ทำไม “การฆ่าตัวตาย” จึงบาป?

ทางพุทธศาสนา มองว่ากรรมจะเกิดขึ้นก็ด้วย “เจตนา” การฆ่าตัวตาย กรรมที่หนักสุด และถือเป็นต้นเหตุของการกระทำทั้งมวล นั้นคือ “มโนกรรม” ฉะนั้น “การกระทำ – ฆ่าตัวตาย นั้นไม่ถือว่าเป็นบาป หากไม่ได้ทำด้วยใจเคียดแค้น หรือเป็นทุกข์ระทม http://winne.ws/n22157

1.9 พัน ผู้เข้าชม
ทำไม “การฆ่าตัวตาย” จึงบาป?

ย้อนรอย...

          “ การฆ่าตัวตายของภิกษุ ” 

ในสมัยพุทธกาล ที่พระพุทธเจ้า " ไม่ตำหนิ "

 ...แล้วทำไม “การฆ่าตัวตาย” จึงบาป?

“การฆ่าตัวตาย” 

ในพุทธศาสนา บาปหรือไม่ ? 

คงยังเป็นคำถามที่เราทุกคนต้องการหาคำตอบมาตลอด เพราะเราเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่า การฆ่าตัวตายนั้นจะส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดไปอีก 500 ชาติ และอื่นๆ ซึ่งวันนี้เราจะขอยกเรื่องราวดังกล่าวมาเล่าขานไว้ดังนี้ ...

สำหรับการฆ่าตัวตายในพุทธศาสนานั้น การฆ่าตัวตายนั้นไม่ถือว่าเป็นบาป (แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่สมควรกระทำ)ด้วยเหตุว่า มนุษย์เป็นเจ้าของชีวิตของตัวเอง หากแต่เป็นเป็นไปตาม “ กรรม ” ของตน ถึงจะไม่ใช่เจ้าของ   แบบสามารถสั่งการให้ทุกอย่างเป็นไปตามปรารถนา แต่ก็มีสิทธิเลือกที่จะกระทำ (สร้างกรรมของตนเอง) มนุษย์จึงสามารถเลือกที่จะอยู่หรือตายได้

และทางพุทธศาสนา มองว่ากรรมจะเกิดขึ้นก็ด้วย “เจตนา”  และกรรมที่หนักสุด และถือเป็นต้นเหตุของการกระทำทั้งมวล นั้นคือ “มโนกรรม” ฉะนั้น “การกระทำ – ฆ่าตัวตาย นั้นไม่ถือว่าเป็นบาป หากไม่ได้ทำด้วยใจเครียดแค้น หรือเป็นทุกข์ระทม

อาจมีการชี้ว่า “การฆ่าตัวตาย” น่าจะผิดศีลข้อที่ ๑ เพราะถือเป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ทว่าศีลข้อที่ ๑ คือ ห้ามฆ่าและเบียดเบียนสัตว์ (ปาณาติบาต) แต่เนื่องจากการฆ่าตัวตายไม่ได้เป็นการกระทำการเบียดเบียนชีวิตของสัตว์อื่นตามหลักการของพุทธศาสนา

ในพุทธศาสนา ได้พูดถึงการฆ่าตัวตาย ของ พระอรหันต์ ไว้ดังนี้ ...

๑.ในฉันโนวาทสูตร เล่าถึง  พระฉันนะ ฆ่าตัวตาย พระพุทธเจ้าไม่ตำหนิ เพราะท่านเป็นพระอรหันต์  

         [๗๕๑] เมื่อท่านพระฉันนะกล่าวแล้วอย่างนี้ ท่านพระมหาจุนทะได้กล่าว กะท่านพระฉันนะดังนี้ว่า..

 ดูกรท่านฉันนะ เพราะฉะนั้นแล ท่านควรใส่ใจคำสั่งสอน ของพระผู้มีพระภาคนั้นไว้ตลอดกาลเนืองนิตย์แม้ดังนี้ว่า บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิ อาศัยอยู่แล้ว ย่อมมีความหวั่นไหว สำหรับผู้ไม่มีตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มี ความหวั่นไหว 

เมื่อไม่มีความหวั่นไหว ก็มีความสงบ เมื่อมีความสงบ ก็ไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ เมื่อไม่มีตัณหาตัวน้อมไปสู่ภพ ก็ไม่มีการมาเกิด ไปเกิด เมื่อไม่มีการมาเกิดไปเกิด ก็ไม่มีจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ ก็ไม่มี โลกนี้ ไม่มีโลกหน้า ไม่มีระหว่างกลางทั้งสองโลก นี่แหละที่สุดแห่งทุกข์ 

ครั้น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะ กล่าวสอนท่านพระฉันนะด้วยโอวาท นี้แล้ว จึงลุกจากอาสนะ หลีกไป 

ทำไม “การฆ่าตัวตาย” จึงบาป?

