'ทำไม?' ไทยแพ้เลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง UN

เนื่องจากสหประชาชาติมีหน้าที่พิทักษ์และส่งเสริมสันติภาพ เสรีภาพ รวมถึงประชาธิปไตยในโลก แต่ไทยกำลังถูกปกครองโดยรัฐบาลทหาร ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ไม่เคารพกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน http://winne.ws/n6712

1.1 พัน ผู้เข้าชม
'ทำไม?' ไทยแพ้เลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง UN

ฝันสลายของไทย

หลังจากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องและการลอบบีแบบเทหมดหน้าตักยาวนานเกือบ 1 ทศวรรษ สุดท้ายไทยก็พ่ายศึกชิงตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติให้กับคาซักสถาน ประเทศที่ไม่ได้มีภาพลักษณ์ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนดีไปกว่าไทย เหตุที่เราแพ้ จึงไม่ใช่แค่เรื่องการมีรัฐบาลเผด็จการ 

เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา สมัชชาใหญ่สหประชาชาติได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติที่ว่างลง 5 ตำแหน่ง โดยประเทศที่ได้รับเลือกประกอบด้วยเอธิโอเปีย โบลิเวีย สวีเดน และคาซักสถาน ส่วนเนเธอแลนด์และอิตาลีซึ่งเสมอกันในการเลือกตั้งทั้ง 3 รอบ ตกลงแบ่งกันดำรงตำแหน่งปีละประเทศ เนื่องจากวาระของสมาชิกไม่ถาวรคือ 2 ปี ตั้งแต่ปี 2017-2018

วันแห่งความสำเร็จของ 6 ประเทศเหล่านี้ กลายเป็นคืนฝันสลายของไทย ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิก UNSC ตั้งแต่ปี 2007 และมีการดำเนินการหาเสียงลอบบีชาติสมาชิก UN มาอย่างต่อเนื่องเกือบทศวรรษ ลงทุนไปก็ไม่น้อย แต่กลับพ่ายแพ้ให้กับคาซักสถานอย่างขาดลอยในการลงคะแนนทั้ง 2 ครั้ง

  • อันที่จริงแล้ว คนไทยส่วนใหญ่แม้จะเสียดายที่ไทยไม่ได้ดำรงตำแหน่งในองค์กรที่เรียกได้ว่ามีอำนาจที่สุดในโลก แต่ก็มีไม่น้อยที่รู้สึกว่าไทยไม่สมควรจะได้อยู่แล้ว ทั้งด้วยความเป็นประเทศเล็กๆไม่มีบทบาทอะไรในการเมืองโลกมากนัก และยังชื่อเสียงฉาวโฉ่จากการมีรัฐบาลเผด็จการทหารที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองอย่างรุนแรง

องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ

           ก่อนหน้านี้ องค์กรสิทธิมนุษยชนนานาชาติ เช่นฮิวแมนไรท์ส วอช และฟอรัม เอเชีย ก็ได้ออกมาทักท้วงว่าไทยไม่เหมาะจะเข้าไปนั่งในองค์กรสูงสุดของสหประชาชาติอย่าง UNSC เนื่องจากสหประชาชาติมีหน้าที่พิทักษ์และส่งเสริมสันติภาพ เสรีภาพ รวมถึงประชาธิปไตยในโลก แต่ไทยกำลังถูกปกครองโดยรัฐบาลทหาร ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของพลเมือง ไม่เคารพกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หากสมัชชาใหญ่สหประชาชาติเลือกไทยให้ดำรงตำแหน่งสำคัญนี้ ก็เท่ากับการยอมรับประเทศที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

'ทำไม?' ไทยแพ้เลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง UN



เทียบกับประเทศอื่น ๆ ได้รับเลือกตั้ง

จริงอยู่ที่ว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆที่ได้รับเลือกตั้งในครั้งนี้ แต่ละประเทศดูมีภาษีดีกว่าไทย เช่นสวีเดน เป็นหนึ่งในผู้บริจาคเงินให้ UN รายใหญ่ที่สุดในโลก และมีบทบาทนำในภารกิจรักษาสันติภาพ รวมถึงเป็นต้นแบบประชาธิปไตยแบบสังคมนิยม ส่วนเอธิโอเปียก็เป็นประเทศที่มีบทบาทโดดเด่นในแอฟริกา และยังเป็นชาติที่มีทหารเข้าร่วมกองกำลังรักษาสันติภาพของ UN มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก เกือบหมื่นนาย โบลิเวียอาจจะไม่ได้โดดเด่นมากเท่า 2 ประเทศแรก แต่ก็มีภาษีกว่าคู่แข่งอย่างคิวบาและโคลอมเบีย ที่ไม่มีใครเลือกเลย ได้คะแนนแบบขำๆไปคนละ 1 คะแนนจากการโหวตให้ตัวเอง จนเรียกเสียงหัวเราะจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ยูเอ็นให้เป็นที่อับอายของตัวแทนทั้งสองประเทศ

