือหลายเล่มเขียนไว้ว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี สร้างพระเมื่อมีพระชนมายุมากแล้วบางเล่มก็เขียนว่า ๓๘ บางเล่มบอกว่า ๕๐ กว่า บางเล่มบอกว่าตอนท้ายๆของพระชนมายุของท่านตอน พ.ศ. ๒๔๑๐,๒๔๑๑, ๒๔๑๒ เป็นต้นน่าจะไม่ถูกต้องไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะจากหลักฐานที่ผมมีอยู่ ในช่วง อายุมากๆนั้น ส่วนใหญ่พระองค์ท่านจะออกธุดงค์ จะโปรดบรรดาสรรพสัตว์ในป่าดงดิบไปอยู่ตามถ้ำตามเขา ไปยังลาว เขมร พม่า อินเดีย จีน แม้กระทั่งอย่างวัดเส้าหลินประเทศจีน เมืองเทียนฟง เป็นต้น           

อัตชีวประวัติ " สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี "

           ขอย้ำอีกครั้งว่า ในปี พ.ศ. ๒๓๔๙ หรือ ตรงกับ ร.ศ ๒๔ พระองค์ท่านยังเป็นสามเณร  พระชนมายุ ๑๙ พรรษา มีอำนาจจิตแก่กล้า พระปรีชาสามารถอย่างมาก เฉลียวฉลาด องอาจนักยากแก่การคาดคะเนหรือเดาได้ เพราะฉายแววแห่งความเป็นอัจฉริยะและบุญญาธิการมาตั้งแต่เด็ก และได้สร้างพระไว้จำนวนมากมายซึ่งผิดกับมนุษย์โดยทั่วไป ซึ่งผมได้ย้ำไว้ในบทนำว่า พระองค์ท่านไม่ใช่พระสงฆ์ธรรมดา อย่างที่หลายคนเข้าใจ เมื่อมองว่าพระองค์ท่านเป็นพระสงฆ์ธรรมดาจึงตามพระองค์ท่านไม่ทันจะไม่มีวันเข้าใจและจะไม่รู้จักพระองค์ท่านเลย….!!!

            ผู้รู้บางคนบอกว่าเป็นไปได้อย่างไร เรื่อง ร.ศ เพิ่งมีใช้ในรัชกาลที่ ๕ อย่างเป็นทางราชการ เรื่อง   ร.ศ ที่บันทึกไว้หลังแม่พิมพ์จึงกลายเป็นเรื่อง เหลวไหล (กลัวว่าคนอื่นจะหลอกหรือครับ) ก็นั่นแหละครับ ไปปิดกั้นทางเดินของคลื่นแม่เหล็กในสมองเสียก่อน ใจเลยไม่เปิดกว้างมัจฉริยทิฐิจึงเข้าครอบงำ ตา หู และใจจึงทำให้ปฏิเสธสิ่งที่ไม่เคยพบไม่เคยเห็นไม่เคยได้ยินว่า เหลวไหลแล้วตะโกนบอกคนทั่วไปว่า ผมเคารพเทิดทูน สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีมากได้อย่างไร อย่าว่าแต่แค่เรื่อง ร.ศ เลย สำหรับพระองค์ท่านแล้ว ภายใต้พระอาทิตย์ดวงนี้ไม่มีอะไรที่พระองค์ท่านจะทราบและกำหนดรู้ไม่ได้

          สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี เป็นพระนักเทศน์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่ทรงคุ้นเคยมาทั้งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาโตเป็นผู้ไม่ปรารถนาลาภ ยศสมณศักดิ์ใดๆเมื่อเรียนรู้พระปริยัติมาแล้วก็ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญและไม่รับเป็นฐานานุกรมเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้เป็นพระราชาคณะ พระมหาโตได้ทูลขอตัวมิยอมรับตำแหน่ง หรือเลี่ยงโดยออกธุดงค์ไปตามวัดในชนบทห่างไกลทุกคราวไป จึงคงเป็นพระมหาโตมาตลอดจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระมหาโตจึงยอมรับพระมหากรุณา

          สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรหมรังสี มีอัธยาศัยมักน้อยเป็นปกติลาภสักการะที่ได้มาในทางเทศนาก็นำไปสร้างสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยพระศาสนาจึงมีผู้นับถือศรัทธามาก บางคนเรียกท่านว่า “ขรัวโต” เพราะท่านจะทำอย่างไรก็ทำตามความพอใจไม่ถือตามความนิยมของผู้อื่นเป็นใหญ่

         ในปีพุทธศักราช 2395 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้งพระมหาโตเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ในปีขาล พุทธศักราช 2397 ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะผู้ใหญ่ที่พระเทพกวีศรีนายกตรีปิฎกปรีชามหาคณฤศร บวรสังฆราชคามวาสี ครั้นสมเด็จพระพุฒาจารย์ (สน)วัดสระเกศ มรณภาพ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ รูปที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 10 ขึ้น 9 ค่ำ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๘ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๐๗

           สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีได้สร้างวัดและสิ่งเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธศาสนาจำนวนมาก เช่น  หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหารบางขุนพรหม พระโตนั่งกลางแจ้งวัดไชโย จังหวัดอ่างทอง พระเจดีย์นอน วัดลครทำ ฯลฯนอกจากศาสนวัตถุต่างๆ แล้ว สมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)ยังได้รจนาบทสวดพระคาถาหลายบทแต่ที่เป็นที่รู้จักและถือว่าเป็นพระคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง และนิยมสวดภาวนาในหมู่พุทธศานิกชนคือพระคาถาชินบัญชร ด้วยความที่พระองค์ท่านเป็น       ปูชนียบุคคลที่พระพุทธศาสนิกชนกล่าวขวัญถึงในชื่อ “สมเด็จฯโตเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามและเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่มีความรอบรู้แตกฉานใน พระธรรมวินัย และธรรมปฏิบัติความเป็นเลิศในการเทศนา ได้รับการยกย่องสรรเสริญในสติปัญญาและปฏิญาณโวหารที่ฉลาดหลักแหลมเปี่ยมด้วยเมตตากรุณาแก่ผู้ตกยากมีอัธยาศัยมักน้อยสันโดษท่านถือปฏิบัติในข้อธุดงควัตรทุกประการคือ ฉันในบาตร ถือผ้าสามผืนออกธุดงค์ เยี่ยมป่าช้า นั่งภาวนา เดินจงกรมจนวาระสุดท้ายท่านมรณภาพเมื่อวันอาทิตย์ เวลา ๐๖.๐๐ น.ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย ซึ่งตรงกับวันที่  ๑๙ มิถุนายน  พุทธศักราช ๒๔๑๕  สิริพระชนมายุนับรวมได้ ๘๔ ปี กับ ๒ เดือนเศษ

สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี พระราชสมภพเพื่อพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงเพราะ

พระองค์ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเมื่อพระชนมายุ๕ ชันษา และทรงอุปสมบทเป็นพระเมื่อพระ   ชนมายุ๒๐ ชันษา ปฏิบัติศาสนกิจอย่างต่อเนื่องโดยตลอดพระชนม์ชีพทรงมีผลงานทั้งเรื่องการให้พระธรรมคำสอนโดยการเทศนาโปรด ทั้งในระเทศและต่างประเทศทรงสร้างวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมากในพระอิริยาบทต่างๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน และนอนและทรงสร้างพระพุทธรูปขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ไว้เป็นจำนวนมากจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ (พระชนมายุ ๘๕ พรรษา ใน พ.ศ. ๒๔๑๕)

