พระภิกษุสงฆ์..ผู้เป็นสายโลหิตแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมทายาทผู้สมควรดูแลรักษาพระพุทธศาสนา

พระภิกษุสงฆ์... ผู้เป็นสายโลหิตแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ผู้ที่ปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมทายาท เป็นทายาทแห่งธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สมควรดูแลรักษาพระพุทธศาสนา http://winne.ws/n14388

4.3 พัน ผู้เข้าชม
พระภิกษุสงฆ์..ผู้เป็นสายโลหิตแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมทายาทผู้สมควรดูแลรักษาพระพุทธศาสนา

จากประโยค “กิจฺโฉ  พุทฺธานมุปฺปาโท” ความอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า เป็นการยาก นี้ แสดงให้เห็นว่า การที่จะให้ใครเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า นั้น ย่อมหาไม่ได้ เพราะคุณสมบัติของบุคคลเช่นพระพุทธองค์ นั้น มีเพียง 1 เดียวเท่านั้น ดังนั้น พระพุทธองค์ จึงให้พระธรรมวินัย เป็นศาสดาแทนพระองค์ เมื่อพระพุทธองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว

พระภิกษุสงฆ์...
        ผู้เป็นสายโลหิตแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ผู้ที่ปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระภิกษุสงฆ์ หมายถึง 

         หมู่ชนที่ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยพระสงฆ์ ได้แก่ ภิกษุในพระพุทธศาสนา, หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า คือผู้ออกบวชตามพระพุทธเจ้าหลังจากได้ฟังคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใส ต้องการจะได้บรรลุธรรมตามพระพุทธเจ้าจึงสละเหย้าเรือนออกบวช ปฏิบัติตามธรรมและวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

พระภิกษุสงฆ์ หมายถึง 

        ธรรมทายาทแห่งพระศาสนา หรือทายาทแห่งธรรม ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้สืบทอดอายุศาสนา ต่อจากพระบรมศาสดา

ดังนั้นในทางคณะสงฆ์จึงต้องมี ชื่อและฉายา ของผู้จะอุปสมบท เป็นภาษามคธ โดยพระอุปัชฌาย์ จะตั้งชื่อให้ใหม่ทุกรูปซึ่งเรียกว่า "ฉายา" เพื่อสะดวกในการอุปสมบทกรรม พระอุปัชฌาย์ผู้จะตั้งชื่อให้นั้น ท่านก็ถือเอาวันเกิด ชื่อจริง นามสกุลจริง ของนาคเป็นเกณฑ์ แล้วแต่ท่านจะเลือกเกณฑ์ใด ในการตั้งฉายา หรืออีกนัยหนึ่ง "ฉายา" ก็คือ นามสกุลใหม่ ของการได้เกิดใหม่ ซึ่งถือว่า ได้เกิดใหม่  ภายใต้ร่มกาสาวพัสตร์ เป็นลูกของพระพุทธเจ้า นั่นเอง

การตั้ง "ฉายา" พระบวชใหม่ ในสมัยโบราณ ก่อนจะมีนาฬิกาเครื่องกล 

        เมื่อมีกุลบุตร มาเข้าพิธีบวช ทางวัด จะปักไม้ไว้กลางแจ้ง เพื่อดู เงา (ฉายา) เปน นาฬิกาแดดเมื่ออุปสมบทพิธีแล้วเสร็จ จึงมาดู เงา (ฉายา) ของไม้ที่ปักไว้นั้น และคำนวณเปนเวลาตกฟาก  ในการตั้งนาม ของพระภิกษุใหม่ นามของพระภิกษุใหม่ จึงเรียกว่า ฉายา โดยเหตุฉะนี้ และพระอุปัชฌาย์ ท่านจะขาน "ฉายา" ในพิธีกรรมการบวชและรับญัตติ ให้เป็นพระภิกษุ โดยสมบูรณ์

พระภิกษุสงฆ์..ผู้เป็นสายโลหิตแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมทายาทผู้สมควรดูแลรักษาพระพุทธศาสนาแหล่งภาพจาก wallpaper.dmc.tv

เหตุแห่งการนับถือว่าผู้ใดคือทายาทพระศาสนา ที่แท้จริง

ข้อความตอนหนึ่งจากอรรถกถาพระวินัย เรื่องพระเจ้าอโศกมหาราชพระเถระถวายพระพรว่า  

มหาบพิตร !  ขึ้นชื่อว่าผู้ถวายปัจจัย    ในพระศาสนาของพระทศพลเช่นกับพระองค์  ในเมื่อพระตถาคตเจ้าแม้ยังทรงพระชนม์อยู่  ไม่มีใครเลย  พระองค์เท่านั้น   ทรงมีการบริจาคยิ่งใหญ่.          พระราชา   ทรงสดับคำของพระเถระแล้วได้มีพระวรกายอันปีติปราโมทย์อย่างโอฬารถูกต้องแล้ว  หาระหว่างมิได้  จึงทรงพระดำริว่า ได้ยินว่าผู้ที่ถวายปัจจัยเช่นกับเรา ไม่มี ได้ยินว่า เรามีการบริจาคยิ่งใหญ่  ได้ยินว่าเรากำลังยกย่องเชิดชูพระศาสนา ด้วยไทยธรรม ก็เมื่อเป็นอย่างนี้   เราจะได้ชื่อว่า   เป็นทายาทแห่งพระศาสนาหรือไม่.        

