"มหานิกาย" เป็นพุทธ "เถรวาท" !?
แต่เดิมพระภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่ได้แบ่งแยกนิกาย แต่พอหลังจากพุทธปรินิพพาน ทำให้หมู่สงฆ์แตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือฝ่ายที่ยึดถือพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด เรียกว่า เถรวาท และฝ่ายที่ดัดแปลงคำสอน เรียกว่ามหายาน!!! http://winne.ws/n7851
แต่เดิมพระพุทธศาสนาไม่มีนิกาย แต่พอหลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ
ปรินิพพานได้ 7 วัน พระภิกษุรูปอื่นๆ ต่างเศร้าสลด เสียใจ แต่พระภิกษุที่บวชเมื่อแก่ชื่อว่า
สุภัททะ มิได้เป็นเช่นนั้นและได้ห้ามพระภิกษุเหล่านั้นมิให้เสียใจ มิให้ร้องไห้ โดย
กล่าวชี้นำว่า ที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานนั้นเป็นการดีแล้ว ต่อนี้ไป จะทำอะไรได้ตามใจ ไม่มีใครคอยมาชี้ว่าผิดนี่ ถูกนี่ ควรนี่ ไม่ควรนี่ต่อไปอีก
พระมหากัสสปเถระได้ฟังคำกล่าวจ้วงจาบเช่นนั้นแล้วเกิดความสลดใจ ภายหลัง
จากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสร็จสิ้นแล้ว ได้มีการประชุมสงฆ์ พระมหากัสสปเถระ ซึ่งเป็นผู้มีอายุพรรษามากกว่าพระสงฆ์ทุกรูปได้รับเลือกให้เป็นประ ธานสงฆ์ มีฐานะเป็นสังฆปริณายก (ผู้นำคณะสงฆ์) บริหารการคณะสงฆ์ตามพระ ธรรมวินัย ท่านจึงได้นำเรื่องที่พระภิกษุสุภัททะกล่าวจ้วงจาบพระธรรมวินัยนั้น เสนอต่อที่ประชุมสงฆ์ ชวนให้ทำการสังคายนาพระธรรมวินัยและได้รับความเห็น ชอบจากที่ประชุม
ต่อจากนั้นมา ๓ เดือนก็ได้มีการประชุมทำสังคายนา ครั้งที่ 1 ขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้เมืองราชคฤห์ ชมพูทวีป โดยมีพระเจ้าอชาตศรัตรู เป็นองค์อุปถัมภก์
โดย ในการประชุมนี้ยังมีการบัญญัติคำขอร้องของ "พระมหากัสสปเถระ" ต่อปัญหาที่ว่า
อะไรคืออาบัติเล็กน้อย ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสอนุญาตว่า “ถ้าสงฆ์จำนงอยู่ พึง
เพิกถอนได้” เมื่อที่ประชุมมีความเห็นไม่ตรงกัน "พระมหากัสสปเถระ" จึงเสนอญัตติว่า “ขอให้สงฆ์ไม่บัญญัติข้อที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงบัญญัติไว้ ไม่ถอนข้อที่ พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว ประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติไว้”
ปรากฏว่าที่ประชุมสงฆ์ได้ยอมรับมตินี้ด้วยดุษณีภาพ เป็นการวางรากฐานพุทธ ศาสนาแบบ "เถรวาท" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พระพุทธศาสนานิกาย “เถรวาท” จัดว่าเป็นนิกายดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา ที่ถือ ปฏิบัติตามพุทธบัญญัติมาตั้งแต่เมื่อครั้งที่ “พระมหากัสสปะ” เป็นประธานในการทำ “ปฐมสังคายนา” เป็นกลุ่มที่พยายามรักษาพระธรรมวินัยของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าอย่างเคร่งครัด เพื่อคงความบริสุทธิ์บริบูรณ์ของพระสัทธรรมโดยไม่มีการ ยืดหยุ่นข้อวัตรปฏิบัติ หรือปรับเปลี่ยนคำสอนให้ผิดไปจากคำสอนดั้งเดิม และด้วยความเคร่งครัดในข้อวัตรปฏิบัติของนิกายเถรวาท จึงทำให้การเผยแผ่มีข้อจำกัด และกระจายออกไปได้ไม่กว้างเท่ากับมหายาน ซึ่งในยุคปัจจุบัน!!!พุทธนิกายเถรวาท จะนับถือแพร่หลายในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา
และศรีลังกา เป็นต้น
สำหรับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น จัดเป็นพุทธนิกาย “เถรวาท” ซึ่งแต่ เดิมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว นับตั้งแต่ประเทศไทยรับพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ เข้ามาในประเทศไทย เป็นครั้งแรก แต่ในเวลาต่อมาได้มีการแยกย่อยออกเป็น 2 ฝ่าย ได้แก่... “มหานิกาย” (ซึ่งก็คือคณะสงฆ์เถรวาทดั้งเดิมที่ปักหลักเผยแผ่ ในผืนแผ่นดินนี้มาอย่างยาวนาน) และ “ธรรมยุติกนิกาย” (ที่เพิ่งตั้งขึ้นในช่วงพ.ศ. 2376 โดย “พระวชิรญาเถระ” หรือ “เจ้าฟ้ามงกุฎ” ซึ่งต่อมาได้เสด็จขึ้น ครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4)
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร!!! ทั้งสองฝ่ายต่างก็อยู่ภายใต้กฏมหาเถรสมาคมเดียวกันและ มีสมเด็จพระสังฆราชพระองค์เดียวกัน ส่วนธรรมยุติกนิกาย และมหานิกายแตกต่างกันหรือไม่นั้น หลวงปู่มั่นเคยได้กล่าว ไว้ดังนี้
ธรรมยุต-มหานิกาย เป็นเพียงสมมติ
ธรรมแท้เป็นเนื้อเดียวกัน..
