ความลำบากสร้างคน

“เพราะความลำบาก คือหนทางสู่ความสำเร็จ” http://winne.ws/n25363

2.0 พัน ผู้เข้าชม
ความลำบากสร้างคน

1. ความลำบาก ทำให้เกิดความยืดหยุ่น

       ไม่มีอะไรในชีวิตที่ทำให้เกิด “ความยืดหยุ่น” ได้ดีเท่ากับความลำบากและความล้มเหลว…จากการศึกษาวิจัยซึ่งได้รับการเผยแพร่ในนิตยสารไทม์ ช่วงกลางทศวรรษ 1980 ได้ขยายความให้เห็นถึงพลังความยืดหยุ่นที่เหลือเชื่อของกลุ่มคนซึ่งสูญเสียงานของตนจากการปิดโรงงานถึงสามครั้ง!

       ตอนแรก นักจิตวิทยาคาดว่าพวกเขาน่าจะท้อใจแต่พวกเขากลับมองโลกในแง่ดีอย่างไม่น่าเชื่อความลำบากของพวกเขากลับกลายเป็นความได้เปรียบ เพราะพวกเขาต้องตกงานและสามารถหางานใหม่ได้อย่างน้อยสองครั้ง นั่นแสดงว่าพวกเขาสามารถจัดการกับความลำบากได้ดีกว่าคนซึ่งทำงานกับบริษัทเพียงแห่งเดียวแล้วตกงาน…

 

2.ความลำบาก ทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่

       ความลำบากทำให้คุณดีขึ้นได้ถ้าคุณไม่ปล่อยตัวเองให้ขมขื่นจนเกินไป…อีกทั้งความลำบากยังช่วยส่งเสริมภูมิปัญญาและความกล้าแกร่ง อีกด้วย… วิลเลียมซาโรยัน นักประพันธ์ชาวอเมริกัน เคยกล่าวว่า “คนเราประสบความสำเร็จได้เพราะเรียนรู้จากความล้มเหลว… ลองนึกดูสิเราแทบไม่ได้รู้อะไรจากความสำเร็จมากนักหรอก”

      ในขณะที่โลกเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้นเรื่อย ๆความกล้าแกร่งพร้อมด้วยความยืดหยุ่น จะกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆและคุณสมบัติเหล่านี้ ได้มาจากการฝ่าฟันอุปสรรคความลำบากต่าง ๆ…

      จอห์น คอตเตอร์ ศาสตราจารย์แห่งฮาร์วาร์ด บิสสิเนส กล่าวว่า“ผมนึกภาพกลุ่มผู้บริหารเมื่อ 20 ปีก่อนกำลังถกกันเรื่องผู้สมัครในตำแหน่งงานระดับสูงสุดตำแหน่งหนึ่ง และพูดว่า ‘คนๆนี้เคยประสบความล้มเหลวครั้งใหญ่ ตอนอายุ 32’ คนอื่น ๆต่างก็พูดว่า ‘ใช่… ใช่… แบบนี้เป็นลางไม่ดีเลย’แต่ถ้าพิจารณาด้วยเงื่อนไขเวลาปัจจุบัน เชื่อว่า สิ่งที่ทำให้ทุกคนหมดห่วงคือ ‘คนๆนี้เคยล้มเหลวมาก่อน’…”

      เพราะปัญหาที่เราเผชิญและเอาชนะได้จะช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับปัญหาในอนาคต

 

3.ความลำบาก ทำให้คุณกล้าเสี่ยง

      ลอยด์ โอกิลวี่ เล่าว่าเพื่อนคนหนึ่งของเขาซึ่งเคยเป็นนักแสดงในคณะละครเล่าประสบการณ์การเรียนรู้วิธีเล่นชิงช้าสูง ดังต่อไปนี้…

      เมื่อคุณรู้ว่าเบื้องล่างมีตาข่ายคอยรับคุณอยู่คุณก็จะไม่วิตกเรื่องการตกจากชิงช้าอีกต่อไป…ตอนนี้คุณเรียนรู้ที่จะตกลงไปอย่างประสบความสำเร็จ ความหมายของมันก็คือคุณสามารถพุ่งความสนใจไปที่การคว้าชิงช้าที่กำลังเหวี่ยงตัวเข้าหาคุณไม่ใช่เรื่องการตกไปข้างล่าง เพราะการตกซึ่งเคยเกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมาทำให้คุณมั่นใจว่าตาข่ายมีความแข็งแรงและไว้ใจได้เวลาที่คุณตกลงไปจริง ๆ…