เมื่อพระองค์ท่านสร้างพระและวัตถุมงคลต่าง ๆไว้จำนวนมากจึงทำให้คนที่รู้และเข้าใจ ได้เล็งเห็นถึงคุณค่าอันมหาศาลก็จะเก็บรักษาและหวงแหนเป็นที่สุด ทำให้เกิดอาชีพ ทำให้คนมีงานทำสร้างรายได้นำไปจุนเจือเลี้ยงครอบครัวส่วนคนที่ไม่รู้ไม่เห็นคุณค่าก็ไม่ให้ความสนใจ และไม่ไยดีและในการที่พระองค์ท่านได้สร้างพระและวัตถุมงคลไว้เป็นจำนวนมากจึงทำให้คนบางคนเกิดความไม่แน่ใจว่าพระและวัตถุมงคลเหล่านั้นพระองค์ท่านสร้างไว้จริงหรือไม่และสร้างไว้เป็นจำนวนมากมายอย่างนั้นจริงหรือ? เพราะเขาได้ยินมาว่า“พระองค์ท่านสร้างพระไว้จำนวนไม่มากพระองค์ท่านจะดูฤกษ์ผานาทีฤกษ์ดีก็สร้าง ๙ องค์ ๑๐ องค์ ๒๐ องค์ หมดฤกษ์แล้วก็เลิก แล้วหาฤกษ์ใหม่สร้างพระจึงมีจำนวนน้อย” ข้าพเจ้าขอยืนยันว่าพระองค์ท่านสร้างพระและวัตถุมงคลเป็นจำนวนมากนับเป็นล้านๆ องค์ โดยเฉพาะพระเครื่องและท่านผู้ที่สนใจสามารถพิจารณาวิเคราะห์ว่าเป็นพระหรือวัตถุมงคลที่พระองค์ท่านสร้างจริงหรือไม่โดยดูได้จากส่วนประกอบและลักษณะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเก่าของเนื้อพระรูปทรงในการความเก่าของเนื้อพระ พระที่สร้างโดยพระองค์ท่านนั้นเนื้อของพระจะแห้งโดยธรรมชาติไม่ใช่อบด้วยความร้อนมีลักษณะคล้ายคลึงกับสิ่งของที่นำไปตากแห้ง เช่น ผ้าเปียกเมื่อบิดตากแห้งจะมีริ้วรอย ย่น ยับซึ่งเกิดจากน้ำที่ระเหยออกไปจากผ้าเพราะความร้อนหรือลมผิวของพระจะแห้งและพระบางองค์จะเห็นรอยยุบของเนื้อพระแตกอ้าหรือเป็นร่อง พระบางองค์จะเห็นเหมือนกับเนื้องอกออกมาเป็นปุ่มทั้งนี้เกิดจากสารที่เคลือบบนผิวหรือแป้งที่โรยพิมพ์แห้งกร่อนหลุดออกไปตามอายุขัยของพระนั้นๆหรือบางพิมพ์เนื้อจะละเอียดเนียนเรียบแน่นคล้ายหินอ่อน บางองค์ออกแห้งแกร่งบางองค์ออกแห้งหนึกนุ่มและบางองค์อาจลงรักปิดทองล่องชาดโดยทั่วๆไปขององค์พระจะเห็นมวลสารเป็นจุดดำ จุดแดง จุดเหลือง เป็นก้อนเล็กๆหรือเป็นเม็ดคล้ายเม็ดหิน แต่ใสเหมือนแก้ว เหมือนเม็ดข้าวสาร เป็นต้น

อัตชีวประวัติ " สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี "

รูปทรงในการสร้าง ส่วนมากพระองค์ท่านจะสร้างเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า สามเหลี่ยมหน้าจั่วทรงกลม หรือรูปหยดน้ำ เป็นต้น สำหรับพระเครื่องรุ่นแรกๆนั้นพระองค์ท่านสร้างรูปทรงค่อนข้างจะกว้างใหญ่ และหนาบางพิมพ์มีสัญลักษณ์อยู่ด้านหลังของพระ เช่นรูปกงจักร รูปช้าง มงกุฎ ตัวอักษร“ต” พระรูป ร. ๕ฝังตะกรุด ฝังก้างปลา ฝังเพชรพลอย เป็นต้น

           สำหรับด้านหน้าทรงกำหนดเป็นรูปทรงเป็นพระพุทธรูปแบบต่างๆ หรือปางต่างๆ เช่น ปางขัดสมาธิปางสะดุ้งมาร พระประจำวันเกิดต่างๆ พระพุทธรูปสถิตอยู่บนฐาน ๓ ชั้น ๕ ชั้น ๗ ชั้นและ ๙ ชั้น และสำหรับพระบางพิมพ์ก็จะมีพระประจำวันเกิดองค์เล็กๆ เป็นทองเหลืองหรือเป็นทองคำติดอยู่โดยรอบพระพุทธรูปหรือที่ฐานของพระบางองค์ก็ฝังเพชรฝังพลอยไว้ด้วย และ         

