ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน” จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกา

Mercy Kuo ผู้เขียนเรื่อง The Rebalance ซึ่งเกี่ยวกับการที่อเมริกาพยายามจะกลับมาสร้างดุลอำนาจในเอเชีย ได้พูดคุยกับ ศาสตราจารย์ Fenggang Yangในเรื่อง การเมืองและศาสนาในประเทศจีน http://winne.ws/n6426

2.6 พัน ผู้เข้าชม
ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน”  จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกาhttps://rplp.rice.edu/Content.aspx?id=70

Mercy Kuo ผู้เขียนเรื่อง The Rebalanceซึ่งเกี่ยวกับการที่อเมริกาพยายามจะกลับมาสร้างดุลอำนาจในเอเชีย ได้พูดคุยกับ FenggangYangในเรื่อง การเมืองและศาสนาในประเทศจีน  โดยFenggang Yangเป็นศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยา ผู้อำนวยการและผู้ก่อตั้งศูนย์การศึกษาด้านศาสนาและสังคมจีนที่PurdueUniversityในอเมริกาและเป็นผู้เขียนบทความวิชาการเกี่ยวกับศาสนาและสังคมจีนอีกจำนวนมาก 

ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน”  จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกา

Mercy Kuo : อะไรคือบทบาทของศาสนาในประเทศจีนตามมุมมองของรัฐบาลจีนและกลุ่มคนที่มีศรัทธา?

Prof. Fenggang Yang : บทบาทที่เป็นทางการในเรื่องศาสนาของพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งอยู่บนพื้นฐานของการไม่มีศาสนาตามปรัชญาMarxism–Leninism–Maoism(คาร์ล มาร์กซ์-เลนิน-เหมาเจ๋อตุง) ซึ่งเชื่อว่าศาสนาจะตายไปเมื่อสภาพสังคมพัฒนาไปอย่างมีประสิทธิภาพ   อย่างไรก็ตามในสภาวะปัจจุบันของการพัฒนาทางสังคม  ศาสนายังยืนหยัดอยู่ได้ด้วยเหตุผลทางสังคมและจิตวิทยา   ตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่1990พรรคคอมมิวนิสต์จีนยืนยันว่าศาสนามีหน้าที่ต่อสังคมทั้งด้านบวกและด้านลบ ศาสนาอาจช่วยสังคมผ่านการให้บริการด้านการกุศลรวมทั้งการสอนซึ่งให้ความสบายใจทางจิตวิญญาณและคำแนะนำด้านศีลธรรมให้กับคนทั่วไป            แต่กระนั้นศาสนาก็เป็นเหมือนฝิ่นซึ่งนำให้ผู้คนมีความเชื่อแบบต่อต้านสังคมและถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองกับฝ่ายตรงข้ามได้ ทางรัฐพรรคยืนยันว่าสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์จีนต้องไม่มีศาสนา     การให้การศึกษากับกลุ่มคนที่ไม่มีศาสนานี้เกิดขึ้นผ่านระบบการศึกษาและทางสื่อสารมวลชน  และ  การควบคุมทางการเมืองต่อองค์กรทางศาสนามีความจำเป็นเพื่อเสถียรภาพทางการเมืองและสังคม

ในมุมมองของกลุ่มคนที่มีศรัทธานั้นแตกต่างไปจากรัฐบาล  ถึงแม้ว่าศาสนาที่แตกต่างทำให้มีมุมมองที่แตกต่าง คนกลุ่มนี้ก็ยังเชื่อว่าศรัทธาต่อศาสนามีประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้มีความศรัทธาเลื่อมใสและต่อสังคมโดยให้พื้นฐานทางศีลธรรมสำหรับสังคมและให้คำแนะนำด้านศีลธรรมต่อผู้คน

ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน”  จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกา

Mercy Kuo : ศาสนาอะไรที่แพร่หลาย และการเติบโตของศาสนาสะท้อนถึงสังคมจีนอย่างไรบ้าง?