      ผลของการตกลงไปและได้รับการรองรับด้วยตาข่ายคือความมั่นใจและความกล้าที่จะโหนชิงช้าสูงอย่างน่าอัศจรรย์ใจ คุณจะพลาดน้อยลงและทุกครั้งที่พลาด หรือหล่นลงไป กลับทำให้คุณกล้าเสี่ยงมากขึ้น…

 

ความลำบากสร้างคน

4.ความลำบาก ทำให้เห็นโอกาสมากขึ้น

      “การหลีกหนีปัญหา คือการจำกัดศักยภาพของเรา” ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จหลายคนต่างก็มีประสบการณ์ หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับความลำบาก-ความผิดหวังซึ่งกลายเป็นการเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ๆ มากมาย…

     ตัวอย่างเช่น ในปี 1978 เบอร์นี่มาร์คัส ลูกชายช่างทำตู้ชาวรัสเซียน ในเมืองนวร์ก, นิวเจอร์ซี่ถูกไล่ออกจากบริษัทแฮนดี้แดน ร้านจำหน่ายเครื่องมือเพื่อการซ่อมแซมบ้านด้วยตัวเองเหตุการณ์นี้กระตุ้นมาร์คัสให้ไปจับมือกับ อาร์เธอร์ แบลงค์เริ่มต้นธุรกิจของตนด้วยกัน และในปี 1979 ทั้งสองได้เปิดร้านแห่งแรกในเมืองแอตแลนต้า,จอร์เจีย มีชื่อว่า “โฮม ดีโปต์” ปัจจุบัน โฮม ดีโปต์ มีร้านกว่า 760แห่ง มีพนักงาน 157,000 คนทั้งสองได้ขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศ และสามารถทำยอดขาย ปีละกว่า 30 พันล้านเหรียญฯ เลยทีเดียว เมื่อมองย้อนกลับไป เบอร์นี่ มาร์คัส คงไม่รู้สึกยินดีกับการถูกไล่ออกจากแฮนดี้แดนสักเท่าไหร่… แต่ถ้าเขาไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องนี้ ใครจะไปรู้ว่า เขาจะประสบความสำเร็จได้อย่างทุกวันนี้หรือไม่…

 

5.ความลำบาก กระตุ้นให้เกิดนวัตกรรม

      ช่วงต้นศตวรรษ 20 เด็กชายคนหนึ่งซึ่งครอบครัวของเขาอพยพมากจากสวีเดนเพื่อมาตั้งรกรากในอิลลินอยส์ ได้ส่งเงินจำนวน 25 เซ็นต์เพื่อสั่งซื้อหนังสือเกี่ยวกับภาพถ่าย จากสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งแต่กลับได้รับหนังสือเกี่ยวกับศิลปะการดัดเสียงพูดแทน…

      แล้วเขาทำอย่างไรน่ะเหรอ? เขาก็ปรับตัวและเรียนรู้ศิลปะว่าด้วยการดัดเสียงพูดเด็กคนนี้คือ เอ็ดการ์ เบอร์เกน และตลอดเวลากว่า 40 ปีเขาสร้างความสำราญแก่ผู้ชม พร้อมกับหุ่นไม้ “ชาร์ลี แมคคาร์ธี” กลายเป็นรายการโชว์ชื่อดัง“เอ็ดการ์ เบอร์เกน กับหุ่นไม้ชื่อ ชาร์ลี แมคคาร์ธี ของเขา”

      ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมหรือสิ่งแปลกใหม่คือหัวใจของความสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสำเร็จ… แจ๊ค แมตสันแห่งมหาวิทยาลัยฮูสตัน เข้าใจความจริงข้อนี้ และได้พัฒนาหลักสูตรซึ่งนักศึกษาของเขาเรียกชื่อว่า“Failure101”

      ในหลักสูตรดังกล่าวแมตสันจะมอบหมายให้ผู้เรียนสร้างผลิตภัณฑ์จำลองที่ไม่มีใครซื้อ เป้าหมายของเขาคือทำให้มองความล้มเหลวเป็นเหมือนนวัตกรรม ไม่ใช่ความพ่ายแพ้…วิธีนี้ช่วยปลดปล่อยพวกเขาให้ได้ลองทำสิ่งใหม่ๆ “นักศึกษาจะได้เรียนรู้ที่จะลองทำสิ่งใหม่ๆและพร้อมที่จะเล็งเป้าหมายอีกครั้ง” แมตสันกล่าว

“ถ้าคุณต้องการความสำเร็จ คุณต้องเรียนรู้ ปรับวิธีการและลองใหม่ซ้ำอีกครั้ง… เพราะสุดท้ายแล้ว ความลำบากจะช่วยพัฒนาศักยภาพขึ้นมาได้…

 ขอบคุณบทความจาก Fc นิรุตติ์ ศิริจรรยา

แชร์