ส่วนคาซักสถานกับไทย ถือว่าไทยแพ้ในทั้ง 2 ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเครดิตทางการเมืองหรือภาพลักษณ์ด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย

ในประเด็นแรก ดูเหมือนว่าไทยจะมีภาษีดีกว่า จากการที่คาซักสถานมีภาพลักษณ์เอนเอียงไปทางรัสเซียอย่างชัดเจน จนทำให้ประเทศที่เป็นพันธมิตรของสหรัฐฯและอียู น่าจะหันมาเลือกไทยที่มีภาพลักษณ์เป็นกลางกว่า บวกกับไทยเพิ่งได้เป็นประธานที่ประชุมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา G-77 ทำให้มีช่องทางในการบอลลีประเทศกลุ่มนี้มากขึ้น โดยเฉพาะในแอฟริกา แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นว่าไทยในช่วงหลังรัฐประหารมีความสัมพันธ์ที่ย่ำแย่กับทั้งสหรัฐฯและอียู แม้ว่าจะพยายามไปดำเนินความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับรัสเซียและจีน ก็ไม่สามารถทำคะแนนได้เท่ากับคาซักสถาน ซึ่งเป็นมิตรสนิทกับทั้งจีนและรัสเซีย 2 มหาอำนาจหลักของโลกอย่างแน่นแฟ้นมาหลายทศวรรษ

กลายเป็นว่าไทยจึงถูกทอดทิ้งทั้งจากมิตรเก่าและมิตรใหม่ ไม่มีแนวร่วมที่เชื่อใจได้ จนต้องพ่ายแพ้ไปอย่างถล่มทลาย

'ทำไม?' ไทยแพ้เลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง UN

ประเทศใน UNSC ปัจจุบัน ก็ไม่ได้มีประวัติสวยหรูด้านสิทธิมนุษยชน

          ส่วนประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ไม่พอใจรัฐบาล ว่าที่ไทยไม่สมควรได้รับตำแหน่งนี้ เพราะไม่เป็นประชาธิปไตยและละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่อันที่จริงแล้วความเป็นจริงของแวดวงการเมืองโลกก็คือ เรื่องสิทธิมนุษยชนไม่ใช่ประเด็นหลักที่แต่ละประเทศใช้ตัดสินใจโหวตเลือกหรือไม่เลือกประเทศใด ประเทศท่นั่งอยู่ใน UNSC ปัจจุบัน ก็ไม่ได้มีประวัติสวยหรูด้านสิทธิมนุษยชน ที่เห็นชัดที่สุดก็คือจีน รัสเซีย หรือแม้แต่สหรัฐฯก็ใช่ว่าไม่มีประวัติด่างพร้อย อิหร่านเองก็เคยนั่งในคณะมนตรีด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

         คาซักสถานไม่ได้มีประวัติด้านสิทธิมนุษยชนดีไปกว่าไทยมากนัก ปัจจุบันถูกจัดให้อยู่ในเทียร์ 2 ของประเทศที่มีปัญหาด้านการกดขี่คนกลุ่มน้อยทางศาสนาจากรัฐบาลสหรัฐฯ การละเมิดสิทธิมนุษยชนและจำกัดเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างน้อยคาซักสถานก็ไม่ได้อยู่ใต้รัฐบาลเผด็จการทหารเต็มรูปแบบอย่างไทย และยังมีแนวทางชัดเจนในการผลักดันการป้องกันการแพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ในกลุ่มประเทศเอเชียกลาง อดีตสหภาพโซเวียต รวมถึงเป็นประเด็นสำคัญในการเมืองโลก

พรรณิการ์ วานิช :    นักข่าวและพิธีกร iASEAN/ Tonight Thailand/ Voice World Wide

                                       29 มิถุนายน 2559  

ที่มา :   Voice TV21

'ทำไม?' ไทยแพ้เลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง UN
'ทำไม?' ไทยแพ้เลือกตั้งสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง UN
แชร์