เปิดบันทึก!! "กายสิทธิ์" ผู้เลี้ยงผู้รักษามนุษย์ :โดยหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
ภายในดวงแก้วนั้นมีรัตนะเจ็ด คือ แก้ว ๗ ประการ ดังต่อไปนี้จักรแก้ว ๑ช้างแก้ว ๑ม้าแก้ว ๑ดวงแก้วมณี ๑นางแก้ว ๑คฤหบดี (ขุนคลัง) แก้ว ๑ขุนพลแก้ว ๑ในแก้ว ๗ ประการนี้ จักรแก้วเป็นใหญ่ เป็นประธานในแก้ว ๗ ประการ ทั้งหลายเหล่านั้น ในแก้ว ๗ ประการ http://winne.ws/n15698
เปิดบันทึก!! "กายสิทธิ์" ผู้เลี้ยงผู้รักษามนุษย์ : โดยหลวงปู่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
กายสิทธ์ คืออะไร? มีความสำคัญต่อการเจริญวิชชาธรรมกายอย่างไร? กายสิทธิ์ในวิชชาธรรมกาย เรียกว่า ภาคผู้เลี้ยงมนุษย์ ซึ่งเป็นผู้เลี้ยงมนุษย์ มีหน้าที่เลี้ยงดูพิทักษ์รักษากายมนุษย์ กล่าวโดยย่อ มี ๓ ชั้น คือ จุลจักร ๑ มหาจักร ๑ บรมจักร ๑ ทั้ง ๓ ชั้นนี้ มีกายสิทธิ์เป็นบริวารชั้นหนึ่ง ๆ นับหลายแสนหลายโกฏิอสงไขย มีหน้าที่ต่างกันคือ
๑. จุลจักร พร้อมทั้งบริวารมีหนาที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ ที่มีบารมีอย่างต่ำ
๒. มหาจักร พร้อมทั้งบริวารมีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ ที่มีบารมีชั้นกลาง
๓. บรมจักร พร้อมทั้งบริวารมีหน้าที่เลี้ยงรักษากายมนุษย์ ที่มีบารมีชั้นสูง มนุษย์คนหนึ่ง ๆ มีจักรพรรดิทั้ง ๓ พร้อมบริวารชุดหนึ่งๆ เป็นผู้เลี้ยง และอาจผลัดเปลี่ยนกันรักษาไปตามคราว ๆ เป็นต้นว่า...
คราวใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาก็มีทรัพย์สมบัติและความสุขน้อย
คราวใด มหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษาก็มีทรัพย์สมบัติและความสุขมัชฌิมา
คราวใด บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา ก็มีสมบัติและความสุขบริบูรณ์ทุกประการ ไม่เลี้ยงรักษาแต่เฉพาะกายมนุษย์เท่านั้น สิ่งไม่มีวิญญาณก็สมบูรณ์เหมือนกัน ถึงแม้สมัยยุคของโลกก็เลี้ยงทั่วไปเป็นสาธารณะเหมือนกัน
ถ้ายุคใดสมัยใด จุลจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มีความสุขน้อย สมบัติและอาชีพต่าง ๆ ก็อัตคัดกันดารไม่สมบูรณ์
ถ้ายุคใดสมัยใด มหาจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็มีความสุข เป็นมัชฌิมาทรัพย์สมบัติและเครื่องกินเครื่องใช้ก็พอปานกลางไม่ฟุ่มเฟือยนัก และ ไม่กันดารนัก พอปานกลาง
ถ้ายุคสมัยใด บรมจักรกับบริวารเลี้ยงรักษา โลกก็บริบูรณ์ไปด้วยความ สุขทุกประการ ทรัพย์สมบัติ วิญญาณกทรัพย์ และอวิญญาณกทรัพย์ก็หาได้ง่าย มั่งคั่งสมบูรณ์ไปตาม ๆ กัน ไม่เบียดเบียนกัน