Prof. Fenggang Yang : พรรคคอมมิวนิสต์จีนอนุญาตให้ 5 ศาสนาต่อไปนี้มาเผยแผ่ที่จีนได้ถ้าเข้าร่วมสมาคมpatriotic associations มีศาสนา พุทธ เต๋า อิสลาม แคทอลิค และคริสเตียนโปรเตสแตนท์ แต่ก็มีชุมชนความเชื่อของทั้งห้าศาสนานี้มาเผยแผ่แบบผิดกฎหมายด้วยซึ่งรัฐบาลไม่อนุญาต หรือเผยแผ่แบบสีเทาคือถูกกฎหมายแต่ไม่เป็นสมาชิกสมาคม patriotic associations และก็มีผู้ศรัทธาและปฏิบัติตามคำสอนของศาสนาอื่นๆอีกจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่แล้วคนจีนฮั่นนับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์ เกือบ20%ของผู้ใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ถึงแม้ว่าจะมีจำนวนน้อยที่เข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนาที่วัด  แต่ในช่วง3-4ทศวรรษที่ผ่านมานี้คริสต์เป็นศาสนาที่แพร่หลายได้รวดเร็วที่สุด มีอัตราเพิ่มขึ้นต่อปีมากกว่า 10%  ถ้าศาสนาคริสต์ยังคงเติบโตในจีนแม้น้อยกว่า 7%ต่อปีจีนจะเป็นประเทศที่มีชาวคริสต์มากที่สุดภายในปี2030   อิสลามในจีนก็มีแนวโน้มเป็นที่นิยมดังนั้นคนจีนจำนวนหนึ่งก็เปลี่ยนไปนับถืออิสลาม

การคงอยู่ของศาสนาต่างๆโดยเฉพาะศาสนาคริสต์แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้เกิดความต้องการทางสังคมและสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับศาสนา     ตราบเท่าที่การเปลี่ยนแปลงของสังคมดำเนินไปในทิศทางปัจจุบัน คือ มีการเติบโตแบบสังคมเมือง  การเติบโตของโลกาภิวัฒน์ และ การย้ายถิ่นฐาน ศาสนาก็จะยังเติบโตต่อไปในอนาคตอย่างพอเข้าใจล่วงหน้าได้

ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน”  จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกา
ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน”  จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกา

Mercy Kuo : ชาตินิยมแบบจีนและบริโภคนิยมมีผลกระทบต่อความเชื่อทางศาสนาและคณะนักบวชอย่างไร?

Prof. Fenggang Yang : ชาตินิยมแบบจีนได้เติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาของเศรษฐกิจของประเทศจีนและเติบโตอย่างเข้มแข็งในการเมืองโลก พรรคคอมมิวนิสต์ได้ส่งเสริมให้แผ่นดินนิยมผสมผสานไปกับชาตินิยม     อย่างไรก็ตาม ชุมชนศาสนาพยายามที่จะเน้นความเป็นสากลของศรัทธาที่ตนเองมีอยู่   ในการกระตุ้นเรื่องแผ่นดินนิยมและชาตินิยม รัฐพรรคได้ริเริ่มมาตรการให้มีข้อความที่เป็นแผ่นดินนิยมในการเทศน์สอนทางศาสนาและเพิ่มการติดธงชาติจีนในโบสถ์ วัด และมัสยิด   โบสถ์คริสต์และมัสยิดของมุสลิมบางแห่งมีการต่อต้านมาตรการดังกล่าวอย่างชัดเจนขณะที่วัดเต๋าและวัดพุทธมีแนวโน้มที่จะยอมรับมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้นรัฐพรรคได้วางแผนให้รื้อฟื้นลัทธิขงจื๊อขึ้นมาซึ่งไม่ถือว่าเป็นศาสนาตามหลักการของเจ้าหน้าที่ แต่กระนั้นก็มีมิติทางศาสนา     รัฐบาลจีนได้ก่อตั้งและให้ทุนสนับสนุนสถาบันขงจื๊อหลายร้อยแห่งในหลายประเทศ  ภายในประเทศจีนนั้น มีการก่อตั้ง สถาบัน สมาคมและวัดแบบขงจื๊ออีกจำนวนมาก รูปแบบของลัทธิขงจื๊อแบบดั้งเดิมหรือที่เกิดขึ้นจำนวนมากนี้แสดงให้เห็นถึงความรู้สึกที่รุนแรงในการต่อต้านตะวันตกและการต่อต้านชาตินิยมสมัยใหม่