          นอกจากนี้ยังมีพระรูปเหมือนและมีดวงพระชะตาของพระองค์ท่าน หรือ พระรูปเหมือนของรัชกาลที่ ๕ พร้อมด้วยดวงพระชะตาของพระองค์ท่านติดอยู่ด้วย และพระบางองค์ฝังตะกรุดทองคำตะกรุดเงิน และตะกรุดที่ทำด้วยนาก บางองค์ฝังเหล็กไหล ฝังพระธาตุและมีเส้นพระเกศาของพระองค์ท่านด้วย

          สำหรับรูปทรงที่นักเล่นพระหรือนักสะสมพระหวงแหนรักษากำหนดราคาเช่าซื้อแลกเปลี่ยนกันด้วยเงินเป็นเรือนพัน เรือนหมื่น เรือนแสนและเรือนล้านนั้นคือ  พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์ทรงนิยม พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์เส้นด้ายพิมพ์ทรงฐานแซมพิมพ์เกศไชโย พิมพ์ทรงไกรเซอร์ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์ปรกโพธิ์พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์พระประธาน  และพระสมเด็จอะระหัง เป็นต้น (เสนอตามหลักฐานที่มีอยู่ขณะนี้)

         สำหรับอิทธิวัตถุมงคลที่ใช้ในการสร้างพระนั้นพระองค์ท่านได้สะสมรวบรวมอิทธิวัตถุมงคลสำหรับสร้างพระมาตั้งแต่พระองค์ท่านยังเป็นสามเณรโดยทรงได้มาจากพระอาจารย์บ้าง ได้จากพระฤาษีบ้างได้มาจากองค์เทพยดาเจ้านิมิตให้ตามสถานที่ต่างๆ บ้าง นำมาถวายบ้างและที่สำคัญพระองค์ท่านทรงสร้างด้วยพระองค์เองโดยใช้ความพากเพียรวิริยะอุตสาหะอย่างมากและได้แสวงหาอิทธิวัตถุมงคลเหล่านั้นจากสถานที่ต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย

          พระอาจารย์ของพระองค์ท่านที่มอบอิทธิวัตถุมงคลให้เช่น ได้รับจากพระอาจารย์ สังฆราช สุก ไก่เถื่อน พระอาจารย์เฒ่า อายุ ๑๑๗ ปีจังหวัดอยุธยา พระอาจารย์แสง พระอาจารย์คง พระอาจารย์คำศีร จากเชียงใหม่พระอาจารย์ขัวใหญ่ จังหวัดอยุธยา เป็นต้น

          ทรงได้รับจากพระฤาษีเช่น พระฤาษีสัตตนะ พระฤาษีพิกุล พระฤาษีพิลาลัย พระฤาษีบรรลัยโกฎิ พระฤาษีตาวัวพระฤาษีตาไฟ พระฤาษีมัตตะ จากสุโขทัย

          ทรงได้รับนิมิตจากองค์เทพยดาเจ้าให้ไปนำอิทธิวัตถุมงคลเช่น ทอง เงิน นาก เพชร นิล ไม้แก่นจันทน์ ไม้กาหลง ว่าน เกสรในสถานที่ต่างๆ เช่นในถ้ำ มีถ้ำ ๑๒ คูหา ถ้ำป่ายางโดน ถ้ำอิสีคูหาสวรรค์ ในยอดปราสาทในพระหัตถ์พระประธานโบสถ์วัดต่างๆและที่สำคัญพระองค์ท่านได้รับอิทธิวัตถุมงคลซึ่งอัญเชิญมาจากสวรรค์ และน้ำก้อนซึ่งได้รับพระราชทานจากพระพรหม เป็นต้น