    [๗๕๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระฉันนะ เมื่อท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาจุนทะหลีกไปแล้วไม่นาน ได้หาศาตรามาฆ่าตัวเสียทันทีนั้น ท่านพระสารีบุตรจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระฉันนะหาศาตรามาฆ่าตัวเสียแล้ว ท่านจะมีคติ อย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร ฯ

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุพยากรณ์ ความเป็นผู้ไม่ควรตำหนิต่อหน้าเธอแล้วมิใช่หรือ ฯ

พระสารีบุตร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีบ้านในแคว้นวัชชีนามว่าปุพพชิระ ที่หมู่บ้านนั้น ท่านพระฉันนะยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลคนที่คอยตำหนิอยู่ ฯ

     [๗๕๓] พ. ดูกรสารีบุตร ฉันนภิกษุยังมีสกุลมิตร สกุลสหาย และสกุลที่คอยตำหนิอยู่ก็จริง แต่เราหาเรียกบุคคลว่า ควรถูกตำหนิด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่ 

    ดูกรสารีบุตร บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเรา เรียกว่า ควรถูกตำหนิ ฉันนภิกษุหามีลักษณะนั้นไม่ ฉันนภิกษุหาศาตรามาฆ่าตัวอย่างไม่ควรถูกตำหนิ ฯ

       พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงชื่นชมยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ”

๒. พระวักกลิ ฆ่าตัวตาย เช่นกัน ท่านก็เป็นพระอรหันต์

  พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค [๑. ขันธสังยุต] มัชฌิมปัณณาสก์ ๔. เถรวรรค ๕. วักกลิสูตร

        ไม่เคลือบแคลงสัญญาที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า

 ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ 

ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’

       ไม่เคลือบแคลงสังขารที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’

      ไม่เคลือบแคลงวิญญาณที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา”

       ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้วก็จากไป เมื่อภิกษุเหล่านั้นจากไปไม่นาน ท่านพระวักกลิก็ได้นำศัสตรามา๑-

        ต่อมา ภิกษุเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ นั่ง ณ ที่สมควร แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

 “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุวักกลิอาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เธอขอถวายอภิวาทพระยุคลบาทของพระองค์ด้วยเศียรเกล้าและฝากมากราบทูลอย่างนี้ว่า

 ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่เคลือบแคลง รูปที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรัก ใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา’

     ไม่เคลือบแคลงเวทนาที่ไม่เที่ยง ... สัญญา ... สังขาร ... ไม่เคลือบแคลง วิญญาณที่ไม่เที่ยง ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์’ ไม่สงสัยว่า ‘สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ความพอใจ ความกำหนัด หรือความรักใคร่ในสิ่งนั้นไม่มีแก่เรา”

      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

 “มาเถิด ภิกษุ ทั้งหลาย เราจะไปยังวิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ซึ่งเป็นสถานที่ที่วักกลิกุลบุตรได้นำศัสตรามา(นำศัสตรามา ในที่นี้หมายถึงนำศัสตรามาฆ่าตัวตาย คือตัดก้านคอ)” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว

     ต่อมา พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยังวิหารกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิพร้อมด้วยภิกษุจำนวนมาก ได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระวักกลินอนคอบิดอยู่บนเตียงแต่ไกลเทียว

       สมัยนั้น ปรากฏกลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง และทิศเฉียง ลำดับนั้นเอง พระผู้มี พระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

 “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็น กลุ่มควันกลุ่มหมอกลอยไปทางทิศตะวันออก ฯลฯ และทิศเฉียงหรือไม่”

      ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า “เห็น พระพุทธเจ้าข้า”

  “ภิกษุทั้งหลาย นั่นแลคือมารผู้มีบาป ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตรด้วย คิดว่า

‘ วิญญาณของวักกลิกุลบุตรสถิตอยู่ที่ไหน ’ 

ภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรไม่ มีวิญญาณสถิตอยู่ ปรินิพพานแล้ว ”

นั่นจึงแสดงให้เห็นว่า หากเป็นอรหันต์แล้วการจะลงมือฆ่าตัวตาย ไม่ถือว่าเป็นบาปกรรม และไม่ได้รับการตำหนิ เพราะจิตของพระอรหันต์ทำอะไรทุกอย่างเป็นแค่กิริยาเท่านั้น เพราะปราศจากการปรุงแต่ง สิ้นแล้วจากรัก โลภ โกรธ หลง