 ส่วนบริโภคนิยมเป็นประเด็นทางการเมืองและสังคมที่มีต่อพุทธศาสนา เนื่องจากวัดพุทธหลายแห่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งพยายามที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและมีรายได้จากนักท่องเที่ยวในขณะที่นักบวชในศาสนาพุทธและคริสต์ระบุถึงบริโภคนิยมว่าเป็นความท้าทายต่อกิเลสมนุษย์ แต่ก็ไม่พบคำสอนแบบ prosperity gospel (ข่าวประเสริฐเกี่ยวกับความมั่งคั่ง) มากในประเทศจีน  

ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน”  จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกา

Mercy Kuo : ช่วยระบุเทรนด์ศาสนาที่สำคัญในปัจจุบันที่เกิดในประเทศจีน

Prof. Fenggang Yang :   อันดับหนึ่ง ศาสนาคริสต์ ซึ่งเติบโตรวดเร็วและแสดงให้เห็นนัยสำคัญทางสังคมเช่นมีนักกฎหมายชาวคริสต์ปรากฎตัวออกมาต่อสู้เรื่องสิทธิมนุษยชนและสิทธิพลเมืองอย่างกล้าหาญ   ถึงแม้ว่าชาวคริสต์จีนมีแนวโน้มไม่สนใจการเมือง แต่ความเชื่อทางคริสต์ของพวกเขาและชีวิตที่อยู่กันเป็นหมู่คณะช่วยส่งเสริมการให้คุณค่าเรื่องศักดิ์ศรีของมนุษย์และปฏิบัติตามแนวทางของประชาธิปไตย     ในระยะยาวการเติบโตของคริสต์ศาสนาในประเทศจีนจะเกิดประโยชน์ต่อประชาธิปไตยทางการเมืองและสังคม

 อันดับสอง พุทธศาสนาแบบธิเบต  ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมของชาวจีนฮั่นในเขตชุมชนเมืองใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักธุรกิจและกลุ่มวิชาชีพชั้นสูง     คนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่ผิดหวังในพุทธศาสนาแบบฮั่นซึ่งมองว่าบริโภคนิยมและมีการคอรัปชั่น   ในขณะที่มองพุทธศาสนาแบบธิเบตว่า บริสุทธิ์และได้ผลมากกว่า

อันดับสาม พรรคคอมมิวนิสต์จีนเพิ่มความเข้มข้นในการต่อสู้เพื่อชำระล้างสมาชิกของศาสนาต่างๆ การปฏิบัติและพันธสัญญาต่อศาสนา อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้แน่นอนว่าล้มเหลวเนื่องจากสมาชิกส่วนใหญ่ในพรรคคอมมิวนิสต์ก็มีความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติหรือก็นับถือกลุ่มศาสนาบางกลุ่มเหมือนกัน 

ความรู้ดีๆ “การเมืองและศาสนาในประเทศจีน”  จากศาสตราจารย์ชาวจีนที่อเมริกา

Mercy Kuo : ประธานาธิบดีของอเมริกาคนต่อไปควรจะเข้าใจการเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาในจีนอย่างไร?

Prof. Fenggang Yang :   เมื่อย้อนกลับไปในทศวรรษ 1970 ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ เคยโน้มน้าวผู้นำจีนในขณะนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ โน้มน้าวท่านเติ้งเสี่ยว ผิง ในการให้อิสระในเรื่องศาสนาต่อชาวจีน    เพื่อที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศสู่สังคมโลกพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้นจึงรับเอาแนวทางสมัยใหม่ที่สหประชาชาติรับรองมาใช้ ประธานาธิบดีของอเมริกาคนต่อไปควรจะเข้าใจว่าเสรีภาพเรื่องศาสนาเป็นเสรีภาพอันดับแรกในบรรดาเสรีภาพทั้งหลายที่จะนำไปสู่ความเจริญงอกงามของมนุษย์ เธอหรือเขาควรสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้มีอำนาจในประเทศจีนขยายเสรีภาพทางศาสนาเพื่อที่จะให้ผู้คนเข้าใจและซาบซึ้งกับเสรีภาพทางศาสนาให้ดีขึ้น ประธานาธิบดีอเมริกาคนต่อไปควรสนับสนุนให้มีการพูดคุยระหว่างอเมริกาและจีนในเรื่องเสรีภาพทางศาสนาไม่เพียงแต่ระดับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลแต่รวมถึงกลุ่มนักวิชาการ    ผู้นำศาสนา  ตลอดจนนักเรียนนักศึกษาด้วย 

ขอขอบคุณแหล่งข่าว: http://thediplomat.com/2016/08/the-politics-of-religion-in-china/

แชร์