ลำดับนั้น ท้าวเธอจึงตรัสถามภิกษุสงฆ์ว่า   ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ  !  โยมเป็นทายาทแห่งพระศาสนา หรือยังหนอ ?   

ในลำดับนั้น ท่านพระโมคคลีบุตรติสสเถระ ฟังพระราชดำรัสนี้แล้ว เมื่อเล็งเห็นอุปนิสัยสมบัติ    แห่งพระมหินท์ผู้เป็นพระโอรส (ของท้าวเธอ) จึงดำริว่า ถ้าพระกุมารนี้ จักทรงผนวชไซร้         พระศาสนาก็จักเจริญอย่างยิ่ง จึงถวายพระพรเรื่องนี้กะพระราชาว่า   

มหาบพิตร ! ผู้ที่จะเป็นทายาทแห่งพระศาสนา  หาใช่ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ ก็อีกอย่างหนึ่งแล  ผู้ถวายปัจจัย เช่นนั้น  ย่อมถึงความนับว่า ปัจจัยทายก หรือว่า ผู้อุปัฏฐาก (เท่านั้น) 

มหาบพิตร  !  แท้จริง แม้ผู้ใดพึงถวายปัจจัยกองตั้งแต่แผ่นดินขนาดจดถึงพรหมโลก    แม้ผู้นั้น    ก็ยังไม่ถึงความนับว่า  เป็นทายาทในพระศาสนาได้.ลำดับนั้น   พระราชาตรัสถามว่า    ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ !   ถ้าเช่นนั้นทายาทแห่งพระศาสนา   จะมีได้อย่างไรเล่า  ?  พระเถระถวายพระพรว่า       

มหา-บพิตร  !  บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง    จะเป็นผู้มั่งคั่งก็ตาม   จะเป็นผู้ยากจนก็ตาม  ให้บุตรผู้เป็นโอรสของตนบวช    (ในพระศาสนา)   มหาบพิตร  !   บุคคลนี้     ท่านเรียกว่าเป็นทายาทแห่งพระศาสนา....

พระภิกษุสงฆ์..ผู้เป็นสายโลหิตแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นธรรมทายาทผู้สมควรดูแลรักษาพระพุทธศาสนา

เหตุใด ผู้แม้จะทำบุญมากมายสักปานใดก็ยังไม่ได้ชื่อว่า ได้เป็นทายาทในพุทธศาสนา   แต่ถ้าได้บวชแม้เพียงวันเดียว  จึงจะถือว่าได้เป็นทายาทในพุทธศาสนา

ทายาท มี 2 อย่างคือ อามิสทายาทและธรรมทายาท  อามิสทายาท เช่น ภิกษุผู้ติดลาภสักการะ ไม่ประพฤติธรรม อาศัย ปัจจัย  มี จีวร

บิณฑบาต ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าของ)  ดังนั้นภิกษุ

รูปนั้นแม้บวชเข้ามา  แต่ไม่ประพฤติธรรม ติดในลาภ ที่เกิดขึ้น ชื่อว่า  เป็นอามิสทายาท

พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ และเป็นทายาทที่ไม่ดี

ธรรมทายาท คือ ภิกษุใด   แม้ได้ลาภ  สักกการะ  ปัจจัยต่าง ๆ แต่เป็นผู้พิจารณา

ก่อนบริโภค ปัจจัย   และ ประพฤติธรรม  บรรลุธรรม ชื่อว่า เป็นทายาทของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมทายาท   พระพุทธเจ้าทรงเป็นเจ้าของธรรม    เพราะทรงยังทางคืออริยมรรคมี องค์ 8 ให้เกิด         ผู้ประพฤติตามจนบรรลุจึงเป็นทายาทโดยธรรม ( ธรรมทายาท )

พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ        ส่วนทายาทของพระศาสนา หมายถึง บิดา มารดา ที่ให้บุตรและธิดาบวช  ตัวบิดาและมารดานั้นเอง เป็นทายาทของพระศาสนา     ส่วนบุคคลที่เข้าไปบวชแล้ว  ก็แล้วแต่

ว่าจะเป็นทายาทโดยเป็นอามิสทายาทหรือธรรมทายาท ซึ่งการเป็นทายาทเมื่อบวช แล้วเป็นอามิสทายาทนั้นไม่ดี  พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญ   ดังนั้นไม่ได้หมายความว่า พอบวชแล้วได้เป็นทายาท  เมื่อเป็นทายาทแล้วจะดี    ขึ้นอยู่กับความประพฤติ     และการปฏิบัติย่อมแสดงว่าเป็นทายาทประเภทไหนคือ อามิสทายาทหรือธรรมทายาท                                             

ขออนุโมทนาขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.dhammahome.com/webboard/topic9819.html

แชร์