จักรทั้ง ๓ กับบริวารที่กล่าวมานี้ เฉพาะกายมนุษย์ส่วนกายอื่น ๆ ก็มีจักรทั้ง ๓ กับบริวารเลี้ยงรักษามีประจำสำหรับทุกกายไปตลอด จนกายสุดหยาบ สุดละเอียดเท่ากันเหมือนกันถ้าเลี้ยงกายไหน รูปพรรณสัณฐาน ร่างกายก็เหมือนกายนั้น เช่น จักรเลี้ยงกายมนุษย์และกายทิพย์ เลี้ยงกายปฐมวิญญาณหยาบ เลี้ยงกายปฐมวิญญาณละเอียด เลี้ยงกายธรรมเป็นต้นก็มีรูปพรรณสัณฐานเหมือนกับกายนั้น ๆ แต่ทว่าดีกว่า ใสกว่ากายนั้น ๆ ส่วนรูปร่างเหมือนกับกายที่เลี้ยงนั้น ตลอดจนกายสุดหยาบสุดละเอียดจักรทั้ง ๓ นั้น เหตุใดจึงเรียกนามว่า จักร คือ
กายสิทธิ์มีตัวอยู่ในดวงแก้ว ดวงแก้วนั้นเป็นบ้านเรือนสำหรับอยู่อาศัยของเขา เหมือนมนุษย์อาศัยอยู่บ้านเรือน ภายในดวงแก้วนั้นมีรัตนะเจ็ด คือ แก้ว ๗ ประการ ดังต่อไปนี้
จักรแก้ว ๑
ช้างแก้ว ๑
ม้าแก้ว ๑
ดวงแก้วมณี ๑
นางแก้ว ๑
คฤหบดี (ขุนคลัง) แก้ว ๑
ขุนพลแก้ว ๑ในแก้ว ๗ ประการนี้ จักรแก้วเป็นใหญ่ เป็นประธาน ในแก้ว ๗ ประการ ทั้งหลายเหล่านั้น ในแก้ว ๗ ประการ เป็นตัวอำนาจมีสิทธิให้สำเร็จ อำนาจและเกิดการน้อยใหญ่ ดุจดังมหาอำมาตย์ผู้ใหญ่ เป็นผู้สำเร็จราชการทั้งปวง เพราะเหตุนี้แหละ จักรทั้ง ๓ นั้นจึงได้นามว่า “จักร”
ความแตกต่างกันของจักรทั้ง ๓
ความแตกต่างกันของจักรทั้ง ๓ นั้น คือ
จุลจักร เป็นดวงแก้วกลมใส สะอาด บริสุทธิ์ ประณีต มีฤทธิ์อำนาจและบริวารน้อยกว่าแก้วมหาจักร
มหาจักร เป็นดวงแก้วกลมใส สะอาดบริสุทธิ์ ประณีตกว่าจุลจักร มีฤทธิ์อำนาจบริวารมากกว่าจุลจักร
บรมจักร เป็นดวงแก้วกลมใส ขาวสะอาดบริสุทธิ์ประณีตกว่าแก้วมหาจักร มีฤทธิ์อำนาจและบริวารมากกว่าจุลจักรและมหาจักร
กายหนึ่ง ๆ ก็มีจุลจักร มหาจักร บรมจักร พร้อมทั้งบริวารเป็นผู้เลี้ยง มีประจำไปเช่นนี้ทุกกาย กายละพวก ๆ จนสุดหยาบสุดละเอียด ผู้เลี้ยงก็มีไปจนสุดหยาบสุดละเอียดของกายผู้เลี้ยงเหมือนกัน
ขนาดของจักรทั้ง ๓ กับแก้วบริวาร คือ
๑) แก้วจุลจักร และบริวาร ขนาดตั้งแต่เล็กเท่าแววตาดำขึ้นไป จนถึงโตเท่าผลมะตูม หรือผลมะขวิด
๒) แก้วมหาจักร และบริวาร ขนาดผลตาลขึ้นไปจนถึงผลมะพร้าวแห้ง
๓) แก้วบรมจักร และบริวาร ขนาดตั้งแต่เท่าบาตรขึ้นไปจนถึงโตเท่าตะแกรงหรือเท่ากระด้ง