            อิทธิวัตถุมงคลที่ทรงสร้างและแสวงหาด้วยพระองค์เองนั้นทรงได้มาด้วยความพากเพียรพยายาม ทรงใช้ความวิริยะอุตสาหะอย่างมากและบางครั้งยังทรงใช้อิทธิฤทธิปาฏิหารย์ ในการได้มาซึ่งอิทธิวัตถุมงคลเหล่านั้นเช่น ผงวิเศษจำนวน ๕ อย่าง มี ผงอิถิเจ๑  ผงปัถมัง๑ ผงตรีนิสิงเห๑ ผงมหาราช๑ผงพุทธคุณ๑ ส่วนที่พระองค์ท่านแสวงหาด้วยพระองค์เองด้วยความยากลำบากอย่างมากเช่นว่านยา ๑๐๘ ผงเกสร ๑๐๘ ดินเจ็ดโป่งเจ็ดท่า ไคลเสมา ไคลเจดีย์พระเก่าเมืองกำแพงเพชร ดินเจ็ดป่าช้า   ดินใจกลางเมืองเจ็ดเมืองเถ้าถ่านขุนแผนย่างกุมารทองที่วัดป่าเลไลก์ น้ำผึ้งจากรังผึ้งโดยทรงใช้ใบตองรองน้ำพระพุทธมนต์ตามหัวเมืองต่างๆ เปลือกหอย และเปลือกมุกจากใจกลางสะดือทะเลและหินจากใต้พิภพ เป็นต้น

          สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีทรงมีเป้าหมายอย่างแท้จริงว่า ต้องการสร้างพระให้เป็นเครื่องผูกใจมนุษย์ ให้ทำดีละชั่วไม่ได้มุ่งให้มนุษย์ติดอยู่ในวัตถุ ให้มุ่งสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรม ตามมรรค ๘เพราะพระองค์ท่านบันทึกไว้ในแผ่นจารึกที่มีอยู่ในมือผมโดยในขณะนั้นพระองค์ท่านเสด็จธุดงค์ไปยังป่าเมืองกาญจนบุรีผมขอคัดลอกมาแสดงไว้เป็นบางส่วน ณ ที่นี้

          “วันพฤหัสบดีขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีกุล ตรีศก จุลศักราช ๑๒๑๓ ตรงกับ วันที่ ๕ มีนาคม ร.ศ ๗๐ รัชกาลที่ ๔ อาตมาได้ออกเดินธุดงค์มายังเมืองกาญจน์ เขากะโหลกอาตมาได้พักคืนที่ตีนเขา อาตมาได้สวดมนต์ทำวัตรเย็นสิ้นลงก็ได้นั่งคิดอยู่ภายในใจว่า จะทำการสร้างสิ่งอันเป็นเครื่องผูกใจมนุษย์ซึ่งยังเป็นปุถุชน (ดอกบัวใต้น้ำ) อยู่มาก ได้มีไว้ติดตัวเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติครุ่นคิดว่าจะทำอย่างไรจนหลับไปราวๆยามสาม อาตมาได้นิมิตจนต้องตื่นขึ้น” แล้วพระองค์ท่านเสด็จขึ้นไปบนยอดเขา และได้พบตามที่ ท่านชินปัญชระบอกไว้จริง

อัตชีวประวัติ " สมเด็จพระพุฒาจารย์โตพรมรังสี "

                                                                   คติธรรมคำสอน

                                  “หมั่นสร้างบารมีไว้......แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง”

         “ลูกเอ๋ย...ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัวเองคือบารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยขอยืมบารมีคนอื่นมาช่วย  หากไม่เช่นนั้นแล้วเจ้าจะเอาตัวไม่รอดเพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว...เมื่อทำบุญทำกุศลได้บารมีมาก็ต้องเอาไปผ่อนใช้หนี้เขาจนหมด  ไม่มีอะไรเหลือติดตัวแล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า...หมั่นสร้างบารมีไว้แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง

            จงจำไว้นะ...เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดจะคิดช่วยเจ้าไม่ได้...ครั้งถึงเวลา....ทั่วฟ้าจบดินก็ต้านเจ้าไม่อยู่...จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน  เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้เลยจะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า”

                                                            เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ

            ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์  (โต) กล่าวว่า เคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม คือ  จะต้องมีสัจจะอันแน่วแน่  และมีขันติธรรมอันมั่นคง  จึงจะฝ่าฟันอุปสรรค  บรรลุความสำเร็จได้  อาตมามีกฎอยู่ว่า  เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก  ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาวต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง  พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต  เพื่อปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

1. จะต้องมีสัจจะต่อตนเอง

2. จะต้องไม่คล้อยตามอารมณ์ของมนุษย์

3. พยายามตัดงานในด้านสังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน ดังนั้นเมื่อจะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา  เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

