9 ข้อเรื่องสำคัญมาก เกี่ยวกับ"บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นบทที่มีในพุทธทุกนิกาย แม้ปัจจุบันพุทธจะมีหลายนิกาย แต่ก็มีบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้เป็นคำสอนเดียวกันในพระพุทธศาสนา,นอกจากพระอัญญาโกณทัญญะจะบรรลุธรรม ยังมีเทวดาและพรหมอีก 18โกฏิ http://winne.ws/n15890

6.2 พัน ผู้เข้าชม
9 ข้อเรื่องสำคัญมาก เกี่ยวกับ"บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อนขอบคุณภาพจาก ข่าวสด

9 ข้อเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

        1) ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 33 (ฉบับมจร.) พุทธวังสะ จริยาปิฎก ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเล่าถึงประวัติพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆตั้งแต่พระโกณฑัญญพุทธเจ้า มาจนถึงพระองค์เองเป็นลำดับสุดท้ายรวม 24 พระองค์ ซึ่งเนื้อหาตอนที่แต่ละพระองค์ได้แสดงปฐมเทศนา จะใช้คำว่า "ทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป" บ้าง "แสดงอริยสัจ" บ้าง จึงเป็นไปได้ว่า  บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นก่อนหน้าพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายเช่นกัน ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จะทรงตรัสแสดงธรรมและวินัยไม่เท่ากันก็ตาม  

        2) บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นบทที่มีในพุทธทุกนิกาย แม้ปัจจุบันพุทธจะมีหลายนิกาย แต่ก็มีบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้เป็นคำสอนเดียวกันในพระพุทธศาสนา

        3) นอกจากพระอัญญาโกณทัญญะจะบรรลุธรรมเมื่อฟังบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรจบแล้ว ยังมีเทวดาและพรหมอีก 18โกฏิที่ได้ฟังแล้วบรรลุธรรมในวันนั้นด้วยเช่นกัน (มจร. 33/26/718)

        4) พระพุทธเจ้าตรัสบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเพียงครั้งเดียวเท่านั้น และไม่ปรากฏว่าพระองค์ได้แสดงบทธัมมจักกัปปวัตตนสุตร นี้ที่ไหนอีก

       5) มรรค 8 ประการเป็นหนึ่งในโพธิยปักขิยธรรม (ธรรมที่เป็นไปในฝ่ายแห่งการตรัสรู้ธรรม) 37 ปะการ (สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรค 8)

9 ข้อเรื่องสำคัญมาก เกี่ยวกับ"บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อนขอบคุณภาพจาก musicjinni

        6) พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว 8 ประการ (อ้างอิงจากมหาปรินิพพานสูตร)

        7) ผลจากการประกาศปฐมเทศนา พระโกญฑัญญะก็บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เป็นปฐมสาวกองค์แรกของพระพุทธเจ้า ทำให้พระรัตนตรัยครบองค์สาม เป็นก้าวแรกแห่งการแสดงธรรมโปรดเวเนยยสัตว์ที่สำเร็จอย่างงดงามของพระพุทธเจ้า

        8) เมื่อปฏิบัติอริยมรรคทั้ง 8 ประการอย่างสมบูรณ์ดีแล้ว จะทำให้เกิดมรรคอีกสองคือ สัมมาญาณะ (ความรู้อย่างถูกต้อง) และสัมมาวิมุตติ (ความหลุดพ้นอย่างถูกต้องตามมา)

        9) ตัณหานั้นอาจมีได้ในระหว่างการเจริญภาวนา เรียกกันว่า นิโรธตัณหา คือความอยากในนิโรธ ได้แก่ความอยากที่จะเข้าถึงธรรม ซึ่งจะทำให้ใจไม่เป็นสัมมาสมาธิ จึงไม่อาจจะเข้าถึงธรรมได้ และบางครั้งเมื่อได้เห็นนิมิตในขณะเจริญภาวนา อาจทำให้เกิดการยึดติดในนิมิตที่เห็น เรียกกันว่า "วิปัสสนูปกิเลส" (อุปกิเลสในขณะเจริญวิปัสสนา) หลงคิดว่าได้บรรลุธรรมแล้วทั้งที่ไม่ใช่ ฉะนั้นขณะที่เจริญภาวนา จึงต้องทำใจให้สงบการกิเลส วางเฉยต่อนิมิตที่เกิดขึ้น เพื่อให้ใจเป็นสัมมาสมาธิ จงจำไว้เสมอว่า "นิโรธคือความดับตัณหา ถ้ายังมีตัณหา ก็ไม่อาจไปถึงนิโรธได้"