แต่อย่างไรสำหรับปุถุชนธรรมดาอย่างเรา นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะควร  ตามคำ พุทธองค์ว่า

 “ บุคคลใดแล ทิ้งกายนี้และยึดมั่นกายอื่น บุคคลนั้นเราเรียกว่า ควรถูกตำหนิ ”

เพราะการฆ่าตัวตายเป็นการหนีจากภาวะที่ตนเองเผชิญอยู่ และที่สำคัญกระนั้นการฆ่าตัวตายก็ส่งผลให้เกิดอกุศลกรรมได้ ที่เป็นเช่นนี้เพราะสาเหตุแห่งการฆ่าตัวตาย มาจากภาวะทางจิตใจเป็นความรู้สึกนึกคิดแบบสัมพันธ์กับโทสะหรือที่เรียกว่า มโนกรรม

โดยมโนกรรมที่ได้ดำเนินเป็นสาเหตุแห่งการฆ่าตัวตายได้นั้นเป็น กรรมที่มาจากตัณหาประเภทวิภาวตัณหา คือ ความไม่อยากเป็น(ความอยากไม่เป็น) เป็นความต้องการที่จะไม่พบกับสภาพที่ก่ออารมณ์ทุกข์เช่นนี้

อกุศลจิตดังกล่าวหากครองใจจนสิ้นลม ย่อมนำไปสู่ทุคติหรือไปอบาย  อกุศลจิตนั้นจะเรียกว่าเป็นบาปก็ได้เพราะนำไปสู่ทุกข์”

      ดังนั้นหากกล่าวให้ชัดถึง การฆ่าตัวตายในศาสนาพุทธนั้น “การกระทำ”การฆ่าตัวตายได้นำไปสู่บาป 

     แต่ “สาเหตุ”แห่งการฆ่าตัวตาย นั้นนำไปสู่บาป ดังที่ว่ามโนกรรมนั้นสำคัญสุดเพราะเป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดวจีกรรม และกายกรรมตามลำดับ

ที่มา : วักกลิสูตร ว่าด้วยพระวักกลิ / พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ฉันทโนวาทสูตร

พระพรหมคุณาภรณ์. พุทธรรม(ฉบับเดิม). นนทบุรี: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์, 2553

สมภาร พรมทา. พุทธปรัชญา:มนุษย์ สังคม และปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ: โครงการตำรา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา, 2542

สมภาร พรมทา. พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์ โสเภณี ทำแท้งและการุณยฆาต. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541

เรียบเรียงโดย

จินต์จุฑา เจนสระคู

ขอบคุณเฟซบุ๊กพระสุริยา นาควีโร(ศิริโวหาร)9

ทำไม “การฆ่าตัวตาย” จึงบาป?

จะเห็นได้ว่าการฆ่าตัวตายของปุถุชนคนธรรมดา และพระอรหันต์นั้นเจตนาแตกต่างกันมากเพราะบาปหรือไม่ต้องดูเจตนาเป็นหลัก 

พระอรหันต์ท่านหมดกิเลส ไม่ต้องเกิดอีก ท่านเพียงหมดภาระหน้าที่เนื่องจากร่างกายไม่อำนวยท่านจึงทำลายขันธ์ที่ท่านได้อาศัยและไปนิพพาน ทำด้วยสติและเข้าใจรู้ที่ไปแจ่มชัด ไปด้วยใจที่สงบปลอดโปร่งอย่างพระอริยเจ้า ทิ้งร่างอันผุพังเหมือนทิ้งภาชนะดินเผา

ส่วนปุถุชน ที่เต็มไปด้วยกิเลสตัณหา

ที่ฆ่าตัวตายเพราะความทุกข์ระทม เพราะเคียดแค้นแสนสาหัสนั้น ตายเพราะไม่อาจทนทุกข์เพราะมากด้วยกิเลสความอยากมี อยากได้ อยากเป็นแล้วไม่ได้ไม่มีไม่เป็น ไม่สมหวังเลยหนีปัญหาด้วยการฆ่าตัวตายทำเช่นนี้บาปมาก

เพราะจะส่งผลให้ไปสู่ทุคติก่อให้ผูกเวรข้ามภพข้ามชาติด้วยจิตก่อนตายและการกระทำ ทำให้ต้องทนทุกข์ทรมานเป็นผังงฆ่าตัวตายไปอีกหลายภพหลายชาติ จนกว่าจะมีโอกาสสร้างบุญใหญ่กับพระสัมามาสัมพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ หรือได้เข้าถึงธรรม กรรมนั้นถึงจะเบาบางและหมดไป

อ่านเพิ่มเติม วิบากรรมการฆ่าตัวตาย https://www.facebook.com/Dhammavipulo 

แชร์