ทางแห่งความหลุดพ้น

            เจ้าประคุณสมเด็จฯมักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่า ชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ถึงหนึ่งร้อยปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า  ดังนั้น จึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีล  สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏ ท่านเปรียบเทียบว่า  มนุษย์อาบน้ำ  ชำระกายวันละสองครั้ง เพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย  แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที  ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ยุคปัจจุบันเศร้าหมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน  จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งและกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

กรรมลิขิต

            เราทั้งหลายเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติแล้ว  ล้วนแต่มีกรรมผูกพันกันมาทั้งสิ้น  ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรูบ้าง  แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำไว้  ทุกชีวิตล้วนมีกรรมเป็นเครื่องลิขิต

                                                      อดีตกรรม  ถ้ากรรมดี เสวยอยู่

                                                      ปัจจุบันกรรม  สร้างกรรมชั่ว ย่อมลบล้าง

                                                      อดีตกรรม  กรรมแห่งอกุศล วิบากตน

                                                      ปัจจุบัน  สร้างกรรมดี ย่อมผดุง

 เรื่องกฎแห่งกรรม  ถ้าเป็นชาวพุทธแล้วเขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้  ต้องทำเอง  รู้เอง ถึงเอง  แล้วจึงจะเข้าใจ

นักบุญ

            การทำบุญก็ดี  การทำสิ่งใดก็ดี  ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะ  ทำเพื่อให้จิตเบิกบาน  ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ  มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส  ดังนั้น บางคนนึกว่าเขาสร้างโบสถ์เป็นหลัง ๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า  เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก  เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บริสุทธิ์ เป็นการทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี  บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อในเสือ  คือข้างหน้าเป็นนักบุญ  ข้างหลังเป็นนักปล้น

ละความตระหนี่มีสุข

            ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า  ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม  บุญนั้น จึงมีกระแสคลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่าบุญ  นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกในการทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่  รู้จักเสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น  ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน  เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย  เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

อย่าเอาเปรียบเทวดา

            ในการทำบุญ  สิ่งที่จะได้ก็คือ  ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์  เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะเป็นมงคล  ทำให้จิตใจเบิกบานดี  นี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน  ทีนี้การทำบุญเพื่อจะเอาผลตอบแทนนั้น  มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา  ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทนด้วยความโลภ  บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล  ท่านอย่าลืมว่า  ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่งอันเป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะติดตามความเคลื่อนไหวของตน ๆ นั้น  ไปตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

บุญบริสุทธิ์

            การที่สอนให้ทำบุญโดยไม่ปรารถนานั้น ก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิ์เป็นขั้นที่หนึ่ง  จะได้ตามให้ผลทันในปัจจุบันชาติ  แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ  ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพ  คือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไปแล้ว ฉะนั้น  เขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้าทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน  สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

สั่งสมบารมี

            โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริมการปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้น  เป็นบารมีอย่างหนึ่ง  ในบารมีสิบทัศที่ต้องสั่งสม  เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน

เมตตาบารมี

            การทำบุญให้ทานเพียงแต่เรียกว่า  ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจนได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการให้ ให้สักแต่ว่าให้เขา ท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติของอาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่าการให้ทาน

แผ่เมตตาจิต

            ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น  เกิดจากกรรม 3  อย่าง  คือ มโนกรรม  เป็นใหญ่  แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม  หรือกายกรรมที่เป็นรูป  การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า  เพราะว่าการแผ่เมตตา  1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้างโบสถ์  1  หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้นจะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพสัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย  ฉะนั้น  เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

อานิสงส์การแผ่เมตตา

            ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น  ต้องรู้จักคำว่า  แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่งการคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มีกระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไป  เมื่อจิตของเรามีเจตนาบริสุทธิ์  เมื่อจิตของเราเป็นมิตรกับทุกคน  เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา  เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร  คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา  หรืออีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขา ๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ทุก ๆ วัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุก ๆ ดวง  ดวงวิญญาณทุก ๆดวงย่อมรู้กระแสแห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร  เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต  วิญญาณจะสงบ ธาตุทั้ง ๔  นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป ฉะนั้น  ผู้ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ  จิตแน่วแน่แล้ว  โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป  ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่จะพังเต็มทีแล้ว  คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย  หรือว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่งเดิมได้

ขอบคุณภาพจาก www.google.com

แชร์