9 ข้อเรื่องสำคัญมาก เกี่ยวกับ"บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อนแหล่งภาพจาก โครงการสวดธรรมจักร 108 จบ ครอบครัวเป็นสุข สังคมร่มเย็น - blogger

10) สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ใช่นักบวช พระพุทธเจ้ามักจะตรัสสอนด้วยอนุปุพพิกถา ได้แก่ทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์การออกจากกาม ก็เพื่อที่จะค่อย ๆ ดับตัณหาอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ปล่อยวางอุปาทานในสิ่งต่าง ๆ ลงตามลำดับดังนี้ 

         • ทาน ทำให้ตัดความตระหนี่ในของๆตน กล้าที่จะสละของๆตนให้ผู้อื่น ทำให้ไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ และมีอานิสงส์ทำให้ชาติต่อไป มีสมบัติเพียบพร้อมด้วยบุญที่ทำ ลดความยึดติดในของๆตน เป็นก้าวแรกของการลดความยึดติดอื่นๆต่อไป

        • ศีล ทำให้ตัดขาดจากการทำชั่วทางกาย และวาจา เป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ละเว้นจาการทำบาปหลายประการ ทำให้ไม่ปล่อยให้ตัณหามามีอิทธพลต่อใจให้ทำเรื่องไม่ดี รู้จักหักห้ามใจ ทำให้ปล่อยวางจากการทำบาป ทำให้ไม่ต้องประสบทุกข์ในอบาย

        • สวรรค์ ทำให้ใจหันจากบาป มาใส่ใจในบุญ ในความดี ทำให้เกิดสัมมาทิฐิในเรื่องบาปบุญคุณโทษ โลกนี้โลกหน้า ทำให้มุ่งหน้าละชั่ว ทำความดี ตัดขาดจากตัณหาที่จะนำให้ไปทำบาป

        • โทษของกาม ทำให้ยกระดับใจมากยิ่งกว่าขั้นที่ผ่านมา ทำให้ใจปล่อยวางกามตัณหา ซึ่งทำได้ยากมากสำหรับปุถุชนทั่วไป

        • อานิสงส์แห่งการออกจากกาม ช่วยในการปล่อยวางกามตัณหาลง ทำให้ใจน้อมไปในการประพฤติพรหมจรรย์ ปฏิบัติตนให้พ้นจากกองทุกข์

พระพุทธเจ้าได้ทรงเริ่มสอนให้คนธรรมดาหัดปล่อยวาง ละตัณหาลงตามลำดับด้วยประการฉะนี้

9 ข้อเรื่องสำคัญมาก เกี่ยวกับ"บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

บทส่งท้าย

        บทความนี้ได้ทำการรวบรวมอธิบายคำแปลและความหมายของบทธัมมจักกัปวัตตนสูตรนี้ โดยได้ดึงเอาพระสูตรบทอื่นๆในพระไตรปิฎก พระธรรมเทศนาของพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) และของพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) รวมถึงบทความธรรมะอื่นๆ เข้ามาประกอบเพื่ออธิบายขยายความเนื้อหาในบทธัมมจักฯ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษาความหมายของบทธัมมจักกัปปวัตตนสูตรต่อไป

       ขอบุญกุศลที่ผู้เขียนตั้งใจเขียนบทความธรรมะนี้ จงส่งถึงพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ตลอดจนถึงหมู่ญาติผู้มีอุปการคุณ ขอให้พระพุทธศาสนาคงดำรงอยู่สืบไป ขอจักรแห่งธรรมของพระพุทธเจ้าจงเป็นไปสิ้นกาลนานเทอญ.

อ้างอิง

โกณฑัญญพุทธวงศ์ : http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=194

มังคลพุทธวงศ์: http://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=33&siri=195

โคตมพุทธวงศ์: http://84000.org/tipitaka//attha/m_siri.php?B=33&siri=217

 เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ: http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=24&p=4

เหตุที่ทำให้แผ่นดินไหว [มหาปรินิพพานสูตร] : http://www.dhammahome.com/webboard/topic/17584

Cr.ปธ.ก้าวต่อไป

แชร์