สายอาจารย์ชากับหลวงปู่มั่นนี้มันเป็นอันเดียวกันมาดั้งเดิม ตั้งแต่หลวงปู่มั่นเป็น อาจารย์สอนอาจารย์ของอาจารย์ชาอีกทีหนึ่ง อาจารย์เหล่านี้มาเป็นอาจารย์ของ อาจารย์ชา แม้อาจารย์ชาเองก็เคยไปหนองผือเหมือนกัน ตอนที่เราอยู่ที่นั่น ท่านก็ ไปพักอยู่นั้นหลายวัน ไปศึกษาอบรมอยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น เราจึงถือเป็นอัน เดียวกันหมด สายเดียวกันหมด เพราะเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่นด้วยกัน
คำว่า ธรรมยุต-มหานิกาย ไม่มีสำหรับเราเอง แม้แต่พ่อแม่ครูอาจารย์มั่นท่านก็ ไม่มี จะเห็นได้มีฝ่ายธรรมยุต-มหานิกายซึ่งเป็นกรรมฐานด้วยกันมีอยู่นี้ก็เพราะ หลวงปู่มั่นไม่ให้ญัตติ อาจารย์ของอาจารย์ชาเหล่านี้มีหลายองค์นะฝ่ายมหานิกาย อาจารย์ทองรัตน์ อาจารย์กินรี อาจารย์ไหนต่อไหน หลายองค์นะ มาเคารพ เลื่อมใสในปฏิปทาของท่าน แล้วพร้อมกันอยากมาขอญัตติ และเป็นลูกศิษย์ ของท่าน ท่านบอกว่า
"ถ้าหากว่าท่านทั้งหลายแล้วญัตติแล้ว ท่านทั้งหลายมีพวกมาก ผลประโยชน์ ก็จะไม่ขยายออกไป เพราะโลกถือสมมุติ" ท่านว่าอย่างนั้นนะ ท่านจึงออกคำสั่งว่า "ไม่ต้องญัตติ คำว่าธรรมยุต-มหานิกายเป็นชื่ออันหนึ่งต่างหาก ส่วนสุปฏิปนฺโน อุชุ ญาย สามีจิปฏิปนฺโน นี้เป็นพื้นฐานของศาสดาองค์เอกที่ประทานไว้ให้ พระสงฆ์ปฏิบัติตัวอย่างนี้ เหล่านี้แลเป็นเนื้อเป็นหนังอันแท้จริง ไม่ได้เป็นอยู่ กับธรรมยุต-มหานิกาย ”
พระธรรมเทศนาโดย
พระธรรมวิสุทธิมงคล หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕
ขอบคุณข้อมูลจากpantip.com
พระพุทธศาสนานิกาย “มหายาน” เป็นนิกายที่แยกตัวออกมาในภายหลัง มีแนวคิด
เรื่องการ บำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ เน้นสร้างบารมีเพื่อขนสัตว์โลกไปสู่ความพ้นทุกข์
ให้ได้เป็นจำนวนมาก เป็นกลุ่มที่มีการแก้ไขข้อวัตรปฏิบัติให้ยืดหยุ่น เพื่อให้เกิดความ
สะดวกในการเผยแผ่พระธรรมคำสอนไปในประเทศต่างๆ ซึ่งมีสภาพภูมิอากาศ
ภูมิประเทศ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ยังมีการผนึกกำลังอุบาสก
อุบาสิกา เพื่อช่วยในการเผยแผ่พระพุทธ
ศาสนาให้กว้างไกลมากยิ่งขึ้น ในยุคปัจจุบัน พุทธนิกายมหายาน จะนับถือแพร่หลาย
ในประเทศทิเบต จีน มองโกเลีย เกาหลี เวียดนาม สิกขิม และภูฏาน เป็นต้น แต่ว่า
วิธีการทางฝ่ายมหายานนั้นได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ได้มีการแต่งตำราขึ้นมาใหม่บ้าง
ดัดแปลงของเก่าบ้าง และก็มีวิวัฒนาการไปไกลมาก ถึงขนาดญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้ ภิกษุ
เกือบจะทุกนิกายก็มีครอบครัวได้ มีภรรยาได้ ก็คงจะมีอยู่บางนิกายเท่านั้นที่ไม่มี
ครอบครัว นี่ก็เป็นวิวัฒนาการของฝ่ายมหายาน แต่ใน ฝ่ายเถรวาท ซึ่งท่านใช้ภาษา
บาลีเป็นหลักนั้นยังพยายามรักษาแบบแผน จะเรียกว่าเป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม หรือ
คอนเซอร์เวตีฟก็ได้
ถึงแม้พระพุทธศาสนานิกาย "เถรวาท" และ "มหายาน" จะมีแนวทางปฏิบัติและมีแนวคิด
ที่แตกต่างกันในหลายๆ เรื่องตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น แต่อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 นิกาย
ต่างก็สอนเรื่องอริยสัจ 4 และสอนเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา อีกทั้งยังมีจุดหมายเดียวกัน
คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งคู่
ขอบคุณข้อมูลจากkennochatoday.blogspot.com
dhammajak.net