ความสำคัญความหมาย และบทสวด "โอวาทปาฏิโมกข์"

โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาฏิโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน http://winne.ws/n16441

5.8 พัน ผู้เข้าชม
ความสำคัญความหมาย และบทสวด "โอวาทปาฏิโมกข์"แหล่งภาพจาก ดูดวง - Sanook.com

โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา เป็น "ปาฏิโมกข์" ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงตลอดปฐมโพธิกาล คือ 20 พรรษาแรก เฉพาะครั้งแรกในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (เดือน 3) หลังจากตรัสรู้แล้ว 9 เดือน เป็นการแสดงปาติโมกข์ที่ประกอบด้วยองค์ 4 เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งมีเพียงครั้งเดียวในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ หรือจะเรียกว่าเป็นการประกาศตั้งศาสนาก็ได้ 

       (อรรถกถาแสดงไว้ว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดง "โอวาทปาฏิโมกข์" นี้ ด้วยพระองค์เอง ท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ตลอด 20 พรรษาแรก หลังจากนั้นทรงบัญญัติให้พระสงฆ์แสดง "อาณาปาติโมกข์" แทน)

       โอวาทปาฏิโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ได้ประทานแก่ที่ประชุมพระภิกษุสงฆ์ 1,250 รูป ในวันมาฆบูชา เพื่อวาง อุดมการณ์ หลักการ และวิธีการ ในการเข้าถึงพระพุทธศาสนาแก่พุทธบริษัททั้งหลาย 

โอวาทปาฏิโมกข์ สรุปได้เป็นสามส่วน คือ อุดมการณ์ 4 หลักการ 3 และวิธีการ 6

อุดมการณ์ 4 ของพระพุทธศาสนา อันมีลักษณะที่แตกต่างจากศาสนาอื่น ได้แก่

      1 ความอดทนอดกลั้น เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบใจ

       2 การมุ่งให้ถึงพระนิพพานเป็นเป้าหมายหลักของผู้ออกบวช มิใช่สิ่งอื่นนอกจากพระนิพพาน

       3 พระภิกษุและบรรพชิตไม่พึงทำผู้อื่นให้ลำบากด้วยการทำความทุกข์กายหรือทุกข์ทางใจไม่ ว่าจะในกรณีใด ๆ

       4 พระภิกษุตลอดจนบรรพชิตต้องขอแก่ทายกด้วยอาการที่ไม่เบียดเบียน ( คือการไม่เอ่ยปากเซ้าซี้ขอ และไม่ใช้ปัจจัยสี่อย่างฟุ่มเฟือย)

หลักการ 3 อันเป็นหัวใจสำคัญเพื่อเข้าถึงจุดมุ่งหมายของพระพุทธศาสนาโดยย่อ ได้แก่

      1 การไม่ทำบาปทั้งปวง

       2 การทำกุศลให้ถึงพร้อม

       3 การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

ทั้งสามข้อนี้อาจอนุมานเข้ากับ ศีล สมาธิ และปัญญา 

วิธีการ 6 ที่ธรรมทูตผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาถือเป็นกลยุทธ เพื่อเป็นไปในแนวทางเดียวกันและถูกต้องเป็นธรรม ได้แก่

       1 การไม่กล่าวร้าย

       2 การไม่ทำร้าย

       3 ความสำรวมในปาติโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)

       4 ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)

       5 ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)

       6 ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอน แต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)

อ้างอิง: 1. https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%...

                2. http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_s...

                3. http://www.dmc.tv/pages/buddha_biogra...

ฟังเสียงสวดบทโอวาทปาฏิโมกข์

ขอบคุณวิดิโอสวดพระปาฏิโมกข์จาก : https://youtu.be/YA52J7yDRe0

แชร์