พวกผู้เลี้ยงหรือที่เรียกว่า พวกกายสิทธิ์นี้ ก็มีธาตุตายธรรมตาย เป็นต้นว่า ภพเป็นที่อยู่เหมือนกับพวกมนุษย์เช่นเดียวกันธาตุเป็น ธรรมเป็น ก็มีเหมือนกายมนุษย์ คือ มีกาย ใจ จิต วิญญาณ รวมเป็น ๔ อันเป็นที่ตั้งของเห็นจำคิดรู้ มีธาตุคือ ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ รวมเป็น ๔ และมีดวงคือ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ อีก ๔ รวมเป็น ธาตุ ๑๒ ธรรม ๑๒
ธาตุธรรมเดิมของผู้เลี้ยงมนุษย์
ธาตุธรรมเดิมของผู้เลี้ยงมนุษย์
ธาตุธรรมเดิมของผู้เลี้ยงมนุษย์ หุ้มซ้อนอยู่นอกกำเนิดธาตุธรรมของมนุษย์ ส่วนกายอื่น ๆ ก็เหมือนกันตลอดสุดกายหยาบ สุดกายละเอียด ถ้าเป็นผู้เลี้ยงกายใด กำเนิดธาตุธรรมเดิมก็ซ้อนอยู่นอกกำเนิดกายนั้น ส่วนภพเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เลี้ยงมนุษย์นั้น หุ้มซ้อนอยู่ชั้นนอกของภพมนุษย์ เช่นกายอยู่เหมือนกัน ถ้าผู้เลี้ยงกายใด ภพของผู้เลี้ยงก็หุ้มซ้อนอยู่ชั้นนอกของภพกาย ๆนั้น ตลอดจนสุดกายหยาบ สุดกายละเอียดของภพ
ภพซึ่งเป็นธาตุตายของผู้เลี้ยงนั้นก็มี เห็น จำ คิด รู้ คือ มีกาย ใจ จิต วิญญาณ เป็นที่ตั้ง ของเห็น จำ คิด รู้ รวมเป็น ๔ มีธาตุคือ ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ รวมเป็น ๔ และมีดวงคือ ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ อีก ๔ รวมเป็นธาตุ ๑๒ ธรรม ๑๒ เหมือนกันทุก ๆ ภพ ตลอดสุดกายหยาบ สุดกายละเอียดของภพ
กายและภพของผู้เลี้ยงที่กล่าวมานี้ ก็แตกออกเป็น ธาตุ ๖ ธรรม ๖ เหมือนกายและภพของมนุษย์ ๑๒ อย่าง ๆ ละ ๖ เป็นธาตุ ๗๒ ธรรม ๗๒ ของธาตุธรรมผู้เลี้ยงกายมนุษย์กายเดียว รวมเป็นธาตุและธรรม ๑๔๔ ส่วนภพของผู้เลี้ยงมนุษย์ก็แยกเป็น ธาตุ ๖ ธรรม ๖ เหมือนกายและภพของมนุษย์ ๑๒ อย่าง ๆ ละ ๖ เป็นธาตุ ๗๒ ธรรม ๗๒ รวมเป็น ๑๔๔ อีก ที่กล่าวมานี้เป็นเฉพาะแต่ผู้เลี้ยงมนุษย์และภพของผู้เลี้ยงมนุษย์ เป็นตัวอย่าง ๆ เดียวเท่านั้น ส่วนผู้เลี้ยงและภพของผู้เลี้ยงกายอื่น ๆ จนสุดหยาบ สุดละเอียดนั้น ก็มีนัยเหมือนดังที่กล่าวมาแล้วเป็นตัวอย่างนี้ เหมือนกันหมดทุกประการ
ตามที่กล่าวมานี้เฉพาะมนุษย์และผู้เลี้ยงมนุษย์สายขาวเท่านั้น ส่วนมนุษย์และผู้เลี้ยงมนุษย์สายกลางและสายดำ ก็มีนัยดังที่กล่าวถึงมนุษย์สายขาวเป็นดังนี้ทุกประการ มีกายสุดหยาบสุดละเอียด มีภพสุดหยาบสุดละเอียด มีธาตุธรรมส่วนเป็นส่วนตาย มนุษย์ภาค ๑ ผู้เลี้ยงมนุษย์ภาค ๑ เหมือนกับสายขาว ทั้งกับสายกลางและสายดำ ก็แยกเป็นธาตุ ๖ ส่วนหนึ่ง เป็นธรรม ๖ ส่วนหนึ่ง ไปจนสุดหยาบสุดละเอียดของกาย และของภพของภาคธาตุภาคธรรม
ที่มาและอ้างอิง: หนังสือวิชชามรรคผลพิสดาร เล่ม ๒ ของหลวงพ่อวัดปากน้ำซึ่งเป็นตำราวิชชาธรรมกายขั้นสูง